บล.ฟิลลิป

ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป – TU 3Q66 เห็นการฟื้นตัว

Key Point

การลดขนาดธุรกิจในสหรัฐฯ เห็นผลใน 3Q66 ทำให้กำไรก่อนรายการพิเศษเติบโตทั้ง y-y และ q-q และราคาทูน่าปรับตัวลดลง เป็นสัญญาณที่ดีต่อ TU ช่วยให้ลูกค้า OEM กลับมาสั่งซื้อเพิ่ม พร้อมทั้งมีต้นทุนที่ถูกลง (ในลูกค้าประเภทแบรนด์) ส่วนธุรกิจ Frozen คาดทำรายได้ได้ต่อเนื่อง Red lobster อยู่ในช่วง low season และต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ทำให้ปรับประมาณการขาดทุนปี 66 เพิ่ม ราคาพื้นฐานปี 67 ที่ 14.00 บาท คงคำแนะนำ “ซื้อ”

3Q66 เห็นการฟื้นตัว

ในปีนี้มีการลดระดับสต๊อคของลูกค้าและราคาทูน่าอยู่ในระดับสูง ทำให้ลูกค้ามีการชะลอคำสั่งซื้อออกไป และรายได้การขนส่งที่ลดลงจากค่าระวางเรือปรับตัวลงสู่ภาวะปกติ ทำให้ 9M66 มีกำไรสุทธิ 3,256 ลบ. -44.8%y-y แต่เห็นภาพการฟื้นตัวตั้งแต่ 3Q66 ที่ทำ GPM ได้ดีขึ้น y-y และ q-q โดยหลักมาจากการลดขนาดธุรกิจ Frozen ในสหรัฐฯ ตัดสินค้าที่ไม่ทำกำไรออกไป ทำให้มีกำไรก่อนรายการพิเศษ 1,568 ลบ. หากหักผลกระทบของ ITC dilution จำนวน 324 ลบ. ในช่วง 3Q65 ให้มีสัดส่วนการถือครองที่ 78.8% เท่ากันกับปีนี้ จะทำให้เติบโตที่ +4.6%y-y +14.7%ๆ-q เนื่องจาก GPM ส่วนของ TU ปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าส่วนของ ITC ทั้ง y-y และ q-q

คาด 4Q66 กำไรก่อนรายการพิเศษฟื้นตัว q-q

ราคาทูน่าเริ่มมีการปรับตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง ปัจจุบันอยู่ที่ 1,600 USD/ton คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำไปอีก 2-3 เดือน ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ TU ในธุรกิจ Ambient ที่มีสัดส่วนรายได้ถึง 48% แม้ TU จะมีการกำหนดราคาขาย อิงตามราคาตลาดในส่วนของลูกค้า OEM แต่จะแลกมากับปริมาณขายที่จะเพิ่มขึ้น และเริ่มเห็นสัญญาณลูกค้า OEM เริ่มกลับมาซื้อเพิ่มบ้างแล้ว ซึ่งลูกค้า OEM มีสัดส่วนรายได้เยอะกว่าลูกค้าประเภทแบรนด์ ประกอบกับช่วงสิ้นปีเป็น high season ของธุรกิจ Frozen และปัจจุบันราคากุ้งปรับตัวขึ้นจากดีมานด์ที่เพิ่มคาดว่ายังคงทำรายได้ดีต่อเนื่อง คาด 4Q66 รายได้รวมเพิ่มขึ้น q-q แต่อาจมี GPM ลดลง q-q คาดเห็นกำไรก่อนรายการพิเศษที่ฟื้นตัว q-q แต่ยังเห็นการอ่อนตัว y-y, กำไรสุทธิยังขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด

Red lobster อยู่ในช่วง low season

Red lobster ปรับประมาณการขาดทุนเพิ่มเป็น 700 ลบ. จากต้นทุนวัตถุดิบกุ้งและค่าแรงที่สูงขึ้น ยังคงทำให้ 4Q66 จะต้องมีขาดทุนอีก 332 ลบ. แต่ยังลดลงกว่าช่วง 3Q66 ซึ่งโดยปกติไตรมาส 3-4 จะเป็นช่วง Low season

ระดับหนี้ยังต่ำ ยังคงเพิ่มการลงทุนได้ต่อเนื่อง

Net D/E 0.65 เท่า สูงขึ้นจากต้นปี จากการจ่ายปันผลโครงการซื้อหุ้นคืน เป็นหลักที่ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่ 1.0 เท่า ทำให้ยังสามารถจัดหาแหล่งเงินกู้เพื่อลงทุนเพิ่มได้อีกทำให้ปี 67 จะเน้นการลงทุนในแบรนด์ฝั่ง อเมริกา, อังกฤษ และฝรั่งเศส รวมถึง ธุรกิจ Frozen ที่ลดขนาดลง ตัดสินค้าที่ไม่ทำกำไรออกไป ทำให้ส่วนธุรกิจนี้มี GPM ที่ดีขึ้น คาดปี 67 เติบโตได้ดีจากฐานปี 66 ที่ต่ำในช่วงครึ่งปีแรก

ราคาพื้นฐานปี 67 ที่ 19.00 บาท/หุ้น อิง P/E 14.6 เท่า

ทางฝ่ายประเมินราคาหุ้น โดยใช้ P/E เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ปรับลดลงอยู่ที่ 14.6 เท่า ให้สอดคล้องกับภาพตลาดฯ คาดกำไรสุทธิปี 67 ที่ 6,051 ลบ. +23.4%y-y, ราคาพื้นฐานปี 67 อยู่ที่ 19.00 บาท/หุ้น คงคำแนะนำ “ซื้อ”

ความเสี่ยง

  1. เกิดโรคระบาดในวัตถุดิบที่นำมาผลิต
  2. ความผันผวนของราคาวัตถุดิบส่งผลต่อต้นทุนการผลิตให้สูงขึ้น
  3. กฎระเบียบการนำเข้าของคู่ค้าในประเทศต่างๆ
- Advertisement -