ตลาดหุ้นวานนี้
SET Index ลดลง 1 จุด (-0.05%) ปิดที่ 1,548 จุด ตลาดไม่มีปัจจัยหนุนใหม่นักลงทุนหมุนเก็งกำไรหุ้นที่มีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว อาทิ ไฟแนนซ์ และ กลุ่มน้ำตาล
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้
ประเมิน SET แกว่งตัว 1,540 – 1,560 จุด แม้กลุ่มพลังงานจะได้แรงหนุนราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นหลังซาอุฯและรัสเซียขยายเวลาการปรับลดอุปทานน้ำมันจนถึงสิ้นปี 2566 อย่างไรก็ตามยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงต่ำสุดในรอบ 11 สัปดาห์ รวมถึงความไม่แน่นอนทิศทางอัตราดอกเบี้ยของ FED ส่งผลให้ US bond yield พุ่งขึ้นซึ่งเป็นลบต่อกระแส Fund flow ต่างชาติจะกดดันให้ดัชนีผันผวน
กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy
- PTTEP BCP SPRC ราคาน้ำมันดิบยืนเหนือ 86 US/Barrels
- STA NER TEGH KSL KBS BRR ราคายางพาราและน้ำตาลเพิ่มขึ้น
- HANA KCE CPF BTG TU ITC AAI กลุ่มส่งออกอานิสงส์เงินบาทอ่อนค่า
หุ้นแนะนำวันนี้
- PTTEP (ปิด 161 ซื้อเก็งกำไร/เป้า 182 บาท) คาดการณ์กำไรสุทธิ 3Q23 ฟื้นตัวต่อเนื่อง วันนี้ได้ Sentiment บวกราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 เดือน รับข่าวซาอุขยายเวลาลดการผลิตน้ำมันดิบ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันไปจนถึงสิ้นปีนี้
- CKP (ปิด 3.76 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 4.60 บาท) ผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่น้อยกว่าที่คาด ราคาหุ้นที่ลดลงมาเป็นโอกาสซื้อคาดหวังผลกำไรของ CKP กลับมาฟื้นตัวแบบก้าวกระโดดใน 3Q23 ตามปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงที่เพิ่มขึ้น
บทวิเคราะห์วันนี้
Energy sector (Prompt act), SEAFCO (Prompt act)
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+) นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติลดลงทำสถิติต่ำสุดในรอบ 11 สัปดาห์: กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวฯ รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติรายสัปดาห์ (28 ส.ค. – 3 ก.ย.) มีจำนวน 505,006 คน ลดลง 4.43%wow ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 11 สัปดาห์ หลักๆ มาจากการลดลงของนักท่องเที่ยวจีนโดยสัปดาห์ที่ผ่านมามีจำนวนนักท่องเที่ยวจีน 48,669 คน ลดลง 27.08%wow ระยะสั้นจะเป็น Sentiment ลบกับหุ้นท่องเที่ยว (MINT CENTEL ERW SHR AU AAV AOT)
(+)คาดหวังแบงก์ชาติหยุดขึ้นดอกเบี้ยหลังเงินเฟ้อไทยยังอยู่ในระดับต่ำ: กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) เดือน ส.ค. เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 0.88% จาก 0.38% ในเดือน ก.ค. และมากกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ 0.61%อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อดังกล่าวยังต่ำกว่ากรอบเป้าหมายแบงก์ชาติที่ 1-3% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ลดลงเป็น 0.79% จาก 0.86% ในเดือน ก.ค. ปัจจัยนี้เป็นบวกต่อ Sentiment การลงทุนของกลุ่มไฟแนนซ์ Top pick MTC, SAWAD
(+/-) ติดตามตัวเลข ส่งออก/นำเข้าจีน เพื่อหาสัญญาณฟื้นตัวของส่งออกไทย: เนื่องจากจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของไทยหากจีนมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจะส่งผลบวกต่อการส่งออกของไทยโดยตรง เบื้องต้น Consensus คาดยอดส่งออกจะหดตัว 9.8%yoy แต่ดีขึ้นจากเดือน ก.ค.ที่หดตัว 14.5%yoy ส่วนยอดนำเข้าคาดหดตัว 8.8% แต่ดีขึ้นจากเดือน ก.ค. ที่หดตัว 12.4%
ข่าวในประเทศและต่างประเทศ
สรุปข่าวเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ
ไทย
(+/-) รัฐบาลเตรียมแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 11 ก.ย.นี้
(-) กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวฯ รายงานจํานวนนักท่องเท่ียวชาวต่างชาติรายสัปดาห์ (28 ส.ค. – 3 ก.ย.) มีจํานวน 505,006 คน ลดลง 4.43%wow
(+) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) เดือน ส.ค. เพิ่มระดับ 0.88% จาก 0.38% ในเดือน ก.ค. และมากกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ 0.61% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ลดลงเป็น 0.79% จาก 0.86% ในเดือน ก.ค.
สหรัฐ
(-) ดัชนีดาวโจส์ปิดที่ 34,641.97 จุด ลดลง 195.74 จุด (-0.56%) ถูกกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และจับตาข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐอย่างใกล้ชิด
(-) นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการเฟดส่งสัญญาณว่า เฟดยังไม่จําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ 4.234%
ยุโรป
(+) ยูโรโซน – ดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและบริการขั้นสุดท้ายเดือนส.ค.ของยูโรโซนจาก HCOB ที่รวบรวมโดยเอสแอนด์พี โกลบอล ปรับตัวลดลงสู่ 46.7 จาก 48.6 ในเดือนก.ค. และทําสถิติต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563 และต่ำกว่าตัวเลขขั้นต้นที่ 47
(-) อังกฤษ – ดัชนี PMI ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนส.ค. ลดลงสู่ระดับ 49.5 จาก 51.5 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน
(+) ซาอุดีอาระเบีย – ซาอุดีอาระเบียจะขยายเวลาปรับลดกําลังการผลิตน้ํามันโดยสมัครใจจํานวน 1 ล้านบาร์เรล/วันจนถึงสิ้นปีนี้
เอเชีย
(+/-) จีน – จีนเตรียมเปิดตัวกองทุนใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยตั้งเป้าระดมทุนสําหรับการลงทุนในภาคเซมิคอนดักเตอร์ 4 หมื่นล้านดอลลาร์