บล.กรุงศรีฯ:
INVESTMENT STRATEGY – มาตรการทางการคลังจะเป็นตัวช่วยที่ดีได้หรือไม่?
เศรษฐกิจไทยถูกขับเคลื่อนตามการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ตามด้วยรายได้จากภาคบริการ ส่วนการลงทุนภาครัฐที่ชะลอตัวลง แม้ว่าจะคิดเป็น 20% ของ GDP แต่กิจกรรมต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นของภาครัฐจะเป็นเร่งกระตุ้นรายจ่ายของภาคเอกชนได้ จากการแถลงนโยบายทางเศรษฐกิจเมื่อวานนี้ เหมือนเป็นแนวคิดและยังคลุมเครือทำให้นักลงทุนคงรอความชัดเจน จุดเด่นยังคงเป็นมาตราการเงินดิจิตอลที่หากทำได้สำเร็จจริงจะสามารถเพิ่มอัตราการขยายตัวได้อีก 2.0-2.7% จากการคาดการณ์ของเราที่ 3.3% ในปี 2024 ซึ่งจะดึงให้ดัชนี SET ไปสู่ 1,750 ภายในสิ้นปีหน้า ส่วนปัจจัยฉุดรั้ง อาจเป็นการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง จากความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อระลอกที่ 2 และหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูง
การ “กระตุ้น” การบริโภคที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้นถือว่าสมเหตุสมผล
เป็นที่ทราบกันดีว่า กุญแจสำคัญสำหรับการกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคนั้น เป็นได้ทั้งการเพิ่มรายได้ และการลดค่าครองชีพ ซึ่งอาจเป็นการเพิ่มภาระหนี้ให้กับภาครัฐมากขึ้นกว่าในปัจจุบันที่ 61.7% ของ GDP อย่างไรก็ดี “การกระตุ้น” การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคนั้นถือว่ามีสมเหตุสมผล และสามารถเป็นไปได้ อีกทั้งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้สูงขึ้นจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็น 56% ของ GDP ช่วยลดผลกระทบจากการถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกาที่อาจเกิดได้ในปี 2024 ทั้งนี้มาตรการอัดฉีดเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะสามารถเพิ่มการบริโภคภาคเอกชนได้อีก 5.9% yoy สำหรับปี 2024
การลงทุนส่งผลสำคัญในระยะกลางถึงยาว
เราสนับสนุนการกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในระยะสั้น แต่ยังเห็นว่าสมควรอย่างยิ่งที่จะให้ความสนใจกับการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืน การลงทุนภาครัฐนั้นขาดความน่าสนใจไปตั้งแต่ปี 2021 ที่การใช้จ่ายหดตัวลงติดต่อกันถึง 3 ไตรมาส ซึ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาณการลงทุนภาครัฐนั้นจะเป็นแรงกระตุ้นการการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนได้มากยิ่งขึ้น ตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนต่อ GDP ควรเท่ากับการออม เพื่อให้บรรลุการเติบโตที่เหมาะสม ตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ชี้ว่าประเทศไทยอัตราการออมเงินมากกว่าการลงทุนถึง 1.16% ของ GDP
จับตาเงินเฟ้อระลอกที่ 2
การเติบโตที่คาดหวังจากรัฐบาลปัจจุบันอาจนำมาซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยเราคาดการณ์ได้ก่อนหน้านี้ว่าเงินเฟ้อ (ค่าเฉลี่ย 6 เดือน) อาจปรับตัวสูงขึ้นเป็น 2.5% yoy สำหรับปีหน้าจากฝั่งอุปสงค์ที่มีความแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงกดดันเป็นอย่างมากสำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะต้องดำเนินนโยบายทางการเงินแบบตึงตัวต่อไป
นโยบายเด่น
การแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรีเมื่อวานนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นไม่มีรายละเอียดและตัวเลขทางการเงิน ซึ่งเป็นการฉุดความเชื่อมั่นของนักลงทุน (ในช่วงจังหวะเวลานี้เป็นอย่างน้อย) ซึ่งรวมไปถึงการลดภาระค่าใช้จ่ายด้วยการลดค่าพลังงาน และช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยมาตรการพักชำระหนี้ และการกระตุ้นในภาคท่องเที่ยวยังคงเป็นกุญแจสำคัญในการพลักดันให้เศรษฐกิจเติบโต แม้ว่าภาคบริการทั่วโลกอาจเกิดการชะลอตัวในอนาคต ซึ่งส่วนสำคัญยังเป็นมาตรการเงินดิจิทัล ทั้งนี้รัฐบาลยังต้องใช้เวลาในการหารือถึงรายละเอียดของมาตรการดังกล่าว โดยเฉพาะการหาเงินทุนสำหรับดำเนินงาน ซึ่งเราจะประเมินอีกครั้งเมื่อมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
การจัดการหนี้
การใช้เครื่องมือทางการคลังในระบบเศรษฐกิจจะนำมาซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งความท้าทายในการจัดการหนี้โดยที่หนี้สาธารณะของประเทศไทยสูงขึ้นถึง 61.7% ของ GDP ซึ่งยังมีรายละเอียดของงบประมาณประจำปี 2024 ของรัฐบาลตามกรอบการทำงานของนโยบาย เราคาดการณ์ตามพื้นฐานงบประมาณประจำปี 2023 ที่มีงบประมาณขาดดุลถึง 3.7% ของ GDP (728.9 พันล้านบาท) และอาจสูงขึ้นถึง 5.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าสำหรับปี 2024 ปริมาณ หนี้สาธารณะ (นอกเหนือจากมาตรการเงินดิจิทัล) อาจสูงขึ้นเป็น 65% ของ GDP หากรวมการหาเงินทุนของมาตรการเงินดิจิทัล หนี้สาธารณะอาจแตะเพดาน 70% ของ GDP (จากฐาน 5.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าของปีถัดไป) ในรายการกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ เราคำนวณว่ามาตรการเงินดิจิทัลจะสามารถเพิ่มอัตรา การเจริญเติบโตของ GDP ใน ปี 2024 จะเติบโตได้ถึง 5.7% และอาจลดปริมาณหนี้ สาธารณะลงเหลือ 64.5% ของ GDP เมื่อคิดรวมกับต้นทุนของมาตรการเงินดิจิทัล ภายใต้การคลังแบบปกติ (ไม่ใช่การใช้นโยบายถึงการคลัง หรือ quasi-fiscal policy)