บล.กรุงศรีฯ:

INVESTMENT STRATEGY – เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่เท่าเทียมกันในเดือนส.ค.

  • What’s new

รายงานเศรษฐกิจรายเดือนของธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) ยังคงอยู่ในภาวะผสมปนเปในเดือนสิงหาคม แม้ว่า BOT จะมีความเห็นเชิงบวกมากขึ้นก็ตามเศรษฐกิจด้านอุปทานอ่อนแอลงอย่างมาก โดยหดตัว 7.5% yoy เทียบกับ -4.7%จากเดือนก่อนหน้า ในขณะเดียวกัน การใช้กำลังการผลิตลดลงเหลือ 59.5% ยกเว้นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (รวมกันคิดเป็น 23.3% ของด้านอุปทาน) ขณะที่ภาคการผลิตในอุตสาหกรรมอื่นๆ หดตัว แม้ว่าภาคบริการจะยังคงแข็งแกร่งอย่างมากในเดือนสิงหาคม (+11.3% yoy) แต่การเติบโตก็ยังชะลอตัวลง เทียบกับช่วงครึ่งปีแรกภาคบริการขยายตัว 15.9% yoy ซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรมบริการทั่วโลกที่ชะลอตัว โมเมนตัมเชิงบวกในการใช้จ่ายของผู้บริโภคดูเหมือนว่าจะชะลอตัวลง โดยเติบโต 6.9% yoy จาก 7.3% ในเดือนกรกฎาคม ข้อมูลการลงทุนภาคเอกชนน่ากังวลเนื่องจากหดตัว 3.5% yoy จาก -1.3% ในเดือนกรกฎาคม

  • Analysis

ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดค่อนข้างผสมปนเปกัน แต่โมเมนตัมโดยรวมกำลังชะลอตัว เราได้ติดตามชุดข้อมูลหลักสองชุดอย่างใกล้ชิดเพื่อดูคำแนะนำเกียวกับทิศทางเศรษฐกิจในอนาคต: (i) ข้อมูลสัญญาณการฟื้นตัวของภาคการผลิต และ การค้าที่เริ่มมีเสถียรภาพ และ (ii) ความรวดเร็วของการหดตัวของภาคบริการต่อจากนี้ โดย ณ ขณะนี้มีสัญญาณบ่งชี้ว่ากิจกรรมการผลิตทั่วโลกกำลังมีเสถียรภาพ เช่น (i) คำสั่งซื้อใหม่ของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น (ii) ระดับสินค้าคงคลังที่ลดลง และอยู่ในระดับต่ำ (iii) การเต็บโตของการส่งออกที่แข็งแกร่งในเกาหลีใต้ และ (iv) อุปทานที่แข็งแรงขึ้นจาก จีน ขณะที่ภาคบริการของไทยรายรับจากการท่องเที่ยวจะยังคงช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วของภาคบริการทั่วโลกอาจเป็นอุปสรรคสำคัญในระยะถัดไป ประเด็นสำคัญคือเศรษฐกิจไทยยังคงต้องการมาตรการกระตุ้นทางการคลังจำนวนมากเพื่อรองรับการเติบโตในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งการดำเนินนโยบายต้องสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่กระทบต่อวินัยทางการเงินในปัจจุบันอย่างรุนแรง

- Advertisement -