บล.ฟิลลิป:
ล่าสุด ธปท. ออกมาแถลง Monetary Policy Forum ครั้งที่ 3/66 โดยชี้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเน้นหลักการสำคัญ 3 ข้อ คือ
1.ทิศทางเศรษฐกิจข้างหน้า : การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวได้คำนึงถึงช่วงเวลาที่ส่งผ่านไปแล้ว โดยคาดระดับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันจะทำให้เห็นการฟื้นตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้การทำให้อัตราดอกเบี้ยมีการแกว่งตัวน้อย จะช่วยทำให้มีเสถียรภาพเชิงนโยบายมากกว่า
2.ความจำเป็นของนโยบายการเงินต่อเศรษฐกิจมีน้อยลง : อุปสงค์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มาจากการบริโภค และ การท่องเที่ยว ทำให้นโยบายการเงินมีบทบาทต่อเศรษฐกิจน้อย
3.การใช้อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานมีต้นทุน เช่น หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว การกระตุ้นการกู้ยืมเพิ่มอาจเป็นปัญหาในระยะยาว
ที่มา: Bank of Thailand (11 ต.ค. 2023)
โดยรวมมองการแสดงความเห็นในเชิงลดบทบาทของนโยบายการเงิน เป็นสัญญาณชี้ว่า นโยบายการเงินอาจเริ่มเห็นการหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันที่อยู่ในระดับต่ำ ธนาคารกลางเองได้ชี้นำว่า ในภาพเศรษฐกิจข้างหน้าฐานที่ต่ำจะช่วยให้เห็นการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นภาพรวมทางฝ่ายมอง อาจต้องเริ่มหวังกับ Real Sector ให้ค่อยๆฟื้นตัวขึ้น เนื่องจากหากเครื่องยนต์อื่น อย่าง การลงทุน การใช้จ่ายภาครัฐ ฟื้นตัวตามจะเริ่มเห็นการเร่งตัวของ GDP โดยมอง หาก เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว จะช่วยผลักดันการลงทุน ขณะที่การเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง ก็จะช่วยเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐซึ่งเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก สิ่งที่น่าจับตาใกล้ชิดในระดับ มหภาค คือ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย การใช้จ่ายของภาครัฐ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ การลงทุนของภาคเอกชน
มองหุ้นได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยเริ่มยุติวงจรขาขึ้น
1. กลุ่มอสังหาฯ: SIRI, ORI, SPALI, LH
2. กลุ่มไฟแนนซ์ : MTC, SAWAD, THANI, KTC
3. Bigcap : PTTEP, PTT, CPALL, BDMS, GULF
4.หุ้นที่มี Cost of debt สูง: BTS, BEM, SIRI, ORI, CK