บล.หยวนต้า (ประเทศไทย):

Tanachira Retail Corporation (TAN) ผู้นำกลุ่มธุรกิจไลฟ์สไตล์และแฟชั่นในไทย

Action BUY (Initiate)

  • TP upside (downside) +39.4%
  • IPO Price (THB) 16.50
  • 12M Target (THB) 23.00

What’s new?

  • TAN ดำเนินธุรกิจค้าปลีกสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่น ปัจจุบันมีแบรนด์ดังระดับโลกในมือมากมาย เช่น PANDORA, MARIMEKKO, CATH KIDSTON, HARNN เป็นต้น
  • รายได้กว่า 50% มาจากแบรนด์ PANDORA และหากแบ่งตามช่องทางการจัดจำหน่าย 87% มาจากการขายผ่านช่องทางหน้าร้าน

Our view

  • อุตสาหกรรมค้าปลีกฟื้นตัวแข็งแกร่งหลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย ได้แรงหนุนจากกำลังซื้อที่ผ่านช่วงเปราะบางไปแล้ว รวมถึงได้แรงหนุนจากการเติบโตของตลาด E-COMMERCE
  • คาดอัตราการเติบโตเฉลี่ยกำไร 3 ปี (ปี2565-2568F) CAGR ที่ 38.1%
  • เราประเมินมูลค่าพื้นฐานในปี 2567 ด้วยวิธี PER Multiple โดยใช้ PER ที่ 25.20 เท่า ได้ราคาเหมาะสมสิ้นปี 67 ที่ 23.00 บาท/หุ้น

ประสบการณ์มากกว่า 13 ปีในอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์และแฟชั่น

TAN เริ่มดำเนินธุรกิจค้าปลีกสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่น โดยนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นจากต่างประเทศที่มีชื่อเสียงระดับโลก เพื่อจัดจำหน่ายในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งเริ่มจากปี 2553 โดยนำเข้าแบรนด์แพนดอร่า “Pandora” เข้ามาจัดจำหน่ายหลังจากนั้นใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีก้าวมาเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจค้าปลีกสินค้าไลฟิสไตล์และแฟชั่นในประเทศไทย และปัจจุบันมีแบรนด์ดังระดับโลกอยู่ในพอร์ตโฟลิโอมากมาย เช่น แบรนด์มารีเมกโกะ “Marimekko”, แบรนด์แคท คิดสตัน “Cath Kidston” และแบรนด์ในกลุ่มหาญ (HARNN) โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็น Y-W-N หรือ Youth-Women-Netizens ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั้งผู้หญิงวัยรุ่น และกลุ่มวัยทำงานที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง ที่มีความชื่นชอบในสินค้าไลฟ์สไตล์แฟชัน ให้ความสำคัญกับคุณภาพ และไม่กังวลเรื่องราคา

อุตสาหกรรมค้าปลีกฟื้นตัวแข็งแกร่ง

อัตราการว่างงานใน 2Q66 ของไทยชะลอตัวลงเหลือ 1.1% จาก 1.7% และ 1.9% ในปี 2563 และ 2564 ตามลำดับ และอัตราเงินเพ้อทั่วไป 7M66 ลดลงอยู่ระดับ +2.1% YoY จากปี 2565 ที่สูงถึง 6.3% หลังได้รับผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 24 ปี และดัชนี้ทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น 1) ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Indicators) ฟื้นตัวต่อเนื่อง 2) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย.66 อยู่ที่ระดับ 56.7 ปรับตัวขึ้นดีต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 และสูงสุดในรอบ 40 เดือน ปัจจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงกำลังซื้อภายในประเทศที่ผ่านช่วงที่เปราะบางที่สุดไปแล้ว ขณะที่พฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเน้นความสะดวกในการซื้อของออนไลน์จะสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งสำหรับการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ (E-Commerce) ตลาดค้าปลีกจะได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของ E-Commerce คาดว่าจะสูงถึง 4,914.7 ล้านล้านบาทในปี 2569 โดยหมวดแฟชั่นมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR)ในช่วงปี 2564-2569 ที่ 18.3% ณ สิ้นปี 2565 TAN มีสัดส่วนรายได้จาก E-Commerce 12.9% ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก

3 ปีข้างหน้า ประเมินกำไรเติบโตเด่น 38.1% CAGR

เราคาดกำไรสุทธิมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 3 ปีข้างหน้า (2565-2568F) ที่ 38.1% ต่อปี จากการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศและภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้ 1) รายได้ทุกกลุ่มธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง ทั้งยอดขายผ่านช่องทาง Online และ Offine โดยเฉพาะแบรนด์ HARNN 2) อัตรากำไรขั้นต้นที่ปรับตัวดีขึ้นเป็น 63.3% และ 63.7% YoY ตามลำดับ จากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ที่ระดับ 55.9% เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย การกลับมาดำรงชีวิตปกติ ส่งผลให้บริษัทไม่ต้องมีการจัดโปรโมชั่นสูงเหมือนก่อนหน้า และสัดส่วนรายได้จาก HARNN ซึ่งมี GPM สูงเพิ่มขึ้นเราประเมินมูลค่า TAN ด้วยวิธี PER Multiple โดยใช้ PER2567 ที่ 25.20 เท่า ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมค้าปลีก สินค้าไลฟิสไตล์ในไทย ได้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2567 ที่ 23.00 บาท/หุ้น

 

- Advertisement -