บล.บัวหลวง:
Economics – ตัวเลขส่งออกติดลบ YoY เป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน
Economics ตัวเลขส่งออกติดลบ YoY เป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน มูลค่าการส่งออกของประเทศไทยเดือน ก.ค. อยู่ที่ 2.12 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 6.3% YoY ถือเป็นการติดลบ 10 เดือน ติดต่อกัน ซึ่งแย่กว่าที่ตลาดคาดอย่างมีนัยที่ลดลง 0.71% YoY จากอุปสงค์ที่อ่อนแอและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง
ตัวเลขส่งออกเดือน ก.ค. ต่ำกว่าที่ตลาดคาดมาก
กระทรวงพาณิชรายงานมูลค่าการส่งออกประเทศไทยเดือน ก.ค. ที่ 2.21 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 6.3% YoY หากไม่รวมทองคำ ตัวเลขจะอยู่ที่ลดลง 5.5% YoY โดยกลุ่มที่ปรับตัวลงแรงที่สุด YoY ได้แก่ กลุ่มปิโตร (ลดลง 38%) กลุ่มเคมีภัณฑ์ (ลดลง 30%) กลุ่มชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ (ลดลง 24%) และกลุ่มเกษตร (ลดลง 12%) ในทางตรงกันข้ามกลุ่มที่ยังคงเติบโตดี YoY ได้แก่ กลุ่มยานยนต์ (เติบโต 25%) และข้าว (โต 19%)
ในตลาดส่งออกหลักของประเทศไทย การส่งออกที่เติบโต YoY ในเดือน ก.ค. ได้แก่ส่งออกไปยังสหรัฐ (โต 1%) ฮ่องกง (โต 10%) และออสเตเรีย (โต 3%) ขณะที่การส่งออกติดลบ YoY สําหรับส่งออกไปประเทศจีน (ลง 3%) เกาหลี ใต้ (ลง 27%) และกลุ่มอาเซียน (ลง 22%)
แนวโน้ม
อิงจากฐานที่ต่ำในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 เราคาดการส่งออกจะติดลบน้อยลง โดยคาดในเดือน ส.ค. จะอยู่ในกรอบลบ 1-3% และบางเดือนในช่วง ไตรมาส 4/66 น่าจะเห็นตัวเลขที่พลิกกลับมาเป็นบวก
ประมาณการ
ปัจจุบันเราคาดการส่งออกของไทยในปี 2566 จะลดลง 2-3% YoY (ก่อนหน้านี้เราคาดว่าลดลงเพียง 0.9% YoY) เนื่องจากตัวเลขเดือน ก.ค. ต่ำกว่าที่เราคาดการณ์มากและความคาดหวังต่อตัวเลยเดือน ส.ค.-ธ.ค. ที่ลดลง ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิต (ดัชนีชี้วัดชั้นนำที่เชื่อถือได้ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ) ทั่วทั้งภูมิภาคในเดือน ก.ค. ปรับตัวหลายทิศทาง แต่ PMI ภาคการผลิตสําหรับตลาดสําคัญๆ เช่น จีนและสหรัฐ ยังคงต่ำกว่า 50 รวมถึงการส่งออกของประเทศไทยและอาเซียนอาจมีความเสี่ยง หากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนไม่มีประสิทธิภาพ
ดุลการค้าพลิกกลับเป็นขาดดุล
ดุลการค้าในเดือน ก.ค. พลิกกลับเป็นขาดดุล 1.98 พันล้านเหรียญสหรัฐ (จากที่เกินดุลเล็กน้อย 58 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือน มิ.ย.) ทำให้ตัวเลขขาดดุลรวม 7 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 8.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เรา คาดการขาดดุลปี 2566 จะอยู่ที่ราว 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งต่ำกว่าที่เราคาดก่อนหน้าในกรอบ 6-7 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ดีกว่าที่ขาดดุล 1.36 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 ทั้งนี้ตัวเลขการนำเข้าในช่วงที่เหลือของปี 2566 น่าจะยังคงแข็งแกร่งและมากกว่าการส่งออก เนื่องจากการบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง หนุนจากประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว