และแล้วก็ถึงเวลา และแล้วเธอก็ต้องไป / 1,485-1,510

มุมมองตลาดหุ้นวันนี้

  • คาด SET แกว่งตัว Sideways to sideways up : จากมุมมองเชิงบวกว่าเฟดใกล้ยุติวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และหากเงินเฟ้อ เดือนมิ.ย.ของสหรัฐฯ ที่จะรายงานในวันนี้ชะลอลง จะเป็นอีกปัจจัยสนับสนุนให้เฟดยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยตลาดคาด CPI และ Core CPI ขยายตัว 3.1%y-y และ 5.0%y-y จาก 4.0%y-y และ 5.3%y-y ในเดือนพ.ค. ทั้งนี้มุมมองดังกล่าวคาดเป็นแรงหนุนต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง สอดรับกับ US-bond yield 2 ปี และ Dollar Index ที่ร่วงลงสู่ระดับ 4.9% และ 101.7 จุด นอกจากนี้ คาดหุ้นในกลุ่มพลังงานจะเป็นแรงหนุนต่อ SET Index ตามราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ดีดตัวขึ้น 2.52% สู่ระดับ $74.83 ต่อบาร์เรล โดยได้แรงหนุนจากการต่อมาตรการพยุงภาคอสังหาฯ ของจีน ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณกระตุ้นศก.เพิ่มเติมสอดรับกับ China Securities Journal ที่รายงานว่าจีนมีแนวโน้มที่จะออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นทางธุรกิจ อีกทั้งสัญญาณดังกล่าวคาดเป็นแรงหนุนต่อหุ้นที่มีความเกี่ยวเนื่องกับจีน ขณะที่การรายงานงบของบจ.ไทยที่กำลังจะเริ่มต้น คาดส่งผลให้เกิดแรงเก็งกำไรในหุ้นที่คาดผลประกอบการสดใส  อย่างไรก็ดี ทางขึ้นของตลาดยังคงถูกกดดันจากการเมืองที่ยังเป็น Overhang หลังกกต.เตรียมตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีของนายพิธา ต่อในวันนี้ ขณะที่การวางมือทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์ คาดช่วยคลายแรงกดดันของการเมืองในระยะสั้น จากโอกาสเกิดรัฐบาลเสียงข้างน้อยที่ลดลง แต่ในระยะต่อไปคาดจะกลับมาเป็นแรงกดดันอีกครั้งหากการโหวตนายกฯ ยังติดขัด เนื่องจากการวางมือของอดีตนายกฯ จะเป็นแรงหนุนให้สว.สายทหารมีเอกภาพมากขึ้น และอาจส่งผลให้พรรคฝ่ายรัฐบาลในอดีตมีอำนาจต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาล
  • กลยุทธ์ลงทุน: 1) เก็งหุ้นคาดงบสดใส: ADVANC, INTUCH, KBANK, KTB, SAPPE, SCB, TTB 2) จีนส่งสัญญาณกระตุ้น ศก.: AU, PTTGC, SCGP, TKN, WHA 3) ราคาน้ำมันฟื้น: BCP, PTTEP, TOP และ 4) Spending: CPN, CRC, MAJOR, SPA

ปัจจัยบวก

  • กองศก.การท่องเที่ยวและกีฬาเผยประเทศไทยมีจํานวนนทท.ต่างชาติสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.-9 ก.ค. 13.59 ล้านคน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนทท.ต่างชาติแล้ว 5.63 แสนลบ.
  • ธ.กลางจีนประกาศว่าจะขยายระยะเวลาโครงการปล่อยกู้ให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ซึ่งจะหมดอายุลงในปีนี้ ออกไปอีก 12 เดือน โดยมาตรการดังกล่าวเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพ.ย. ปีที่แล้ว เพื่อบรรเทาปัญหาสภาพคล่องตึงตัวในภาคอสังหาฯ
  • Fitch คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ BBB+ และคาดศก.ไทยจะเติบโตที่ 3.7% และ 3.8% ในปี 66 และปี 67 ตามลําดับ โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
  • IEA คาดอุปสงค์นํ้ามันจากจีนและประเทศกำลังพัฒนายังคงแข็งแกร่ง กอปรกับการที่ OPEC+ ลดกำลังการผลิต อาจจะทําให้ตลาดน้ำมันโลกเผชิญภาวะอุปทานตึงตัวในช่วง 2H66

ปัจจัยลบ

  • เยอรมนีเผยอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในเดือนมิ.ย. สวนทางกับแนวโน้มขาลงนับตั้งแต่ต้นปี โดย +6.4% y-y เร่งตัวขึ้นจาก +6.1% y-y ในเดือนพ.ค.
  • อังกฤษเผยค่าแรงไม่รวมโบนัส +7.3% ในช่วงเดือนมี.ค.- พ.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วง 3 เดือนก่อนหน้านี้ และแตะระดับสูงสุด นับตั้งแต่ปี 44 ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 4% ในเดือน พ.ค. สวนทางกับที่ตลาดคาดไว้ว่าจะทรงตัวที่ 3.8%
  • สเตรทไทมส์รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ไต้หวันว่า ไต้หวันเตรียมดำเนินการฝึกซ้อมรบประจําปี โดยจะเพิ่มการฝึกป้องกันสนามบินนานาชาติ และเปิดเส้นทางเดินเรือในกรณีที่จีนปิดล้อมเกาะเป็นครั้งแรก

PICKS OF THE DAY

KTB BUY

  • เป้าหมาย 20.00/20.80 แนวรับ 18.80/19.00 
  • คาดกำไร 2Q66 โตเด่น: คาดว่า KTB จะมีกำไร 2Q66 11.7 พันลบ. เพิ่มขึ้น 40.1% y-y และ 16.4% จากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของสินเชื่อ และการปรับเพิ่มอัตราดอก เบี้ยเงินกู้ขึ้น เป็นระดับที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มเมื่อเทียบ q-q
  • 1Q66 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยโตสูงสุด และมีแนวโน้มเพิ่มต่อ: ใน 1Q66 KTB เป็นธนาคารที่มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมากที่สุด และเป็นเพียง 1 ใน 2 ธนาคารที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าจะกลับมาจ่ายเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯในระดับปกติ แต่การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมไปถึงการปรับส่วนผสมพอร์ตสินเชื่อโดยลดสินเชื่อภาครัฐลง และเพิ่มสินเชื่อธุรกิจทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

SCGP BUY

  • เป้าหมาย 38.00/40.00 แนวรับ 35.00/35.50
  • ต้นทุนอยู่ในขาลง : 2Q66 ธุรกิจฟื้นตัวจากปัจจัยบวกด้านต้นทุนที่ลดต่ำลง ทั้งจากต้นทุนวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และเชื้อเพลิงถ่านหินที่แนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ต้นปี รวมถึงมี margin ที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนไปผลิตเยื่อเคมีละลายได้ในปริมาณมากขึ้น
  • ตลาดไทย-เวียดนาม ปรับตัวดีขึ้น : ตลาดไทยและเวียดนาม ปรับตัวค่อนข้างดีในไตรมาสนี้ แม้อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ยังมีปัจจัยกดดันบ้างจากผลกระทบด้านเงินเฟ้อในประเทศ ทั้งนี้ทางฝ่ายมอง ภาพรวมธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ของบริษัทจะค่อย ๆ ฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า จากปัจจัยด้านต้นทุน รวมถึงด้านราคาขายแต่ละผลิตภัณฑ์ที่น่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว
- Advertisement -