SET Index แกว่งตัว Sideway ระยะสั้นรอเล่นรอบใหม่ที่ 1,545-1,540 หากไม่ต่ำกว่าลุ้นรีบาวนด์ทางเทคนิค
ประเด็นการลงทุน
วันนี้เคาะ KBANK แนวโน้ม 3Q23 เบื้องต้นประเมินกำไรสุทธิราว 9.7 พันล้านบาท ชะลอตัว QoQ แต่ขยายตัว YoY จากแนวโน้มสินเชื่อที่ฟื้นตัว และ NIM ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและ M-rate ขณะที่การตั้งสำรองจะค่อยๆปรับตัวลง เข้าสู่กรอบเป้าหมาย
MARKET STRATEGY
สรุปตลาดวานนี้ SET ปิดที่ 1,548.68 จุด ลดลง 12.83 จุด (-0.82%) มูลค่าซื้อขาย 50,623.64 ล้านบาท ปรับตัวลงแรงสวนทางกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชีย รับแรงขายหุ้นกลุ่มพลังงาน จากนโยบายลดราคาพลังงานของรัฐบาลใหม่ยังคงกดดันต่อเนื่อง บวกกับแรงขายบมจ.ไทยออยล์ (TOP) จากประเด็นนํ้ามันดิบรั่วไหลจากเรือบรรทุกน้ำมัน
Research Highlight SET หลุดระดับ 1560 เป็นโมเมนตัมลบ // ติดตามเงินเฟ้อไทย ส.ค.
ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ส.ค.ของไทย
- โดยตลาดคาด Core CPI จะ +0.83% YoY (ครั้งก่อน +0.86%YoY) และ CPI +0.6% YoY (ครั้งก่อน +0.38%YoY) โดยอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง คาดว่ามาจากการชะลอตัวของสินค้าในหมวดอาหาร และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลงจากปีก่อน ขณะที่การเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมองว่าจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว
- โดยปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปีนี้ ได้แก่ ปัญหาภัยแล้ง ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และปัญหาความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งก่อนหน้านี้ก. พาณิชย์ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงที่เหลือของปีนี้จะเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 1% ทั้งนี้ ก. พาณิชย์ จะมีการทบทวนเป้าอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย. นี้ คาดว่าจะลดลงมาจากเดิมสู่ 1-2%
- หากออกมาตามคาด มองเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ กนง. มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่เหลือของปีที่ระดับ 2.25% (terminal rate)
- ในเชิงกลยุทธ์เป็นบวกต่อกลุ่มที่อิงการบริโภค (ค้าปลีก สื่อสาร การเงิน) เราชอบ BJC CPALL CPAXT ADVANC TRUE MTC SAWAD SINGER
Update timeline การเมือง และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
- timeline การเมือง 5 ก.ย. ถวายสัตย์ 8 ก.ย. แถลงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่อรัฐสภา และ 12 ก.ย. เริ่มประชุม ครม. เป็นครั้งแรกจองรัฐบาลชุดใหม่
- นโยบายเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง
1. ฟรีวีซ่า เริ่ม 1 ต.ค. มองเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มท่องเที่ยว ช่วยคลายข้อกังวลเรื่องเศรษฐกิจจีนที่ยังไม่ฟื้นตัวเด่นหลังยกเลิก ZCV ทีอาจทําให้เป้า นทท. จากจีนไม่ถึงเป้า
2. การลดค่าไฟ เป็นบวกต่อกลุ่มผู้ประกอบการและประชาชน แต่เป็นลบต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า แนะนำ หลีกเลียงการลงทุนจนกว่าจะได้ความชัดเจน
3. พักหนี้เกษตรกรชั่วคราว ช่วยสร้างกำลังซื้อกับประชาชนฐานราก เป็นบวกต่อกลุ่มการเงินและค้าปลีก
มูดี้ส์เพิ่มคาดการณ์ศก. สหรัฐ แต่หั่น คาดการณ์ศก. จีน
- มูดี้ส์ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2556 ขึ้นสู่ระดับ 1.9% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 1.1% เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในทิศทางที่แข็งแกร่งมากขึ้น โดยประเมินความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเผชิญภาวะถดถอยู่นั้นมีน้อยลง ส่วนในปี 67 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพียง 1% จากผลพวงของอัตราดอกเบี้ยระดับสูงสูงอาจจะทำให้เศรษฐกิจอ่อนแรงลงในช่วงเวลาดังกล่าว
- ด้านเศรษฐกิจจีนได้คง GDP 66 ที่ระดับ +5% แต่ได้ปรับของปี 67 ลงเป็น 4% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 4.5% จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อ่อนแอลง, แนวทางการใช้นโยบายที่ไม่แน่นอน, วิกฤตการณ์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และจํานวนประชากรวัยทํางานที่ลดน้อยลง
- เป็น Sentiment เชิงลบต่อภูมิภาค (EM) อาจเห็น fund flow ไหลเข้ากลุ่ม AM มากขึ้น
วันนี้ติดตาม
- Caixin Services PMI (Aug) จีน คาดชะลอตัวลงเหลือ 53.6 (จากเดือนก่อน 54.1) ตามเศรษฐกิจจีนที่ชะลอการฟื้นตัว
- อัตราเงินเฟ้อ (Aug) ไทย
- PPI (YoY) (Jul) ยุโรป คาดหดตัวต่อเนื่องที่ -7.6%YoY
Investment Strategy
- ประเมิน SET Index แกว่งตัว sideway หลุดระดับ 1560 เป็นโมเมนตัมลบ ระยะสั้นรอเล่นรอบใหม่ที่ 1545-1540 หากไม่ต่ำกว่าลุ้นรีบาวนด์ทางเทคนิค แนวต้านทดสอบ 1555-1560 เป็นกรอบพิจารณา
Global Markets
(0) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ บิดทำการเนื่องในวันแรงงานสหรัฐ
(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ ลบเล็กน้อยในวันจันทร์ (4 ก.ย.) โดยถูกกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยุโรปที่ปรับตัวขึ้ม หลังตลาดพุ่งขึ้นในช่วงเช้าแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 4 สัปดาห์ โดยได้แรงหนุนจากความเชื่อมั่นเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน และหุ้นโนโวนอร์ดิสต์ ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์ของเดนมาร์กพุ่งแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์
(0) สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปิดทำการเนื่องในวันแรงงานสหรัฐ
(0) สัญญาทองคำตลาด COMEX ปิดทำการเนื่องในวันแรงงานสหรัฐ
หุ้นเคาะไป คุยไป..KBANK
- กำไรสุทธิ 2Q23 อยู่ที่ 1.099 หมื่นล้านบาท (+2.36%QoQ, +1.9%YoY) ออกมาต่ำกว่าคาด 2% จากสินเชื่อที่ชะลอตัวและการตั้งสำรองในระดับสูง ขณะที่งวด 1H23 มีกำไรสุทธิ 2.17 หมื่นล้านบาท (-1.2%YoY) คิดเป็น 53.6% ของประมาณการกำไรสุทธิ
- ประเด็นการปรับชั้นลูกหนี้ STARK เป็น NPLs ทำให้ธนาคารยังคงตั้งสำรองในระดับสูงเกินเป้า 200 bps ในไตรมาสนี้ อย่างไรก็ดี KBANK ได้ยืนยันว่าได้ตั้งค่าเผื่อสำรองไว้เพียงพอสำหรับประเด็นดังกล่าวไว้แล้ว นอกจากนี้ยังเดินหน้า clean up balance sheet คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ ขณะที่ผู้บริหาร concern เรื่องเป้า credit cost ที่อาจจะสูงกว่าขอบบนของเป้าหมาย ที่ 175-200 bps แต่ให้ความเชื่อมั่นว่าจะไม่เกิน 210 bps (เทียบกับปี 2022 ที่ระดับ 211 bps และ 1H23 ที่ 206 bps) ส่งผลให้ในระยะถัดไปจะกลับมาตั้ง credit cost ลดลงเหลือระดับ 150 bps+/- และมีแผนขายหนี้เสียให้กับ JKAMC อย่างต่อเนื่อง
- แนวโน้ม NIM ยังทรงตัวในขอบบน ของเป้า 3.3-3.45% และสินเชื่อมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี แต่คาดว่าจะไม่ถึงเป้าที่ 5-7% แนวโน้ม 3Q23 เบื้องต้นประเมินกำไรสุทธิราว 9.7 พันล้านบาท ชะลอตัว QoQ แต่ขยายตัว YoY จากแนวโน้มสินเชื่อที่ฟื้นตัว และ NIM ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และ M-rate
- ขณะที่การตั้งสำรองจะค่อยๆปรับตัวลง เข้าสู่กรอบเป้าหมาย ขณะที่ประเมินกำไรสุทธิปี 23-24F เท่ากับ 4.1 หมื่นล้านบาท (+16%YoY) และ 4.6 หมื่นล้านบาท (+11%YoY) ตามลำดับ โดยประเด็นที่ควรติดตามอย่างระดับ normalize ของ Credit cost ที่ควรจะอยู่ในกรอบ 140-160 bps อาจจะเลื่อนไปเป็นช่วงปี 25F แทน ภายใต้เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า
- คงคําแนะนํา “ซื้อ” แต่ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 156 บาท อิง PBV เพียง 0.79 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี – 0.25 S.D. มี highlight เด่นได้แก่ 1. Valuation ที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับการฟื้นตัวของผลประกอบการเข้าใกล้ระดับ Pre-COVID ในขณะที่ PBV เฉลี่ย 3 ปีก่อนเกิดโควิด-19 อยู่ที่ 1.3 เท่า เทียบกับปัจจุบันที่ระดับเพียง 0.6 เท่า 2. ผลจากการปรับคุณภาพสินทรัพย์ ตั้งแต่ช่วง 2H22 คาดว่าจะเริ่มเห็นผลดีใน 2H23 3. แนวโน้มรายได้ปรับตัวขึ้นทั้ง NII (ดอกเบี้ยขาขึ้น) และ Non-NII (ขาดทุนธุรกิจประกันลดลง) ขณะที่รายได้จาก JV AMC จะเริ่มมีนัยยะ และ 3. เป็นผู้นำของกลุ่มที่พัฒนา digital banking สอดรับ mega trend ในอนาคต