บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):
Hana Microelectronics PCL (HANA.BK/HANA TB)*
ประมาณการ 3Q66F: กำไรจะลดลงทั้ง YoY และ QoQ
Event
เราคาดกำไรจากธุรกิจหลักของ HANA ใน 3Q66 จะอยู่ที่ 678 ล้านบาท (-20% YoY, -10% QoQ) ทำให้กำไร จากธุรกิจหลักในงวด 9M66 อยู่ที่ 1.7 พันล้านบาท (-7% YoY) คิดเป็น 87% ของประมาณการกำไรเต็มปี
Impact
ยอดขายอาจจะดีขึ้น
เนื่องจาก i) ยอดขาย semiconductor ทั้งโลกเพิ่มขึ้น MoM ติดต่อกันมา 6 เดือนแล้ว (จากเดือนมีนาคมถึง สิงหาคม 2566) ในขณะที่การหดตัว YoY ก็แคบลง และ ii) การส่งออก smartphone ทั้งโลกน่าจะผ่านจุดต่ำสุด ไปแล้วใน 2H66 ดังที่ทีมวิจัย KGI Taiwan ระบุไว้ในบทิวเคราะห์ IT Hardware: Spotlight on iPhone 15 amia gradual smartphone demand recovery ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 ว่าอุปสงค์ที่อ่อนแอของ smartphone ทั้งโลกใน 1H66 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว และน่าจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวขึ้นใน 2H66 จากการผลิตที่ราบรื่นของ iPhone 15 นอกจากนี้ ทางทีมวิจัย KGI Taiwan ยังคาดว่ายอดส่งออก smartphone ทั้งโลกจะลดลง 8% YoY ในปี 2566F ก่อนที่จะกลับมาเพิ่มขึ้น 4.5% YoY ในปี 2567F เราคาดว่ายอดขายของ HANA จะฟื้นตัวขึ้นใน 3Q66 เป็น 7 พันล้านบาท (-7% YoY, +2% QoQ) แต่หากไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน เรา คาดว่ายอดขายใน 3Q66 จะอยู่ที่ 201 ล้านดอลลาร์ฯ (-3% YoY, +0.4% QoQ) ซึ่งจะทำให้ยอดขายในงวด 9M66 อยู่ที่ 592 ล้านดอลลาร์ฯ (+2% YoY) และคิดเป็น 74% ของประมาณการกำไรเต็มปีของเรา
คาดว่า GPM จะลดลง
เราคาดอัตรากำไรขั้นต้นใน 3Q66 จะอยู่ที่ 14.3% (-110bps YoY, -70bps QoQ) โดยอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลง YoY จะเป็นเพราะเงินบาทแข็งค่าขึ้น และยอดขายลดลง YoY ในขณะเดียวกัน อัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลง QoQ เป็นเพราะปัจจัยด้านฤดูกาล และกลุ่ม IC อ่อนแอลง (จากความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน) ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยใน 3Q66 อยู่ที่ 35.10 บาท/ดอลลาร์ฯ จาก 36.50 บาท/ดอลลาร์ฯ ใน 3Q65 และ 34.60 บาท/ดอลลาร์ฯ ใน 2Q66 ซึ่งจะทำให้อัตรากำไรขั้นต้นในงวด 9M66 อยู่ที่ 12.8% (-70bps YoY)
เพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General mandate) ให้กับบุคคลในวงจำกัด (Private placement) ที่ราคา 57.00 บาท
คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการออกและจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 80.5 ล้านหุ้น (มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท) ให้แก่นักลงทุนสถาบันจำนวน 25 ราย ในราคาเสนอขายหุ้นละ 57.00 บาท โดยวัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุน คือ เพื่อใช้ลงทุนในอุปกรณ์เครื่องจักร สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ซิลิคอนคาร์ไบด์ของบริษัทพาวเวอร์ มาสเตอร์ เซมิคอนดักเตอร์ จำกัด และลงทุนในอุปกรณ์เครื่องจักรในการผลิตอื่นๆ เพื่อขยายธุรกิจหลักของบริษัท ธุรกรรมนี้ทำให้เกิดผลกระทบกับ EPS (dilution effect) ประมาณ 9% หากประมาณการกำไรไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งหาก PER ไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน จะส่งผลให้ราคาเป้าหมายปรับลดลงประมาณ 9% อย่างไรก็ตาม ประมาณการกำไรปัจจุบันของเรามี upside ประมาณ 10-15% เนื่องจากกำไร 9 เดือนแรก คิดเป็น 87% ของประมาณการทั้งปี ซึ่งจะทำให้ผล dilution effect จากการเพิ่มทุนถูกหักล้างไปกับ upside ของประมาณการกำไร
Valuation & action
เราคงคำแนะนำ “ถือ” ด้วยราคาเป้าหมายสิ้นปี 2567 จาก 56.00 บาท อิงจาก PER ที่ 20.0x (ค่าเฉลี่ยในอดีต +0.75 S.D.)
Risks ภัยธรรมชาติ, มีการปิดโรงงานนอกแผน, ลูกค้าเปลี่ยนไปสั่งสินค้าจาก supplier รายอื่น, ขาดแคลนวัตถุดิบ, เงินบาทแข็งค่าขึ้น (เราใช้สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนปี 2566-67F ที่ 33.80 บาท/ดอลลาร์ฯ)