สรุปภาวะตลาด

วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีเปิดโดดลงในแดนลบ ปรับตัวลงต่ำสุดราว -15 จุด แต่มีแรงซื้อกลับทำให้ดัชนีสามารถขึ้นมาในแดนบวกถึงทรงตัว แรงซื้อนำโดยหุ้น DELTA ส่งผลต่อดัชนีราว +3.3 จุด และหุ้นกลุ่มค้าปลีก โดยนักลงทุนติดตามตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย. และอัตราการว่างงานของสหรัฐ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,490.51 จุด +0.05 จุด +0.00% มูลค่าการซื้อขาย 35,228 ลบ. ต่างชาติ 1,503.51 ลบ. TFEX +11,239 สัญญา ตราสารหนี้ -427.63 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 2.06 ดอลลาร์ +2.87% ปิดที่ 73.86 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับตัวขึ้น 4.6% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดคลายความวิตกเกี่ยวกับการคุมเข้มนโยบายการเงิน หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนมิ.ย.

+ สหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 209,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 225,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.6% สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

+ FDA ของสหรัฐอนุมัติยาเลแคเนแมบ (Lecanemab) ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ตัวแรก เพื่อชะลอความรุนแรงของโรคระบบประสาทเสื่อม ซึ่งเปิดทางให้ผู้ป่วยชาวอเมริกันหลายล้านคนเข้าถึงการรักษาโรคดังกล่าว

+ กกพ. มีมติเห็นชอบผลการคำนวณประมาณการค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) สําหรับงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค.นี้ ให้สํานักงาน กกพ.นำค่าเอฟที ประมาณการและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน

ปัจจัยลบ-

– ดัชนีดาวโจนส์ปิด ลดลง 187.38 จุด -0.55% การซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน ขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับรายงานการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด และรอการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจใหม่ๆ ตลอดจนรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสัปดาห์ต่อๆ ไป ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ลดลงราว 2%

– จีนจะสั่งห้ามนำเข้าอาหารจากหนึ่งในห้าจังหวัดของญี่ปุ่น โดยอ้างอิงเหตุผลด้านความปลอดภัย เนื่องจากญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนนิวเคลียร์ลงสู่ทะเล

– รมว.คลังสหรัฐเยือนจีน 4 วัน เรียกร้องให้จีนปฏิรูปตลาด พร้อมเตือนว่า สหรัฐและพันธมิตรจะตอบโต้ต่อสิ่งที่นางเยลเลนเรียกว่าเป็น “พฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่เหมาะสม”

– ธปท. เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการค้าปลีกประจำ 2Q66 ลดลงมาที่ 47 จุด เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ มีความ “น่ากังวล” ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ระดับ 50 จุด ทุกองค์ประกอบครั้งแรกในรอบ 15 เดือน

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้ยังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยนักลงทุนจับตาการประชุม กกต. วันนี้ ซึ่งอาจส่งศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย กรณีคุณพิธาถือหุ้นไอทีวี ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวขึ้นแรง พยุงหุ้นกลุ่มพลังงาน มองกรอบดัชนีใน วันนี้ที่ 1,480-1,495 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • สินค้าส่งออกเดือน พ.ค. ที่ยังขยายตัวได้ดี : SNC AH SAT HANA KCE PDJ
  • ค่าระวางเรือขึ้นจากคลองปานามา หุ้นได้ประโยชน์ PSL TTA RCL
  • 5 หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL CPALL SCB

หุ้นรายงานพิเศษ

AUCT “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 12.10 บาท

  • งวด 1Q66 มีรายได้ 307.4 ลบ. +48.3%YoY +6.9%QoQ โดยปัจจัยเติบโตหลักมาจากสถาบันการเงินทยอยจบมาตรการพักชำระหนี้ ส่งผลให้จำนวนรถยึดเข้าสู่ลานประมูลปรับสูงขึ้น ประกอบกับการปรับค่าบริการรถยนต์ 4 ล้อ 6 ล้อ และบิ๊กไบค์ตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อนได้ โมเมนตัมดีต่อเนื่องไปยังงวด 2Q66 ซึ่งเราคาดกำไรราว 69 ลบ. +55% YoY -28%QoQ เติบโตแกร่ง YoY แต่หดตัว QoQ เนื่องจากผลของปัจจัยฤดูกาลที่มีวันหยุดยาว ประกอบกับ 1Q66 มีรายได้จากการจัดงานประมูลพิเศษของ กสทช. ราว 15-20 ลบ.
  • เราคงประมาณการรายได้และกำไรทั้งปี 66 ราว 1,033 ลบ. +9%YoY และ 300 ลบ. +19%YoY ตามลำดับ มีปัจจัยหนุนการเติบโตหลัก 2 ประการ คือ 1) แนวโน้ม %NPL ของรถยนต์ยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้แนวโน้มปริมาณรถยึดจะยังคงไหลเข้าลานประมูลต่อเนื่อง สอดคล้องกับแผนการขยายลานสต็อกและจุดรับสินค้าเพิ่ม 10 แห่งในปีนี้ ซึ่งช่วง 1Q66 ขยายแล้ว 2 แห่ง และช่วง 2Q66 จะขยายอีก 3-5 แห่ง ส่วนที่เหลือจะทยอยขยายในช่วงครึ่งปีหลัง และ 2) ได้ผลบวกจากการปรับค่าบริการรถยนต์ 4 ล้อ 6 ล้อ และบิ๊กไบค์ ตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อน โดยเราประเมินราคาเหมาะสมปี 66 ราว 12.10 บาท มีอัพไซต์กว่า 24% ประกอบกับจ่ายปันผลในอัตราราว 4-5% ต่อปี จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ”

หุ้นมีข่าว

(+) BDMS (Bloomberg consensus 34.10 บาท) โดดรับท่องเที่ยว-โควิคคลาย หนุนยอดผู้ป่วยต่างชาติพุ่งทะลุ 30% แตะ 35% สูงกว่าก่อนโควิด แถมได้แรงหนุน สปส. เพิ่มค่าหัวการรักษาเพิ่ม ปักหมุดปี 2566 รายได้โต 6-8% จากปีก่อน ลุยควักงบ 1.8 พันล้านบาท ปั้น 3 โรงพยาบาล สยายปีกรับทรัพย์เพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)

(+) PR9 (Bloomberg consensus 22.00 บาท) เผยต่างชาติเข้ารักษาเพิ่ม ซูบริการ IVF-ไทรอยด์ ฮอต เติบโตดี คาดดันสัดส่วนต่างชาติปีนี้ไม่ต่ำกว่า 15% แถม Q3/2566 ไฮซีซั่นธุรกิจ หนุนรายได้เติบโต ศูนย์ศัลยกรรมทำเงิน มั่นใจปีนี้รายได้โตกว่า 10% อัตรากำไรสุทธิมากกว่า 10% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) RBF (Bloomberg consensus 11.90 บาท) บิ๊กบอส “สุรนาถ กิตติรัตนเดช” ทุ่มงบลงทุน 200 ล้านบาท อัพฐานสร้างโรงงานในประเทศอินเดีย เตรียมเปิดใช้งานต้นปี 2567 และช่วงไตรมาสที่ 3/2566 เตรียมเปิดให้บริการโรงงานในอินโดนีเซีย ส่งซิกออเดอร์ครึ่งปีหลังออเดอร์เข้าต่อเนื่อง ส่งสินค้ามาร์จิ้นสูงหนุนยอดขาย ปักหมุดผลงานปี 2566 เติบโต 15-20% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SKE (Bloomberg consensus – บาท) ปิดดีลร่วมพาร์ตเนอร์เจ้าของบ่อขยะ หนุนซัพพลายทำเชื้อเพลิงอัดแท่งพุ่งแตะ 600-700 ต่อวัน บึ้ก “จักรพงศ์ สุเมธโชติเมธา” ใส่เกียร์ลุยปั้น RDF ป้อนโรงปูนซีเมนต์เต็มพิกัดข่วง Q3 นี้ เสริมพอร์ตรับทรัพย์เพิ่ม แถมเปรยครึ่งหลังปี 2566 ฟอร์มสวย รับ NGV สดใส-ธุรกิจใหม่หนุน แถมยืนเป้าปีนี้รายได้ราว 1 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 10 ก.ค. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แถลงสรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์
    • กกต.ถกปม “พิธา” ถือหุ้นไอทีวี ก่อนลุ้นส่งศาลรธน.วินิจฉัย
  • 13 ก.ค. ประชุมรัฐสภา เลือกนายกรัฐมนตรี
  • สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
    • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดผลิตและส่งออกรถยนต์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
  • 31 ก.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 10 ก.ค. จีน รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย.
    • สหรัฐ รายงานสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนพ.ค.
  • 12 ก.ค. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
  • (เช้าวันที่ 13 ก.ค.) รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
  • 13 ก.ค. อียู รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.
    • สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย.
  • 14 ก.ค. สหรัฐ รายงานราคานำเข้าและส่งออกเดือนมิ.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
  • 25-26 ก.ค. ประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED)
- Advertisement -