KS Daily View 14.09.2023 >>> มองดัชนีแกว่งตัวในกรอบ บรรยากาศเปราะบางหากมีรีบาวด์อาจเป็นไปอย่างจำกัด ยังไร้ปัจจัยบวกชัดช่วยหนุน ประเมินกรอบซื้อขาย 1,525/1,540-45  หุ้นแนะนำ ITC AMATA

สรุปภาวะตลาดเมื่อวันวานนี้

  • ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA -0.20%, S&P 500 +0.12%, NASDAQ +0.29%โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 เช่น Utilities (+1.20%), Consumer discretionary (+0.90%), Communication services (+0.40%) ขณะที่ Real estate (-1.03%), Energy (-0.76%), Industrials (-0.67%)
  • ในประเทศ: SET Index +4.56 pts. หรือ +0.30% ปิดที่ 1,545.50 จุด ตัวขับเคลื่อนหลักสำคัญคือ DELTA (+3.35%), TLI (+6.56%), PTTEP (+0.61%), TRUE (+7.10%) ขณะที่ BH (-3.01%), MINT (-2.29%), BDMS (-0.92%), KBANK (-1.16%)

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ: มองดัชนีตลาดแกว่งตัวในกรอบ หลัง sentiment ระยะสั้นเป็นลบดัชนีหลุดแนวรับสำคัญ 1,540 จุด ขณะที่ไร้ปัจจัยบวกชัดช่วยหนุนการฟื้นตัวรีบาวด์ แม้ดัชนีปรับตัวลงแรงรวมกว่า 40 จุด ตั้งแต่สิ้นเดือนส.ค. มองกรอบซื้อขายวันนี้ที่ 1,525/1,540-45 จุด

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

  1. สหรัฐฯรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI – Consumer Price Index) เดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 3.7% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 3.6% YoY และสูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 3.2% YoY ตัวเลขเงินเฟ้อกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังซาอุฯปรับลดกำลังการผลิต สร้างความกังวลในตลาดว่าแรงกดดันเงินเฟ้ออาจกลับมาอีกรอบและกดดันให้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยต่อ อย่างไรก็ดี ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมผลของราคาพลังงานที่มักผันผวนขึ้นลงเร็วปรับตัวลงต่อเหลือ 4.3% YoY จาก เดือนก่อนหน้าที่ 4.7% YoY ข้อมูลสะท้อนแม้มีแนวโน้มว่าเงินเฟ้ออาจใช้เวลานานกว่าคาดในการปรับตัวลง เรามองอาจต้องพิจารณาข้อมูลอีกเดือนสองเดือนเพื่อยืนยันทิศทางและความต่อเนื่องของแรงกดดันเงินเฟ้อ ตลาดมอง Fed คงดอกเบี้ยในรอบการประชุม FOMC เดือนนี้ แต่ยังมองโอกาสความน่าจะเป็น 50:50 สำหรับรอบการประชุมเดือนพ.ย.
  2. สำนักข่าวรายงาน ธนาคารกลางจีน (PBOC) ให้คำมั่นเตรียมออกนโยบายกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพื่อดันเศรษฐกิจให้กลับมาเร่งฟื้นตัวอีกครั้ง ท่ามกลางยอดปล่อยสินเชื่อเดือน ก.ค. – ส.ค. ที่เริ่มกลับมาขยายตัว
  3. สำนักงาน กกพ. เผยรับทราบมติ ครม. เห็นชอบปรับลดอัตราค่าไฟฟ้ารอบเดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 ในอัตรา 4.45 บาทต่อหน่วย ลงเหลือในอัตรา 4.10 บาทต่อหน่วย โดย กกพ. จะเร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการให้ตรงตามเจตนารมณ์ในมติ ครม. โดยคาดว่าจะดำเนินการนำเสนอให้แล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้ภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากนี้
  4. อีกหนึ่งประเด็นจากที่ประชุม ครม.เศรษฐา นัดแรก ที่น่าสนใจคือการปรับวิธีการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการ ที่แต่เดิมจะได้เงินเดือนเดือนละครั้ง แต่ผลการประชุมครม.ในวันนี้ ได้มีคำสั่งปรับแผนการจ่ายเงินเดือนข้าราชการออกเป็นเดือนละ 2 รอบ ทั้งนี้คาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ใน 1 มกราคม 2567
  5. อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐฯรวมถึงความกังวลจากประเด็นที่รัฐบาลเศรษฐาอาจจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่มหนี้สาธารณะเพื่อนำเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจในหลายโครงการรวมถึง Digital wallet โดยอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะ 10 ปีปรับขึ้นแรงแตะระดับ 3.0% เทียบจากต้นเดือนอยู่ที่ราว 2.6%

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้

ประเมินตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวขึ้นในกรอบ 1,525 – 1,585 จุด คาดแกว่งตัวรอทิศทางจากพัฒนาการสำคัญเช่น การแถลงนโยบายของรัฐบาลในวันที่ 11-12 ก.ย. และการประชุม ครม.​ ในวันที่ 13 ก.ย.ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนเรื่องนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ นโยบายฟรีวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจีนและอินเดีย นโยบายลดราคาพลังงาน เป็นต้น รวมถึงทิศทางดอกเบี้ยของเฟดหลังการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯกับจีน

หุ้นแนะนำวันนี้

  • Top pick: ITC (ราคาพื้นฐาน 26.8 บาท) ได้ประโยชน์ค่าเงินบาทอ่อน อีกทั้งตัวเลขส่งออกไทยล่าสุด ยืนยันมุมมองชัดคำสั่งซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงผ่านจุดต่ำสุดแล้วและคาดจะค่อยๆฟื้นตัวขึ้น ประเมินกำไรเร่งตัว QoQ ใน 3Q23 และเร่งต่อแตะระดับสูงสุดของปีใน 4Q23 ขณะที่ valuation หุ้นไม่แพง upside น่าสนใจ
  • Top pick: AMATA (ราคาพื้นฐาน 28.5 บาท) กระแสต่างชาติลงทุนไทยโดยตรงหรือ FDI มาแรง จากทั้งตามเทรนอุสาหกรรม EV ที่โดดเด่นและการย้ายฐานการผลิตมาไทยหนีความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ มองบริษัทได้ประโยชน์ ประเมินผลประกอบการเติบโตสูงปีหน้าราว 40%

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันพฤหัสฯ ติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตลาดคาดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 4.25% ต่อด้วยตัวเลขค้าปลีก (Retail sales) ของสหรัฐฯเดือนส.ค. ตลาดคาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.9% YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 3.2% YoY
  • วันศุกร์ ติดตามตัวเลขดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) ของจีนเดือนส.ค. คาดขยายตัว 4% YoY สูงขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 3.7% YoY และตัวเลขค้าปลีกจีน (Retail sales) เดือนส.ค. ตลาดคาดขยายตัว 2.8% YoY เพิ่มขึ้นเมือเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 2.5% YoY ต่อด้วยตัวเลขภาคการผลิต Empire State manufacturing index เดือน ก.ย. ตลาดคาดที่ -10 จุด ดีขึ้นเมือเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -19 จุด และตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (University of Michigan consumer sentiment – UOM) เดือนก.ย. ตลาดคาดทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 69.5 จุด
- Advertisement -