บล.ทิสโก้:

หุ้นใหม่เข้าตลาด: บริษัท เอส.ซี.แอล.มอเตอร์พาร์ท จำกัด (มหาชน) (SCL)

ลักษณะธุรกิจ : ผู้จัดจำหน่ายอะไหล่รถยนต์แบบครบวงจร ทั้งผลิตภัณฑ์อะไหล่รถยนต์ภายใต้ตราสินค้าของค่ายรถยนต์ เช่น ISUZU, MITSUBISHI, TOYOTA, HONDA, FUSO, FORD, NISSAN และ CHEVROLET และอะไหล่ทดแทนที่ได้มาตรฐานของผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ที่ได้รับการยอมรับ เช่น AISIN, KAYABA, EXEDY, DENSO และ TOKICO รวมถึงผลิตภัณฑ์อะไหล่แท้ของกลุ่มรถบรรทุกหัวลาก เช่น FUSO และ HINO ซึ่งบริษัทมีการจำหน่ายอะไหล่ในหลายค่ายรถยนต์ที่ได้รับความนิยมในประเทศ รวมทั้งเป็นผู้จัดจำหน่ายให้ SUZU มายาวนานกว่า 50 ปี โดยผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ที่จัดจำหน่ายมีความหลากหลายมากกว่า 167,000 รายการ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์อะไหล่ในทุกระบบที่สำคัญของรถยนต์ และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามากกว่า 1,600 รายครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย

โครงสร้างรายได้ของบริษัท

Source: SCL

หมายเหตุ: รายได้อื่น เช่น ดอกเบี้ยรับ กำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน เงินเยียวยาและเงินอุดหนุนนายจ้างที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

แบรนด์สินค้าที่บริษัทได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการจากเจ้าของผลิตภัณฑ์

Source: SCL

ความเห็นของเรา :

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์มีการแข่งขันที่สูง มีผู้ประกอบการจำนวนมาก รวมทั้งอาจต้องใช้กลยุทธ์ในด้านราคาเพื่อชิงส่วนแบ่งทางการตลาดและเพิ่มรายได้ ขณะที่สินค้าที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ โดยสินค้าอะไหล่ทดแทนมีตัวเลือกที่มีความหลากหลายทั้งคุณภาพและราคา ซึ่งบริษัทมีจุดแข็งในการจัดจำหน่ายสินค้าทั้งของค่ายรถยนต์และอะไหล่ทดแทน พร้อมกับได้รับความไว้วางใจและการยอมรับทั้งจากค่ายรถยนต์ที่เชื่อมั่นในบริษัทจนแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ และลูกค้าธุรกิจที่ซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่มั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์อะไหล่รถยนต์ของบริษัทภายใต้สโลแกน “ถูกทุกชิ้น แท้ทุกส่วน” รวมทั้งการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็วทั่วประเทศไทยในช่วง 1-2 ปี บริษัทมีแผนขยายคลังสินค้าเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถจัดเก็บสินค้าเตรียมความพร้อมได้การจัดจำหน่ายได้มากขึ้น ดังนั้นการระดมทุนในครั้งนี้จึงมีความเหมาะสม แต่มีปัจจัยที่ต้องติดตามต่อในด้านการชำระเงินกู้ยืม

ระยะสั้นมองว่า รายได้จะทยอยฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ ปริมาณรถยนต์สะสมที่เพิ่มขึ้น และจำนวนรถที่อายุมากกว่า 5 ปีมีจำนวนมากขึ้นเป็นผลดีต่อความต้องการใช้อะไหล่รถยนต์ โดยสัดส่วนรายได้หลักของบริษัทมาจากการจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ภายใต้ตราสินค้าของค่ายรถยนต์ขณะเดียวกันการจำหน่ายอะไหล่ทดแทนเริ่มเพิ่มมากขึ้น (+19.02% YoY) จากการขยายตลาดของลูกค้าในกลุ่มศูนย์บริการรถยนต์ทั่วไปประเภทเร่งด่วน (Fastit) ขณะที่ระยะยาวต้องติดตามการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งในส่วนของรถยนต์บุคคลและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ โดยเฉพาะในรถกระบะและรถบรรทุก ซึ่งส่งผลโดยตรงกับรายได้ของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ

บริษัทมีนโยบายในการเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นผ่านการจำหน่ายชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ทดแทนมากยิ่งขึ้น รวมถึงการขยายขอบเขตของกลุ่มผลิตภัณฑ์ไปยังชิ้นส่วนอะไหล่ของยานพาหนะชนิดอื่น ซึ่งจะส่งผลดีต่ออัตรากำไรของบริษัทในระยะยาว โดยปี 2566 บริษัทได้รับการแต่งตั้งเป็น ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์อะไหล่รถเพื่อการเกษตรของ CLAAS ในประเทศไทยจาก CLAAS Global Sales GmbH ประเทศเยอรมนี จึงมองว่าในระยะยาวอัตรากำไรของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้นได้ จากการเพิ่ม Portiolio ไปยังผลิตภัณฑ์อื่นมากขึ้น แต่ต้องติดตามเรื่องการเปลี่ยนแปลงสู่รถยนต์ไฟฟ้าด้วย ส่วนระยะสั้นอัตรากำไรจะถูกกดดันจากต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่สูงขึ้น จากการทำโปรโมชั่นและ ค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนยอดขาย

ปัจจัยที่ต้องติดตามต่อ : 1) การปรับตัวของบริษัทสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้า 2) การชำระหนี้ของบริษัท

ความเสี่ยง : 1) การแข่งขันที่รุนแรง 2) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า 3) การพึ่งพิงผลิตภัณฑ์อะไหล่ของ ISUZU จากการประเมินมูลค่าเบื้องต้นด้วยวิธี PER ผู้จัดจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ทั้งใน SET และ MAI ที่ 18 เท่า ได้มูลค่าเหมาะสมเบื้องต้นราว 1.76 บาท

โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่

ก่อน IPO

หลัง IPO

1. นายสกล ตั้งก่อสกุล

41.32%

29.75%

2.นายวรพงศ์ ตังก่อสกุล

26.74%

19.25%

3.นางชฎาพิมพ์ อุดมสรยุทธ

12.50%

9.00%

4.นายณัฐพล ตั้งก่อสกุล

11.11%

8.00%

5.นายสันติ ตั้งก่อสกุล

8.33%

6.00%

รวมผู้ถือหุ้นเดิม

100.0%

72.00%

หุ้น IPO

28.00%

รวม

100.0%

100.0%

Source: SCL

ข้อมูลทางการเงิน
2020
2021
2022
1H/2023 (6M)
รายได้รวม (ล้านบาท)

678.84

997.981110.69

595.88

กำไรสุทธิ (ล้านบาท)

22.03

27.3239.91

11.78

FD EPS (บาท)

0.09

0.110.16

0.05

FD BV (บาท)

0.80

0.890.97

0.82

Source: SCL

- Advertisement -