บล.กรุงศรีฯ:

TECHNOLOGY SECTOR – เทคโนโลยีเบื้องหลัง digital wallet (POSITIVE)

เราได้จัดงาน “เทคโนโลยีเบื้องหลัง digital wallet” เมื่อวานนี้ โดยวิทยากรกล่าวว่าการใช้เทคโนโลยี blockchain กับโครงการ digital wallet 10,000 บาทเป็นนโยบายที่ท้าทายมาก เพราะยังมีประเด็นที่เป็นอุปสรรคอยู่อีกหลายประเด็น แต่อย่างไรก็ตาม วิทยากรหลายท่าน เชื่อว่าบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีจะได้อานิสงส์โดยตรง เนื่องจากการใช้จ่ายของรัฐบาลในด้านเทคโนโลยีจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

การใช้ blockchain ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง

เราจัดงานที่ใช้ชื่อว่า “เทคโนโลยีเบื้องหลัง digital wallet” เมื่อวานนี้ โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน blockchain และ IT หลายท่านมาร่วมเสวนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ น่าจะนำมาใช้ตามนโยบาย digital wallet ของรัฐบาลใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 เราพบว่าการใช้เทคโนโลยี blockchain ล้วน ๆ ซึ่งต้องพัฒนาจากฐานรากสุดขึ้นมามีข้อจำกัดหลายด้าน ได้แก่ (i) ต้องใช้เวลานานในการพัฒนาแอพฯ หรือ เทคโนโลยีที่สามารถรองรับผู้ใช้กว่า 50 ล้านคน ซึ่งอาจจะไม่ทันตามกำหนดในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 (ii) ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี (iii) เทคโนโลยี blockchain ในปัจจุบันสามารถรองรับได้ไม่เกิน 5 พันธุรกรรมต่อวินาที (tps) เท่านั้น ในขณะที่โครงการ digital wallet อาจจะต้องใช้ถึงประมาณ 1 หมื่น tps (iv) กฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)

มีความเป็นไปได้สามแนวทาง

วิทยากรที่ร่วมงานมองว่ามีความเป็นได้สามแนวทางสำหรับเทคโนโลยีที่จะใช้กับ นโยบาย digital wallet ได้แก่ (i) ใช้เทคโนโลยี blockchain ล้วน ๆ แต่แยกกันไปในแต่ละภาค (ii) ใช้แอพฯ ธนาคารทางโทรศัพท์ (mobile banking) อย่างเช่น เป๋าตัง เป็นช่องทางหลักในการชำระเงิน และใช้ blockchain เป็น E-KYC เพื่อตรวจสอบ ความถูกต้องของผู้ใช้และร้านค้า (iii) ใช้แอพฯ เป๋าตั้งเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ วิทยากรที่ร่วมงานเชื่อว่าทางเลือกที่สองมีความเหมาะสมมากที่สุดที่จะนำมาใช้ให้ทันตามกำหนดการของรัฐบาล

บริษัทเทคโนโลยีจะได้อานิสงส์โดยตรง เรายังคงให้น้ำหนักที่ OVERWEIGHT

วิทยากรเชื่อว่าหากรัฐบาลเลือกใช้ทางเลือกที่หนึ่ง และสองจะส่งผลดีต่อบริษัทเทคโนโลยีที่เราศึกษาอยู่ เพราะจะทำให้มีต้นทุนการลงทุนขนานใหญ่ถึงกว่า 3 หมื่นล้านบาท ในขณะที่บริษัทเทคโนโลยีมีรายได้ต่อปีที่ประมาณ 1.5-5 พันล้านบาท เราเชื่อว่าบริษัทเทคโนโลยีมีศักยภาพที่จะได้งานจากการลงทุนในโครงการ digital wallet เพราะจำเป็นต้องมีการใช้บริการที่หลากหลาย อย่างเช่น smart contract audit, cyber securities, system integration, data center a cloud

 

- Advertisement -