KS Daily View 29.06.2023 >>> คาด SET ปรับตัวลง หากรีบาวน์จะฟื้นตัวไม่ต่อเนื่อง SET มองกรอบซื้อขายที่ 1,450-1,460/1,480 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ PTTEP, HANA
สรุปภาวะตลาดเมื่อวันวานนี้
ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA -0.22%, S&P 500 -0.04%, NASDAQ +0.27% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่ Energy (+1.02%), Communication service (+0.80%), Consumer discretionary (+0.25%) ส่วน Utilies (-1.48%), Material (-0.68%), Consumer staples (-0.59%)
ในประเทศ: SET Index -11.17 pts. หรือ -0.76% ปิดที่ 1,466.93 จุด ตัวขับเคลื่อนหลักสำคัญคือ GULF (+2.31%), ADVANC (+0.95%), DIF (+3.74%), TRUE (+1.64%) ตัวฉุดคือ DELTA (-3.09%), BBL (-3.72%), SCB (-2.36%), PTTEP (-1.37%)
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ: แนวโน้มหลักของตลาดหุ้นไทยยังเป็นการปรับตัวลดลงหลังดัชนีปรับตัวลดลงแรงหลุดกรอบแนวรับสำคัญ 1,490/1,500 จุด ตลาดยังคงเดินหน้าปรับตัวลดลงต่อเนื่องสะท้อนภาวะตลาดอ่อนแอค่อนข้างชัด กอปรกับทุกครั้งที่ดัชนีพยายามปรับตัวเพิ่มขึ้นก็จะเจอแรงทะยอยขายใส่ ทำให้นักลงทุนบางส่วนอาจมองว่าขอดูความชัดเจนหลังตั้งรัฐบาลเลยจะดีกว่าที่จะเข้าซื้อลงทุนช่วงนี้เนื่องจากบรรยากาศไม่อำนวย เชื่อว่าการฟื้นตัวของภาวะตลาดจะกลับมาได้ดีแบบต่อเนื่องก็ต่อเมื่อสถานการณ์การเมืองชัดขึ้น วันนี้เรามองกรอบการซื้อขายที่ 1,450-1,460/1,480 จุดและประเมินแนวรับสำคัญระดับถัดไปที่ 1,444 จุด
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
ธนาคารกลางสำคัญหลายแห่งเข้าร่วมงานสัมมนาอภิปรายในหัวข้อนโยบายการเงินจัดโดยธนาคารกลางยุโรป (ECB forum) ที่โปรตุเกส โดยในงานมีกำหนดให้ประธาน ECB Lagarde และประธาน Fed Powell และเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของธนาคารกลางอื่นๆมีการพูดให้สัมภาษณ์ถึงความเห็นในการดำเนินนโยบายการเงินต่างๆของธนาคารกลาง ซึ่งก็ยังคงเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ประธาน Fed Powell ให้สัมภาษณ์ชัดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีกสองครั้งในปีนี้ แต่ที่เพิ่มเติมมาคือบอกว่าก็มีโอกาสด้วยที่ทั้งสองครั้งที่จะขึ้นอีกปีนี้อาจปรับขึ้นแบบติดๆกันเลยไม่ต้องหยุดพักเพื่อประเมินเหมือนรอบที่ผ่านมา มองตลาดแรงงานค่อนข้างแข็งแรงซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดแรงกดดันเงินเฟ้อในรอบนี้ ซึ่งตีความได้ว่ายังไม่มี recession ในระยะอันใกล้ ส่งผลให้ค่าเงิน USD ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลักช่วงข้ามคืน (ผลจากการตีความว่าขึ้นดอกเบี้ยต่อ) แต่ commodity price รวมถึงราคาน้ำมันมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ (ผลจากการตีความว่า demand ดีไม่มี recession)
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้
ประเมินตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวลงโดยปรับกรอบแนวรับดัชนีเป็น 1,444/1,482 และแนวต้านที่ 1,500 จุด ปัจจัยกดดันยังเป็นเรื่องการเมืองในประเทศที่ยังมีความไม่ชัดเจน และปัจจัยแวดล้อมต่างประเทศที่พลิกเป็นลบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อของธนาคารกลางหลัก
หุ้นแนะนำวันนี้
Top pick: PTTEP (ราคาพื้นฐาน 160 บาท) ราคาน้ำมัน Brent ปรับตัวขึ้นแรงช่วงข้ามคืนกว่า 2% หลังประธาน Fed Powell ให้สัมภาษณ์เรื่องเศรษฐกิจและนโยบายการเงิน อีกทั้งราคาน้ำมันมีโอกาสฟื้นตัวต่อในช่วงครึ่งปีหลังจากกำลังการผลิตน้ำมันที่ปรับลดในช่วง 1H23 และการฟื้นตัวของจีนในครึ่งปีหลัง
Top pick: HANA (ราคาพื้นฐาน 49 บาท) ข้อมูลตัวเลขส่งออกประกาศออกมาดีกว่าคาดโดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และชิ้นส่วนซึ่งเรามองเป็นบวกสำหรับบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผลประกอบการไตรมาส 2/2566 คาดว่าน่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นได้ QoQ กอปรกับอานิสงค์กระแส EV ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์กับบริษัทได้ด้วยในระยะถัดไป
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันพฤหัสฯ ติดตามช่วงบ่ายยุโรปมีกำหนดประกาศตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อเบื้องต้นของเยอรมันสำหรับเดือน มิ.ย. (German Prelim CPI) ตลาดคาดเพิ่มขึ้นที่ +0.2% MoM (เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -0.1% MoM) ตัวเลขมีความสำคัญเนื่องจากทิศทางเงินเฟ้อของเยอรมันสะท้อนทิศทางเงินเฟ้อของทั้งยุโรปเนื่องจากเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดและมีผลกระทบมากที่สุดในกลุ่ม ต่อด้วยช่วงข้ามคืนสหรัฐฯมีกำหนดประกาศตัวเลข Final GDP ของไตรมาส 1/2023 เป็นการปรับปรุงตัวเลขครั้งสุดท้ายหลัง (final revision version) หลังประกาศตัวเลขเร็วไปแล้วก่อนหน้า ตลาดคาดว่าจะออกมาที่ +1.4% (เทียบกับรอบก่อนหน้าที่ +1.3%)
- วันศุกร์ ติดตามช่วงเช้าติดตามตัวเลขภาคการผลิตจีน (manufacturing PMI) ของเดือนมิ.ย. ตลาดคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเป็น 51 (เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 48.8) ต่อด้วยแถลงการณ์รายงานภาพรวมเศรษฐกิจของธปท.ในช่วงบ่าย ต่อด้วยตัวเลขดัชนีภาคอุตสาหกรรมไทย (MPI) ตลาดคาดว่าจะยังคงหดตัวที่ -4.5% YoY (เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -8.14% YoY) และช่วงข้ามคืนสหรัฐฯมีกำหนดประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ core PCE ของเดือนพ.ค. ตลาดคาดที่ +0.4% MoM (เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ +0.4% MoM) ต่อด้วยตัวเลขภาคการผลิตรายรัฐ Chicago PMI ของเดือนมิ.ย. ตลาดคาดที่ 44 (เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 40.4)