บล.บัวหลวง: 

Agro & Food – ถั่วเหลือง: ภัยแล้งแถบมิดเวสต์กลับมาในช่วงครึ่งหลังเดือนส.ค.

ภัยแล้งได้กลับคืนสู่พื้นที่แถบมิดเวสต์อย่างผิดปกติอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของเดือนส.ค. ซึ่งถือว่าเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านของภาวะอากาศไปสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญ่ เรามองว่าเป็นแค่ผลกระทบระยะสั้น และคาดว่าฝนมีแนวโน้มกลับมาตกในระดับปกติตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังเดือนก.ย. จนถึงเดือนต.ค. ประเด็นสําคัญที่ต้องจับตาดู ได้แก่ ผลผลิตถั่วเหลืองของทวีปอเมริกาใต้ที่คาดว่าจะออกมาเป็นจํานวนมากในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งผลให้ราคาถั่วเหลืองโลกปรับตัวลดลงไปอีกจาก ณ ระดับราคา ปัจจุบัน เรายังคงคำแนะนํา “ถือ” สำหรับหุ้น TVO

ภัยแล้งแถบมิดเวสต์กลับมาอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังเดือนส.ค.

ถ้าอ้างอิงจากรายงาน “ตัวชี้วัดภาวะภัยแล้งในประเทศสหรัฐฯ” ของศูนย์พยากรณ์อากาศของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา (ซึ่งอัพเดตข้อมูลจนถึงวันที่ 22 ส.ค.) ได้เห็นหลักฐานบางอย่างบนแผนที่ซึ่งบ่งชี้ว่าภัยแล้งได้กลับมาเยือนอีกครั้งในพื้นที่แถบมิดเวสต์ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ต่อเนื่องไปจนถึงสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนส.ค. (16-22 ส.ค. 2566) หลังจากที่ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักในแถบมิดเวสต์ในช่วงก่อนหน้าจนถึงกลางเดือนส.ค. ถ้าพิจารณาดูรายละเอียดบนแผนที่ สถานะของภัยแล้งกลับมาดูแย่ลงในแถบพื้นที่ของรัฐมินเนโซต้า รัฐวิสคอนซิน และรัฐไอโอวา พื้นที่ “ภัยแล้งขั้นรุนแรงมากผิดปกติ” ในรัฐมินเนโซต้าและวิสคอนซิน และพื้นที่ “ภัยแล้งขั้นรุนแรง” ในรัฐมินเนโซต้าได้ ขยายตัวในวงกว้างมากขึ้น เราพบพื้นที่ “ภัยแล้งขั้นรุนแรงมากผิดปกติ” เกิดขึ้นใหม่ในรัฐไอโอวา นอกจากนี้ฝนได้ตกลงมาน้อยมากในระดับความสูงที่ไม่เกิน 2 นิ้ว ในแถบพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐวิสคอนซิน คาบสมุทรมิชิแกน ตอนบน และพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐมิชิแกน

ภัยแล้งระยะสั้นในแถบมิดเวสต์ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ปรากฏการณ์ เอลนีโญ่

หากมองในด้านบวก ปริมาณน้ำฝนสําหรับในช่วง 30-60 วันก่อนหน้า รวมถึงความชื้นในดินและสภาพความชื้นบนผิวดินที่ปรับตัวดีขึ้นได้ส่งผลให้มีการลดสถานะภัยแล้ง โดยนำเอาพื้นที่ “ภัยแล้งที่รุนแรงระดับปานกลาง” และ “ภัยแล้งขั้นรุนแรง” ออกไปจากรัฐมิชิแกน อุณหภูมิเฉลี่ยในแถบมิดเวสต์ทั่วทั้งภูมิภาคต่ำกว่าค่าปกติ ยกเว้นพื้นที่ทางตอนใต้ของรัฐมิสซูรี่ รัฐอิลลินอยส์ทางตอนใต้ และรัฐวิสคอนซินทางตอนกลาง ซึ่งมีอุณหภูมิที่สูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย เราคิดว่าสภาพอากาศที่มีความผันผวนอย่างมากในแถบมิดเวสต์ น่าจะเกี่ยวเนื่องอย่างมากกับช่วงของการเปลี่ยนผ่านของกาวะอากาศจาก “ปรากฏการณ์ภาวะอากาศที่เป็นกลาง” ไปสู่ “ปรากฏการณ์เอลนีโญj” ส่งผลให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วระหว่างกาวะของฝนที่จะตกเพิ่มขึ้น และภาวะของฝนที่ลดลงซึ่งนำไปสู่ภัยแล้ง ถึงแม้ว่าภาวะภัยแล้งจะยังคงมีอยู่ต่อเนื่องไปจนถึงต้นเดือนก.ย. หากอ้างอิงจากการพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนของศูนย์พยากรณ์ อากาศของสหรัฐฯ ในช่วงวันที่ 1-7 ก.ย. แต่เรามองว่าเป็นเพียงแค่ระยะสั้น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของแถบมิดเวสต์ (ยกเว้นพื้นที่ตอนบนของรัฐ วิสคอนซิน และพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐมินเนโซต้า) จะได้รับปริมาณน้ำฝนในระดับปกติตั้งแต่เดือนก.ย. ไปจนถึงเดือนพ.ย. 2566 ถ้าหากอ้างอิงจากรายงานแนวโน้มของ ปริมาณฝนที่ตกตามฤดูกาลของศูนย์พยากรณ์อากาศของสหรัฐฯ ที่ได้ออกไปเมื่อวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมา

ราคาถั่วเหลืองโลกปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 เดือน เนื่องจากภัยแล้งที่กลับมาเยือนแถบมิดเวสต์

ราคาถั่วเหลืองโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนที่ 13.88 เหรียญ/บูเชล ในวันที่ 25 ส.ค. 2566 เพิ่มขึ้น 1.2% จากวันก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 6.6% ถ้าเทียบกับระดับต่ำสุดเมื่อเร็วๆ นี้ที่ 13.02 เหรียญ/บูเซล ในวันที่ 7 ส.ค. ที่ผ่านมา เราคิดว่าปัญหาภัยแล้งในแถบมิดเวสต์มีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ต่อไปจนถึงอย่างน้อยกลางเดือนก.ย. และสภาพอากาศคาดว่าจะกลับไปสู่รูปแบบของปริมาณน้ำฝนที่กลับมาตกตามปกติ ในช่วงครึ่งหลังของเดือนก.ย. ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนต.ค. (ซึ่งจะเข้าสู่ช่วงของการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองในประเทศสหรัฐฯ) และถึงแม้ว่ากระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้ทำการปรับลดผลผลิตต่อพื้นที่ปลูกถั่วเหลือง ของประเทศสหรัฐฯ ลงจากเดิมในรายงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ในเดือนส.ค. ที่ผ่านมา แต่เรามองว่าผลกระทบเพียงแค่ 0.6% ของการปรับลดผลผลิตต่อพื้นที่ปลูกของสหรัฐฯ ที่มีต่อผลผลิตถั่วเหลืองโลก สำหรับในปี 2566/67 และผลกระทบเพียงแค่ 1.3% ที่มีต่อสต็อกถั่วเหลืองโลกสำหรับในปี 2566/67 ถือว่าไม่มีนัยสําคัญมากนัก เรามองว่าจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงภาพที่ใหญ่กว่า ซึ่งได้แก่ ผลผลิตถั่วเหลืองโลก สําหรับในปี 2566/67 ที่คาดว่าจะทําสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 402.8 ล้านตัน (หรือเพิ่มขึ้น 9% YoY) ซึ่งมีปัจจัยหนุนจากผลผลิตถั่วเหลืองของประเทศบราซิลที่คาดว่าจะทำสถิติใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน (ที่ 163 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 5% YoY) และผลผลิตถั่วเหลืองของประเทศอาร์เจนติน่าที่คาดว่าจะกลับมาเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด (เป็น 48 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 92% YoY)

- Advertisement -