บล.บัวหลวง:
SCBX (SCB TB/SCB.BK)
SCB – มากกว่าคาด! กำไรจากเครื่องมือทางการเงินมากกว่าคาด
ผลประกอบการมากกว่า เราคาด 18%
SCB รายงานทําไรไตรมาส 2/66 ที่ 1.19 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% YoY และ 8% QoQ ซึ่งมากกว่าที่เราคาด 18% (และมากกว่าตลาดคาด 8% อ้างอิง จาก Bloomberg) เนื่องจากกำไรจากเครื่องมือทางการเงินมากกว่าคาด กำไรจากการดำเนินงานก่อนตั้งสำรองฯ อยู่ที่ 2.73 หมื่นล้านมาก เพิ่มชื้น 20% YoY และ 13% QoQ ทั้งนี้กำไรครึ่งแรกของปี 2566 คิดเป็น 53% ของประมาณการทั้งปีของเราที่ 4.3 หมื่นล้านบาท
ประเด็นสําคัญจากผลประกอบการ
การเติบโตของกำไร YoY และ QoQ ได้รับแรงหนุนจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย และ NIM ที่เพิ่มขึ้น รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.35 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% YoY และ 14% QoQ (มากกว่าที่เราคาด 21%) หนุนโดยกำไรจากราคาตลาดของเครื่องมือทางการเงิน NIM ไตรมาส 2/66 อยู่ที่ 3.70% (มากกว่าคาด 14bps) เพิ่มขึ้น 53bps YoY และ 23bps QoQ หนุนโดย SCB เน้นทำธุรกิจสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง (สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อจํานําทะเบียนรถ) สินเชื่อในไตรมาสนี้เติบโตที่ 3% YoY และ 1% QoQ หนุนโดยสินเชื่อรายย่อย อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ไตรมาส 2/66 อยู่ที่ 38.4% ลดลงจาก 41.2% ในไตรมาส 2/65 และ 41.0% ในไตรมาส 1/66
อัตราการตั้งสำรองของ SCB ในไตรมาส 2/66 อยู่ที่ 2.0% (สูงกว่าที่คาด 36bps) เพิ่มขึ้น 26bps YoY และ 34bps QoQ สาเหตุหลักที่ส่งผลให้การตั้งสำรองสูงขึ้น เนื่องจากการตั้งสำรองพิเศษ 2 รายการ มีมูลค่ารวม 1.8 พันล้านมาก: 1) ลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ มีการรายงานการตั้งสำรองฯ เพิ่มอีก 700 ล้านบาทในไตรมาส 2/66) และ 2) การย้ายข้อมูลลูกค้าไปยังพอร์ตสินเชื่อส่วนบุคคลของ CardX (จากธนาคาร SCB) ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการเก็บหนี้หยุดชะงัก ดังนั้นการตั้งสำรองฯ จึงมากกว่าที่คาดที่ 1.1 พันล้านบาท หากไม่รวมการตั้งสำรองพิเศษทั้ง 2 รายการ อัตราการตั้งสำรองในไตรมาส 2/66 จะอยู่ที่ 1.7% ลดลง 4bps YoY แต่เพิ่มขึ้น 5 bps QoQ สัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมลดลงจาก 3.32% ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2566 มาอยู่ที่ 3.25% ณ สิ้นเดือน มิ.ย. โดยมีสาเหตุหลักจากการบริหารหนี้เสียผ่านการตัตจําหน่ายและการขายหนี้เสีย อัตราส่วนการตั้งสำรองต่อหนี้เสียเพิ่มขึ้นจาก 157.9% ณ สิ้นเดือน มี.ค. มาอยู่ที่ 162.1% ณ สิ้นเดือน มิ.ย.
แนวโน้ม
เราคาดกำไรไตรมาส 3/66 ที่ 1.08 หมื่นล้านบาท เติบโต 5% YoY (NIM ที่ ขยายตัว) แต่ลดลง 9% QoQ (รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง)
สิ่งที่เปลี่ยนแปลง
เรายังคงประมาณการกำไรปี 2566 ไว้คงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงที่ 4.30 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% YoY เราคาดสินเชื่อเติบโต 5% YoY หนุนโดยสินเชื่อรายย่อยและคาด NIM ปี 2566 ที่ 3.56% เพิ่มขึ้น 27bps YoY
คําแนะนํา
PER ปี 2566 ของ SCB อยู่ที่ 8.7 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีอยู่ 1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และคาดการณ์ EPS CAGR ปี 2566-68 อยู่ที่ 11.1% PBV ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ 0.8 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีอยู่ 1.0 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เราคาดผลตอบแทนจากเงินปันผลจะอยู่ที่ 5.4% ในปี 2566 เรายังคงคำแนะนำ ชื้อ