สรุปภาวะตลาด
วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวกเล็กน้อย สวนทางกับตลาดหุ้นในภูมิภาคที่ปรับตัวลง หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีภาคบริการที่แข็งแกร่งเกินคาด ทำให้ตลาดกังวลว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงต่อไป แรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับการปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้เหลือโต 2.5-3.0% จากเดิมคาด 3.0-3.5% และปรับเป้าส่งออกปีนี้ -2.0 ถึง -0.5% ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,550.36 จุด +1.58 จุด +0.10% มูลค่าการซื้อขาย 39,029 ลบ. ต่างชาติ -850.16 ลบ. TFEX +537 สัญญา ตราสารหนี้ +1,094.68 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเพียงเล็กน้อย 57.54 จุด หรือ +0.17% ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดในแดนลบ ตลาดถูกกดดันจากการร่วงลงของหุ้นแอปเปิ้ลหลังมีรายงานเกี่ยวกับการควบคุมการใช้โทรศัพท์ iPhone ในจีน และนักลงทุนกังวลว่า ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานในสหรัฐที่ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน จะส่งผลให้ FED ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
+ สหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 13,000 ราย สู่ระดับ 216,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าเพิ่มขึ้นสู่ ระดับ 234,000 ราย
+ สัปดาห์หน้า 11-12 ก.ย.รัฐบาลใหม่จะแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คาดจะมีมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ อาทิ Digital Wallet 10,000 บาท และฟรีวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยว
ปัจจัยลบ-
– สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ลดลง 67 เซนต์ -0.8% ปิดที่ 86.87 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ลดลงสู่ระดับต่ำกว่า 90 ดอลลาร์ ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวนจากความกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันอ่อนแอในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
– นักลงทุนเพิ่มนํ้าหนักในการคาดการณ์ว่า FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพ.ย. หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำสุดรอบ 7 เดือน FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนัก 44.8% ที่ FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.50-5.75% ในการประชุมวันที่ 1 พ.ย. ขยับขึ้นจาก 37.1% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และ 28.6% เมื่อเดือนที่แล้ว
– ตลาดหุ้นฮ่องกงจะเลื่อนเปิดตลาดในวันนี้ และอาจจะมีการระงับซื้อขายในภาคเช้าหากมีการยกระดับการเตือนภัยพายุภายในเวลา 09.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น
– การส่งออกของจีนในเดือนสิงหาคมหดตัว 8.8%YoY หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยหดตัวในทุกตลาดหลัก
– ญี่ปุ่นเปิดเผย GDP 2Q66 ขยายตัว 4.8%YoY 1.2%QoQ ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้น ที่ระบุว่ามีการขยายตัว 6%YoY 1.5%QoQ และต่ำกว่าตลาดคาดว่าอาจขยายตัว 5.5%YoY 1.3%QoQ เนื่องจากการใช้จ่ายด้านการลงทุนของภาคเอกชนลดลง
– ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับคาดการณ์ GDP ปีนี้เหลือโต 2.5-3% จากเดิมคาด 3-3.5% โดยปรับลดสมมติฐานการส่งออกเหลือ -2 ถึง -0.5% จากเดิม -2 ถึง 0% และการใช้จ่ายภาครัฐที่หดตัวต่อเนื่อง จากการเบิกจ่ายงบประมาณที่มีแนวโน้มล่าช้า ส่งผลให้ GDP ใน 2Q66 เติบโตเพียง 1.8% ต่ำกว่าประมาณการที่ 3.1% อย่างมาก
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันนี้แกว่งตัว Sideway เนื่องจาก กกร. ปรับลดคาดการณ์ GDP จาก 3.0-3.5% เหลือ 2.5-3.0% จากการส่งออกที่ซบเซา นอกจากนี้รัฐบาลใหม่ยังไม่มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่เพิ่มเติม ทำให้หุ้นขนาดกลางและเล็ก outperform ตลาด ทำให้ตลาดปรับตัวขึ้นได้จำกัด มองกรอบดัชนีในวันนี้ 1,545-1,560 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- หุ้นเชื่อมโยงการเมือง : STEC STPI SIRI SC SKY XPG
- หุ้น mai ได้ประโยชน์จากนโยบายฟรีวีซ่านักท่องเที่ยว : SPA AU D RP
- iPhone 15 เปิดตัว 12 ก.ย. : COM7 SPVI CPW SYNEX
- ราคานํ้าตาลปรับตัวขึ้น : KBS KSL KTIS BRR
- มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล : TNP KK CPALL CPAXT STEC CK ITD
หุ้นรายงานพิเศษ
IIG – ซื้อเก็งกำไร (Bloomberg Consensus 20.44 บาท) “คาดผลการดำเนินงานฟื้นตัว HoH”
- งวด 2Q23 บริษัทมีขาดทุนสุทธิเท่ากับ 51 ลบ. ขาดทุนมากขึ้น 200 และพลิกเป็นขาดทุน YoY (งวด 1Q23 = -28 ลบ. งวด 2Q22 = 24 ลบ. โดยมีรายได้รวมเท่ากับ 212 ลบ. -15%QoQ, -10%YoY สาเหตุหลักจาก การลดลงของทั้งรายได้จากธุรกิจ CRM และธุรกิจ ERP %GPM ที่ -12.4% ลดลงจาก 4% ใน 1Q23 และ 24.1% ในงวด 2Q22 จากรายได้ที่พลาดเป้า ขณะที่ต้นทุนบุคคลากรส่วนใหญ่เป็นต้นทุนคงที่ โดยงวด 1H23 มีรายได้รวม 465 ลบ. +2%YoY และขาดทุนสุทธิเท่ากับ 80 ลบ.
- บริษัทปรับลดเป้ารายได้ปี 23 จากเดิมที่ 1,400 ลบ. เป็น 1,200 ลบ. หรือลดลง 17% เนื่องจากรายได้ช่วง 1-23 ที่ต่ำกว่าคาด จากความล่าช้าในการส่งมอบงานโครงการใหญ่ โดยรายได้ช่วง 1H23 คิดเป็น 39% ของเป้ารายได้ใหม่ และคงเป้ารายได้ปี 24 ที่ 2,000 ลบ. เติบโตจากรายได้จากธุรกิจเดิม และการทำ M&A, JV ซึ่งเน้นไปทางกลุ่ม CLMV
- ความเห็น เรามีมุมมองเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัท เนื่องจากดีมานด์ในการเปลี่ยนแปลงระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ หรือการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ (Digital Transformation) เติบโตตามเทรนด์การปรับตัวของเศรษฐกิจ ยุคดิจิตอล และคาดว่าผลการดำเนินงานงวด 2Q23 เป็นจุดต่ำสุดของปี ก่อนจะฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี 23 โดย Bloomberg Consensus คาดการณ์กําไร ปี 23 ขาดทุน -47 ลบ. ก่อนจะพลิกเป็นกำไร 69 ลบ. ในปี 24 และราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus เฉลี่ย 20.44 บาท ใกล้เคียงราคาปัจจุบัน เราจึงแนะนำ “ซื้อเก็งกำไร”
หุ้นมีข่าว
(+) BGC (Bloomberg consensus 9.45 บาท) เล็งจับมือพันธมิตรเข้าซื้อธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์ คาดว่าจะเสนอบอร์ดภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ คาดใช้เงินลงทุนประมาณ 300-400 ล้านบาท หวังเสริมให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีความหลากหลายเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน บริษัทยังรับผลดีจากการที่รัฐบาลใหม่มีนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยว หนุนการบริโภคเพิ่มขึ้น ประเมินแนวโน้มยอดขายไตรมาส 3/2566 เติบโตต่อเนื่อง ส่วนต้นทุนพลังงานที่ลดลงดันมาร์จิ้นดีขึ้น (ที่มา ทันหุ้น)
(+) ATP30 (Bloomberg consensus – บาท) คว้าสัญญาให้บริการลูกค้าใหม่ 5 ราย จำนวนรถรวม 64 คัน ทยอยให้บริการ-รับรู้รายได้ ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ หนุนกองทัพรถรวม 670 คัน ชูกลยุทธ์คัดสรร ลูกค้าศักยภาพสูง ความผันผวนต่ำ เพิ่มความมั่นคงด้านรายได้ และความแข็งแรงด้านพื้นฐานกิจการ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) SKY (Bloomberg consensus – บาท) เปิดตัว “เมทเธียร์” รุกธุรกิจใหม่สร้าง New S-Curve ต่อยอดนวัตกรรมแห่งอนาคตสู่ธุรกิจการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์อัจฉริยะ ผสานการพัฒนาโซลูชันจากขุมพลัง AI เดินหน้าเจาะโครงการอสังหาขนาดใหญ่ 5 กลุ่ม โครงการมิกซ์ยูส-ศูนย์การค้า- ออฟฟิศ-โครงการบ้านและคอนโด-โรงงานอุตสาหกรรม เตรียมระดมเทคโนโลยีสุดล้ำพลิกโฉมธุรกิจ Smart Facility Management (ที่มา ทันหุ้น)
(+) WINMED (Bloomberg consensus – บาท) ผลงานครึ่งปีหลังโตต่อเนื่อง กลุ่มผลิตภัณฑ์เดิมมีแนวโน้มเติบโตขึ้นทุกช่องทาง มั่นใจว่ารายได้ในปีนี้เติบโต 30% ตามเป้า จ่อขยายเครื่องบริจาคเลือดอัตโนมัติ 10 แห่ง ในปี 2567 เล็งผุดสินค้าใหม่ๆ ปัจจุบันอยู่ระหว่างรออย.อนุมัติ คาดสามารถเริ่มจำหน่ายได้ช่วงต้นปี 2567 (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 11-12 ก.ย. นายกฯ แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
- 12 ก.ย. ประชุมครม. นัดแรก
- สัปดาห์ที่ 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แถลงข้อมูลสรุปภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์
- สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและอัพเดตสถานการณ์ลงทุน
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
- 25 ก.ย. กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
- 27 ก.ย. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/2566
- 29 ก.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 8 ก.ย. สหรัฐ รายงานสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนก.ค.
- 9 ก.ย. จีน รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค.
- 11 ก.ย. สหรัฐ รายงานตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคเดือนส.ค.
- 12 ก.ย. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนก.ย.ของยูโรโซน จากสถาบัน ZEW
- สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนส.ค.จากสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB)
- 13 ก.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- 19-20 ก.ย ประชุม FED