บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):
PFund-REITs-IFF การลงทุนในช่วงตลาดเกิดมีมรสุม
Event
กลยุทธ์การลงทุนในสถานการณ์ปัจจุบัน
Key highlights
ตลาดทั้งระบบยังมีความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic risk) อยู่
เราคิดว่า ภาพรวมตลาดในปัจจุบันเผชิญกับความไม่แน่นอนมาต่อเนื่องตลอดเดือน โดยมีปัจจัยลบจาก i) อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นต่อเนื่อง ii) ผลตอบแทนจากพันธบัตร (bond yield) สูงขึ้น และ iii) สงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสที่ฉนวนกาซายืดเยื้อ กรณีดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดความเสี่ยงของตลาดที่เป็นระบบ (Market risk) สูงขึ้นตามทฤษฏีการเงิน ทั้งนี้ ในด้านความเสี่ยงของตลาดจะมีความเกี่ยวข้องกับความไม่แน่อนในการตัดสินใจการลงทุน ขณะที่ความผันผวนของราคาเกิดขึ้นบ่อยครั้งจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิดมาก่อน โดยปกติจะส่งผลต่อตลาดการเงินทั้งระบบ ดังนั้น มีความจำเป็นที่นักลงทุนควรเฝ้าติดตามปัจจัยด้านมหภาคหลายประการ รวมทั้งภาวะตลาดการเงิน เช่น ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และสถานะของดุลการชำระเงิน ภาวะงบประมาณขาดดุล และปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ เป็นต้น
กลยุทธเพื่อลดความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของตลาด
เนื่องจากมีปัจจัยที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนอยู่หลายประการ นักลงทุนควรตระหนักถึงความเสี่ยงตลาดทั้งระบบและบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเลือกลงทุนจากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และค่อนข้างมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (dividend yield) สูง ทั้งนี้ เราคิดว่าการลงทุนใน PFund-REITs-IFF ถือว่าได้รับ dividend yield สูงเหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการหลีกเลี่ยงจากความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ยสูง หากมองไปข้างหน้า หากตลาดคาดว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ใกล้จุดสูงสุดแล้ว จะเป็นโอกาสเหมาะที่จะกลับลงทุนในกองทุนอีกครั้ง
ยังยึดหลักเกณฑ์การลงทุนเดิมในการคัดกองทุน
ในมุมมองเรา เกณฑ์การลงทุนเดิมสำหรับ PFund-REITs-IFF ยังเป็นกลยุทธที่เหมาะสมในปีนี้ท่ามกลางความเสี่ยงตลาดสูงขึ้น โดยในภาพรวม เราคิดว่ากองทุนที่เราแนะนำในหมวดนี้มีจุดแข็งหลากหลายในธุรกิจเพราะว่ามีสัญญาผูกพันระยะยาว (เช่นหมวดการสื่อสารและหมวดนิคมอุตสาหกรรม) ซึ่งบ่งชี้ว่ามีความผันผวนต่ำ ด้านการรับรู้รายได้ในระยะยาว ดังนั้น กองทุนส่วนใหญ่จะมีกระแสเงินสดที่แข็งแกร่งและการจ่ายเงินปันผลมีเสถียรภาพ ซึ่งเห็นได้จากตัวอย่างในอดีตหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เรายังยึดเกณฑ์การลงทุนใน PFund-REITs-IFF ได้แก่ i) dividend yield ค่อนข้างสูง ii) ราคามี discount จาก NAV iii) แนวโน้มธุรกิจดีในระยะยาว และ iv) ได้รับผลกระทบด้านลบน้อยกว่าจากปัจจัยลบภายนอก
คาดกองทุนที่แข็งแกร่งยังคงมีผลการดำเนินงานดีใน 3Q66
แม้ว่าสถานการณ์ตลาดยังไม่เอื้อต่อการลงทุน เราคิดว่ากองทุนในหมวดนี้ยังสามารถรักษากำไรในภาพรวมที่ดีในแต่ละไตรมาส โดยเฉพาะกองทุนที่มีสัญญาผูกพันระยะยาว หรือโมเมนตัมบวกจากแนวโน้มธุรกิจดีขึ้น นอกจากนั้น กองทุนที่มีการจ่าย DPU รายไตรมาส คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินปันผลได้ใน 3Q23 ตามการประกาศผลการดำเนินงานดี เมื่อพิจารณาจาก DPU ใน 1H66 โดยการปรับ DPU ให้เต็มปี (annualized DPU) ในกองทุนที่เราแนะนำจะมี DPU สูงน่าสนใจอยู่ที่ 6.4% ถึง 12.1% เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินของไทยที่ 2.5% อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย 10-year ที่ 3.3% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10-year ในปัจจุบันอยู่ที่ 4.8%
Recommendation
ในที่สุดแล้ว เรายังคงเลือกกองทุนเด่น ที่ประกอบด้วย i) กองทุนแถวหน้าที่เราแนะนำ ได้แก่ DIF, WHAIR และ AMATAR และ ii) กองทุนระดับรอง คือ ALLY, GROREIT, CPNREIT และ BTSGIF.
Risks
COVID-19 ระบาด, เศรษฐกิจชะลอตัวลง และ ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง