บล.บัวหลวง: 

Economics – ตัวเลขส่งออกไทยติดลบ YoY 9 เดือนติด

มูลค่าการส่งออกของไทยเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 2.48 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 6.5% YoY ถือเป็นการติดลบ 9 เดือนติดต่อกัน (ดีกว่าที่ตลาดคาดเล็กน้อยที่ติดลบ 7.3%) อุปสงค์ทั่วโลกยังอ่อนแอ

การส่งออกเดือน มิ.ย. ลดลง YoY แต่ไม่แย่เท่าที่ตลาดคาด

กระทรวงพาณิชรายงานตัวเลขส่งออกประเทศไทยมูลค่าที่ 2.48 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 6.5% YoY ซึ่งถือเป็นการติดลบ 9 เดือนติดต่อกัน (การ ส่งออกเดือน พ.ค. อยู่ที่ 2.53 หมื่นล้านบาท ลดลง 4.6% YoY) หากไม่รวม ทองและอาวุธ ตัวเลขจะติดลบที่ 5.4% YoY หากแบ่งตามกลุ่ม กลุ่มที่ติดลบเยอะที่สุด YOY ในเดือน มิ.ย. ได้แก่ กลุ่มปิโตรและพลังงาน (ลดลง 26%) กลุ่มเคมีภัณฑ์ (ลง 15%) กลุ่มเกษตร (ลง 14%) และกลุ่มคอมพิวเตอร์ (ลง 20%) ในทางตรงกันข้ามกลุ่มที่ยังคงเติบโต YoY ได้แก่กลุ่มยานยนต์ (ขึ้น 7%) กลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้า (ขึ้น 5%) และกลุ่มผลไม้ (ขึ้น 14%)

ใน 5 ตลาดหลักของประเทศไทย การส่งออกปรับตัวขึ้น YoY สำหรับส่งไปประเทศจีน (ขึ้น 5%) ฮ่องกง (ขึ้น 18%) และออสเตเรีย (ขึ้น 17%) ในทางตรงกันข้ามการส่งออกไปสหรัฐลดลง 5% YoY และส่งออกไปในประเทศกลุ่ม อาเซียนลดลง 20% YoY สังเกตว่ายอดมูลค่าส่งออกในครึ่งแรกของปี 2566 อยู่ที่ 1.41 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.4% YoY

แนวโน้ม

อิงจากฐานที่ต่ำในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 เราคาดตัวเลขการส่งออกใน เดือน ก.ค. จะทรงตัว YoY ขณะที่บางเดือนในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 จะรายงานการเติบโต YoY

ประมาณการ

เราคาดการส่งออกของไทยปี 2566 จะทรงตัว YoY ดัชนี PMI ทั่วภูมิภาคปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง (ต่ำกว่า 50) ชี้ให้เห็นถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง หากตัวเลข retail sales ปรับตัวขึ้นได้ อาจจะต้องมีแรงหนุนจากมาตรการของทางภาครัฐ (เช่นประเทศจีน) ซึ่งจะเป็นอัพไซด์ต่อประมาณการตัวเลขส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2566

สถิติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) แสดงให้เห็นว่าดีอัพไซด์ต่อการส่งออกของไทยในระยะยาว จากการย้ายฐานการผลิตจากประเทศจีนในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ทาง สกท.ได้รับค่าขอสิทธิพิเศษในการลงทุน 891 ใบ (มูลค่ารวม 3.64 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้น 66% YoY และสูงสุดนับตั้งแต่ครึ่งแรกของปี 2566

ดุลการค้ายังคงเกินดุลอยู่

เราคาดดุลการค้าของไทยปี 2566 จะขาดดุลในกรอบ 6-7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งน้อยลงอย่างมากเทียบกับที่ขาดดุล 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 ตัวเลขการนำเข้าในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 น่าจะยังคงสูงและเกิน กว่ามูลค่านําเข้า จากการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัวแกร่ง หนุน จากภาคการท่องเที่ยว สังเกตว่าดุลการค้าในเดือน มิ.ย. เกินดุลเล็กน้อยที่ 58 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ดุลการค้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ออกมาขาดดุล อยู่ที่ 6.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

 

- Advertisement -