บล.กรุงศรีฯ:

INVESTMENT STRATEGY – Fed ข้ามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.

What’s new

เป็นไปตามที่คาดไว้คณะกรรมการนโยบายการเงิน FOMC คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25 – 5.50% ในการประชุมครั้งล่าสุด คำแถลงล่าสุดชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงแข็งแรง แม้ว่าข้อมูลการจ้างงานจะเพิ่มขึ้นช้าลงก็ตาม  คณะกรรมการเชื่อว่านโยบายการเงินที่เข้มงวดจะกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจและอัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อ ๆ ไป แต่อ้างว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง นี่อาจหมายถึงการดำเนินนโยบายที่เข้มงวดยังคงอยู่ตามที่อยู่ตามปรากฏในการประมาณการ dot plot ล่าสุด ซึ่งอาจมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งก่อนสิ้นปีนี้

ขณะเดียวกัน FOMC ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์การเติบโตของ GDP เป็น 2.1% (จาก 1%) ในปี 2023 และเพิ่มเป็น 1.5% (จาก 1.1%) ในปี 2024 ส่งผลให้คาดการณ์อัตราการว่างงานในขณะนี้อยู่ที่ 3.8% (2023) และ 4.1% (2024) แทนที่จะเป็น 4.1% และ 4.5% ตามลำดับ หากมองในแง่บวก Fed คาดว่า PCE จะลดลงเหลือ 3.7% ภายในสิ้นปี ซึ่งต่ำกว่าประมาณการครั้งก่อนเล็กน้อยที่ 3.9% ทั้งนี้ Fed ไม่ปัดตกการชะลอตัวของเศรษฐกิจแบบ soft landing แต่นั่นไม่ใช่การคาดการณ์สำหรับกรณีฐาน

Analysis

การตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ภายใต้ความคาดหมายของเรา อย่างไรก็ตาม เราเห็นโอกาสมากขึ้นที่ Fed จะดำเนินการเข้มงวดเพิ่มเติมเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อให้บรรลุเป้าหมายที่ 2% โดยมีพื้นฐานมาจากราคาพลังงานทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากราคาน้ำมัน WTI ขยับไปที่ USD100/bbl (หรือสูงกว่า) ในปี 2024 Fed กล่าวว่าเส้นทางสู่ Soft Landing นั้นแคบลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาจมีการว่างงานมากขึ้นเพื่อควบคุมแรงกดดันด้านเงินเฟ้อภายใต้ราคาพลังงานที่สูงขึ้น มีการถกเถียงกันว่า อุปทานแรงงานที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการว่างงานที่สูงขึ้น ซึ่งอีกนัยหนึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงอุปสงค์ที่หดตัว อย่างไรก็ตาม ข้อมูลอัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานล่าสุด ระบุว่าการจ้างงานในกลุ่มวัยทำงาน 25 ปี – 55ปี กลับสู่จุดสูงสุดในช่วงก่อนเกิด Covid-19 แล้ว ในขณะที่การจ้างงานของผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ยังคงต่ำกว่าระดับก่อน Covid-19 ซึ่งหมายความว่าตลาดงานจะตึงตัว และค่าจ้างจะสูงขึ้นต่อไป จนกว่าจะมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้นด้านอัตราเงินเฟ้อ และการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน ทางด้านอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาว (long-date) มี แนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งในสถานการณ์นี้ เงินดอลลาร์สหรัฐจะยังคงเป็นสินทรัพย์ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน DXY Index อยู่ที่ 105 ถึงแม้ว่าสหรัฐฯ จะล้มเหลวชะลอตัวแบบ soft landing และมีภาวะถดถอยอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้ยังคงมีความต้องการดอลลาร์ที่แข็งแกร่ง ภาวะนี้ถือเป็นสัญญานไม่ดีต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่ รวมถึงไทยด้วย

- Advertisement -