บล.บัวหลวง:
ฝังอุปทาน MPI ปรับตัวลง แต่รายได้เกษตรกรปรับตัวขึ้น และฝั่งอุปสงค์ PCI และ CCI ก็ปรับตัวขึ้นเช่นกัน หากมองไปข้างหน้าการท่องเที่ยวและการส่งออกจะหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/66
อุตสาหกรรมแย่ แต่เกษตรกลับมาแล้ว
ดัชนีผลผลิตอุสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ย. หดตัว 6.1% YoY (เทียบกับหดตัว 7.5% ในเดือนก่อน) กดดันจากผลผลิตกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์แต่รายได้เกษตรกรปรับตัวขึ้น 3.5% YoY หนุนจากราคาหน้าฟาร์มที่ปรับตัว ขึ้น 1.5% YoY (โดยราคาพืชผลที่สูงขึ้นกลบราคาเนื้อสัตว์ที่ลดลง) และผลผลิตที่มากขึ้น 2% YoY
หากมองไปในไตรมาส 4/66 เราคาดรายได้เกษตรกรจะปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง YOY จากราคาพืชผลที่สูงขึ้น (น้ำตาล ยางและข้าว) ซึ่งน่าจะกลบผลกระทบของราคาเนื้อสัตว์ที่ลดลง ขณะที่ MPI น่าจะติดลบ YoY น้อยลงในเดือน ต.ค. จากฐานที่ต่ำในปีก่อน
การบริโภคภาคเอกชนและความเชื่อมั่นดีขึ้น แต่การลงทุนลดลง
ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกซน (PCI) ปรับตัวขึ้น 6.3% YoY และเราคาดจะยังคงแข็งแกร่งตลอดไตรมาส 4/66 หนุนจากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางปี บ่งบอกถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้ามการลงทุนภาคเอกซนลดลง 3.4% YoY (โดยหลักจากรถใหม่ที่น้อยลงถึง 31% YoY) การส่งออกน่าจะปรับตัวขึ้น YoY ในไตรมาส 4/66 อิงจากฐานที่ต่ำในไตรมาส 4/65 และภาพรายได้เกษตรกรที่แข็งแกร่ง น่าจะหนุนให้การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นบ้างในไตรมาส 4/66
มาตรการภาครัฐยังไม่แน่นอน
อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2566 (เดือน ต.ค. 2565 – ก.ย. 2566) อยู่ที่ 94.2% ลดลงเล็กน้อยจาก 94.6% ในปี 2565 ขณะที่การเบิกจ่ายงนลงทุนอยู่ที่ 72% (เทียบกับ 69.4% ในปี 2565) สังเกตว่าประมาณการการเติบโตของ GDP ของเราปี 2566 ที่ 2.7% และปี 2567 ที่ 3.8% ได้สะท้อนการล่าช้าการอนุมัติงบประมาณที่ล่าช้าไปแล้ว
ดุลบัญชีเดินสะพัดออกมาเกินดุลอย่างมาก
บัญชีเดินสะพัดออกมาเกินดุลที่ 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นเดือน ก.ย. (เทียบกับที่เกินดุล 401 ล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นเดือน ส.ค.) เนื่องจากดุลการค้าที่เกินดุลอย่างมาก ทั้งนี้เราก็คาดว่าไตรมาส 4/66 จะยังคงเห็นตัวเลขที่เป็นการเกินดุลอยู่ หนุนจากการเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นของการท่องเที่ยว (แต่มีความเสี่ยงหากราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นแรงกว่าที่เราคาดปัจจุบัน)