KS Daily View 27.06.2023 >>> ตลาดอ่อนแอหลังหลุดแนวรับสำคัญ คาด SET แกว่งตัวลงโดยมองกรอบซื้อขาย 1,480-1,490/1,500 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ PTT CPN

สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้

ต่างประเทศ : ดัชนี DJIA -0.04%, S&P 500 -0.45%, NASDAQ -1.16% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่ Real Estate (+2.21%), Energy (+1.71), Material (+1.00%) ส่วน Communication service (-1.88%), Consumer discretionary (-1.25%), Information technology (-1.03%)

ในประเทศ: SET Index -20.20 pts. หรือ -1.34% ปิดที่ 1,485.32 จุด ตัวขับเคลื่อนหลักสำคัญคือ BDMS (+0.88%), AOT (+0.35%), CRC (+1.32%), OSP (+2.50%) ตัวฉุดคือ DELTA (-3.03%), EA(-9.48%), GULF (-1.69%), PTTEP (-1.34%)

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:

ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงหลุดกรอบแนวรับสำคัญ 1,490/1,500 จุดและสร้างระดับต่ำสุดใหม่ของปีทำให้เรามองมีโอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวลงต่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนักลงทุนฝั่งที่จะเข้าช้อนซื้อดูไม่รีบรับรอได้ ขณะที่ด้านฝั่งขายมีเทรินออกมาอย่างต่อเนื่อง เรามองแนวรับที่ 1,484 และระดับถัดไปที่ 1,444 ขณะที่แนวต้านอยู่บริเวณ 1,490/1,500 จุดหรือแนวรับเดิมเปลี่ยนกลายเป็นแนวต้าน

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

1.) ประเด็นกระแสในตลาดดูมีความกังวลว่าบางบริษัทอาจได้รับผลกระทบจากเรื่องที่ก.ล.ต.จะเพิ่มความเข้มงวด ปรับปรุงเกณฑ์และยกระดับการกำกับดูแลตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การรับหลักทรัพย์ การดำรงสถานะ จนถึงการเพิกถอน รวมถึงจะยกระดับการซื้อขายเช่นมาตรการป้องปรามและผสมผสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กอปรกับด้าน TRIS rating เผยพร้อมเพิ่มความเข้มงวดในการให้เรทติ้งหุ้นกู้ธุรกิจ backdoor listing หรือเน้นการโตจากการซื้อกิจการ ราคาหุ้นของบริษัทที่ต้องพึ่งพิงการออกหุ้นกู้สูงจึงถูกกดดันและมีแรงเทขายออกมา
2.) เยอรมันประกาศตัวเลขความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (German ifo business climate) ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 88.5 ในเดือนพ.ค. ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 90.7 และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 91.5 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมันมีความสำคัญในการสามารถเป็นตัวชี้นำสะท้อนภาวะโดยรวมของยุโรปเนื่องจากขนาดเศรษฐกิจของเยอรมันมีความสำคัญใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของกลุ่ม

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้

ประเมินตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวลงโดยปรับกรอบแนวรับดัชนีเป็น 1,444/1,482 และแนวต้านที่ 1,500 จุด ปัจจัยกดดันยังเป็นเรื่องการเมืองในประเทศที่ยังมีความไม่ชัดเจน และปัจจัยแวดล้อมต่างประเทศที่พลิกเป็นลบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อของธนาคารกลางหลัก

หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:

PTT (ราคาพื้นฐาน 37.8 บาท) บริษัทมีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่ดี และมี upside จากธุรกิจใหม่ ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจ EV Value Chain และธุรกิจยา ซึ่งน่าจะนำไปสู่การปรับเพิ่มตัวคูณมูลค่าหุ้นในระยะยาว โดยเราคาดอัตราเงินปันผลที่ราว 4.7% ของราคาหุ้นปัจจุบันบนผลประกอบการปี 2566

CPN (ราคาพื้นฐาน 79 บาท) คาดราคาหุ้น CPN และ CPNREIT จะฟื้นตัวหลังมีความชัดเจนเรื่องการต่อสัญญาโครงการเซ็นทรัลปิ่นเกล้า และพระราม2 ของทาง CPNREIT แม้จะต่ออายุสัญญาช่วงแรกลดลงเหลือ 15 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ ทั้งนี้ CPNREIT จะเพิ่มทุน 1,100 ล้านหน่วย โดยมี CPN เข้าลงทุนสูงสุดไม่เกิน 60% ของจำนวนหน่วยทรัสต์ที่ออกเสนอขาย ทั้งนี้ราคาหุ้น CPN และ CPNREIT ปรับตัวลง -7% และ -16% จากต้นเดือน มิ.ย. โดยเรามองว่าดีลดังกล่าวจะเป็นลบกับ CPN เพียงเล็กน้อยกรณีที่เราปรับเป้า CPNREIT ลงตามที่ นวค. ปรับก่อนหน้า ขณะที่ฝั่งของ CPNREIT ประเมินว่า DPU จะไม่ลดลง

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันอังคาร ติดตามตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ (durable goods order) ของเดือนพ.ค. ตลาดคาดว่าจะปรับตัวลดลง -1% MoM (เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ +1.1% MoM), ต่อด้วยตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CB consumer confidence index) ของเดือนมิ.ย. ตลาดคาดจะปรับตัวดีขึ้น 103.7 (เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 102.3) และตัวเลขยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ (New home sales) ของเดือนพ.ค. ตลาดคาดปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ 6.76 แสนยูนิต (เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 6.83 แสนยูนิต)
  • วันพุธ ติดตามงานสัมมนาอภิปรายในหัวข้อนโยบายการเงินจัดโดยธนาคารกลางยุโรป (ECB forum) โดยในงานมีกำหนดให้ประธาน ECB Lagarde และประธาน Fed Powell มีการพูดให้สัมภาษณ์ถึงความเห็นในการดำเนินนโยบายการเงินต่างๆของธนาคารกลาง
  • วันพฤหัสฯ ติดตามช่วงบ่ายยุโรปมีกำหนดประกาศตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อเบื้องต้นของเยอรมันสำหรับเดือน มิ.ย. (German Prelim CPI) ตลาดคาดเพิ่มขึ้นที่ +0.2% MoM (เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -0.1% MoM) ตัวเลขมีความสำคัญเนื่องจากทิศทางเงินเฟ้อของเยอรมันสะท้อนทิศทางเงินเฟ้อของทั้งยุโรปเนื่องจากเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดและมีผลกระทบมากที่สุดในกลุ่ม ต่อด้วยช่วงข้ามคืนสหรัฐฯมีกำหนดประกาศตัวเลข Final GDP ของไตรมาส 1/2023 เป็นการปรับปรุงตัวเลขครั้งสุดท้ายหลัง (final revision version) หลังประกาศตัวเลขเร็วไปแล้วก่อนหน้า ตลาดคาดว่าจะออกมาที่ +1.4% (เทียบกับรอบก่อนหน้าที่ +1.3%)
  • วันศุกร์ ติดตามช่วงเช้าติดตามตัวเลขภาคการผลิตจีน (manufacturing PMI) ของเดือนมิ.ย. ตลาดคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเป็น 51 (เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 48.8) ต่อด้วยแถลงการณ์รายงานภาพรวมเศรษฐกิจของธปท.ในช่วงบ่าย และช่วงข้ามคืนสหรัฐฯมีกำหนดประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ core PCE ของเดือนพ.ค. ตลาดคาดที่ +0.4% MoM (เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ +0.4% MoM) ต่อด้วยตัวเลขภาคการผลิตรายรัฐ Chicago PMI ของเดือนมิ.ย. ตลาดคาดที่ 44 (เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 40.4)
- Advertisement -