บล.บัวหลวง:
TAN – เมื่อแฟชั่นมาพร้อมกับการเติบโตที่ไม่ฉาบฉวย (IPO Report)
Executive Summary
เราประเมินมูลค่าพื้นฐานปี 2024 ของ TAN ที่ ที่ 6,432-6,624 ล้านบาท เราได้มูลค่ายุติธรรมของส่วนของผู้ถือหุ้นผ่านวิธี PER ที่ 6,432 ล้านบาท (จากระดับ PER เป้าหมายเฉลี่ยที่ 23.7 เท่า) และมูลค่ายุติธรรมที่ 6,624 ล้านบาท (คิดเป็น implied PER ที่ 24.4 เท่า) ผ่านวิธิคิดลดกระแสเงินสด (DCF) โดยมูลค่ายุติธรรมเฉลี่ยของส่วนของผู้ถือหุ้น TAN ของทั้ง 2 วิธีอยู่ที่ 6,528 ล้านบาท (คิดเป็น implied PER ที่ 24.1 เท่า) แม้ระดับ implied PER จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคู่เทียบที่เรายกมาจากกลุ่มค้าปลีกสินค้าฟุ่มเฟือยและกลุ่มสินค้าไลฟสไตล์ แต่เนื่องจากเราคาดการเติบโตของ TAN ในช่วงปี 2023-25 ที่ 38.2% ซึ่งสูงกว่าการเติบโตเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 19% ดังนั้นเราจึงมองว่าระดับ Implied PER ผ่านวิธี DCF สมเหตุสมผล จากการเติบโตของกำไรของ TAN ที่สูงกว่าอุตสาหกรรม
ผลประกอบการที่ผ่านมาแสดงการฟื้นตัวจากโควิดอย่างรวดเร็ว และเรายังคาดการณ์การเติบโตของกำไรหลักที่แข็งแกร่ง ในปี 2021 จากการที่บริษัทฯ เจอผลกระทบจากโควิดที่ทำให้ต้องปิดสาขาชั่วคราว บริษัทฯ รายงานขาดทุนที่ 32 ล้านบาท อย่างไรก็ดี หลังจากที่กิจการต่างๆ เริ่มเปิดทำการได้เป็นปกติ TAN กลับมารายงานกำไรสุทธิที่ 125 ล้านบาท จากการกลับมาของรายได้และความสามารถของบริษัทในการจัดการด้านต้นทุน โดยอัตรากำไรต่างๆ ก็สูงกว่าอัตรากำไรที่เคยทำได้ในปี 2019 เช่นกัน
มองไปข้างหน้า เราคาดกำไรสุทธิปี 2023-25 ที่ 171 271 และ 327 ล้านบาท เติบโต 36.5% 58.6% และ 20.5% ตามลำดับ คิดเป็น CAGR ปี 2023-25 ที่ 38.3% โดยการเติบโตของ TAN เกิดจากการเติบโตของรายได้และอัตราการทำกำไรของทุกแบรนด์ และการคืนหนี้หลังจากทำ IPO
สรุป 4 ประเด็นสำคัญในการลงทุนดังนี้…
Positive #1—มีแบรนด์สินค้าหลากหลาย เอกลักษณ์ชัดเจนและเป็นที่รู้จัก
เรามองว่าการที่ TAN มีแบรนด์ที่หลากหลายอยู่ในมือ และแต่ละแบรนด์มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนและเป็นที่รู้จัก คือจุดแข็ง เพราะการมีแบรนด์ที่หลากหลายจะทำให้ TAN สามารถจับกลุ่มลูกค้าและสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่มีความหลากหลายได้ นอกจากนี้เอกลักษณ์ที่ชัดเจนของแบรนด์ จะทำให้บริษัทฯ มีฐานลูกค้าที่ภักดีและรู้คุณค่าของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง เห็นได้จากส่วนแบ่งทางการตลาดที่ค่อนข้างแข็งแกร่งของหลายแบรนด์ภายใต้การบริหารของ TAN
Positive #2—แบรนด์ ช่องทางการขาย และกลุ่มลูกค้ายังมีโอกาสเติบโตสูง
เรามองว่าบริษัทจะยังเห็นโอกาสในการเติบโตที่สูงจากความสามารถของแบรนด์และกำลังซื้อของกลุ่มลูกค้า จากการที่แบรนด์ของบริษัทมีความสามารถในการออกสินค้าใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง มีการเจาะฐานลูกค้าระดับกลางถึงบนที่ภักดีกับแบรนด์ และยังเห็นการเติบโตได้ตามการขยายตัวของกลุ่มลูกค้าและความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ TAN เป็นกลุ่ม Y-W-N หรือ Youth-Women-Netizens ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั้งผู้หญิงวัยรุ่น และกลุ่มวัยทำงาน นอกจากที่ทาง Frost & Sullivan เองมองการเติบโตในช่วง 2022-26 ของกลุ่มอุตสาหกรรมที่บริษัทดำเนินการอยู่ในระดับเกิน 9% การฟื้นตัวที่รวดเร็วของผลประกอบการณ์ของ TAN ในช่วงปี 2022 ก็บ่งบอกถึงความสามารถของบริษัทและศักยภาพของตลาดของ TAN
Positive #3— กำไรและสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งเปิดโอกาสการเติบโต
จากกลยุทธ์ของบริษัทที่ไม่เน้นการทำโปรโมชั่นด้านราคา เน้นการขยายสาขาอย่างมีคุณภาพ และเน้นการจัดการสินค้าตั้งแต่การออกแบบ การผลิต สินค้าคงคลังไปจนถึงหน้าร้าน ทำให้ TAN มีอัตราการทำกำไรที่สูง การเติบโตยังเกิดขึ้นได้จากทั้ง SSSG ช่องทาง Online และอัตราการทำกำไรที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจากความสามารถในการผลิตเงินสดจากการดำเนินงานที่ค่อนข้างสูง สถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและฐานข้อมูลของผู้บริโภคที่บริษัทฯ มีอยู่ เรามองว่าสิ่งนี้จะเป็นการช่วยเปิดโอกาศการเติบโตของ TAN ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขาและต่อยอดของแบรนด์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในไทยและต่างประเทศ หรือความสามารถในการจัดหาแบรนด์ใหม่ๆ เพื่อมาต่อยอดการเติบโตในอนาคตได้
Positive #4—ทีมผู้บริหารและพนักงานคือปัจจัยสำเร็จของแบรนด์
นอกจากบริษัทที่มีประสบการณ์ในธุรกิจสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นมาอย่างยาวนานแล้ว ทีมผู้บริหารและพนักงานถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการทำการตลาดและให้ประสบการณ์ของแบรนด์ที่เข้าใจความต้องการและลักษณะของผู้บริโภคในไทยเป็นอย่างดี เราจึงมองว่าความรู้ความเข้าใจตลาดตรงนี้ นอกจากจะส่งผลให้แบรนด์ของบริษัทฯ มีการเติบโตและเป็นที่รู้จักในไทยเป็นอย่างดี ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่บริษัท