บล.ฟินันเซีย ไซรัส:
PYLON (PYLON TB) ยังเผชิญความยากลําบาก เน้นประคองตัว
- รายงานกําไร 3Q23 อ่อนแอ -62% q-q, -90% y-y สาเหตุจากช่วงรอยต่อของงาน
- การประชุม Opp. Day โทนเป็นลบ มีความท้าทายจากทั้งการหางานและการแข่งขัน ขณะที่เราปรับลดประมาณการปี 2023-2025 ทิศทางยังทรงตัวตํ่า
- ปรับไปใช้ราคาเหมาะสมปี 2024 ที่ 2.70 บาท ยังแนะนําเพียงถือ
กําไร 3Q23 หดตัวแรง q-q, y-y จากรายได้และอัตรากําไรขั้นต้นลดลง
PYLON รายงานกําไรสุทธิ 3Q23 เท่ากับ 4 ล้านบาท (-62% q-q, -90% y-y) อ่อนแอกว่าที่เราและตลาดคาดว่าจะฟื้นตัว q-q สาเหตุจากรายได้หดตัว -23% q-q, -9% y-y อยู่ที่ 237 ล้านบาท หลังส่งมอบงานใหญ่ อาทิ โครงการ Northpole ในช่วง 1H23 และงานใหม่ยังไม่สามารถเข้ามาเติมได้ทัน ขณะที่อัตรากําไรขั้นต้นปรับลดเป็น 10% จาก 12.1% ใน 2Q23 และ 24.5% ใน 3Q22 จากอัตราการใช้เครื่องจักรที่ลดลงเป็น 8-9 ชุด (เทียบกับ 2Q23 จํานวน 10 ชุด และ 3Q22 จํานวน 13-15 ชุด) รวมถึงถูกกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรงท่ามกลางปริมาณงานในตลาดซบเซา
การประชุมโทนลบ เผชิญความยากลําบากจากทั้งการหางานและแข่งขันสูง
การประชุม Opportunity day วันที่ 24 พ.ย. ค่อนไปโทนลบ ผู้บริหารมองว่าในช่วง 1-2 ปีนี้ ยังเผชิญความยากลําบากต่อการหางานและการแข่งขันสูง แม้ปี 2024 ภาพเป็นบวกมากขึ้นจากปี 2023 แต่ยังไม่กลับไปเท่าภาวะปกติ โดยการลงทุนภาครัฐยังไม่มีความชัดเจน ส่วนภาคเอกชนทยอยดีขึ้นแต่ยังรอความเชื่อมั่นจากภาครัฐ ขณะที่งานในมือปัจจุบันที่ 725 ล้านบาท (ไม่รวมรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 400 ล้านบาท ซึ่งกรอบเวลายังไม่ชัดเจน) หลักๆ เป็นภาคเอกชน 94% ส่วนใหญ่เป็นงานคอนโด อาทิ โครงการ Wan Vayla Na Chao Phraya (มูลค่า 200 ล้านบาท) โดยจะทยอยรับรู้ถึงกลาง 1Q24 ส่วนงานขนาดใหญ่ที่คาดเข้าประมูลในอนาคต อาทิ รถไฟฟ้าสีส้มตะวันตก, Makkason Complex, ทางด่วน M9 (บางบัวทอง-บางปะอิน), สนามบินอู่ตะเภา
ปรับลดประมาณการปี 2023-25 งานในตลาดยังไม่ฟื้นชัดและการแข่งขันสูง
เราปรับประมาณการกําไรปี 2023-2025 ลง 30-40% เป็น 96 ล้านบาท (-20% y-y), 97 ล้านบาท (+1% y-y) และ 103 ล้านบาท (+6% y-y) ตามลําดับ สาเหตุหลักจากปรับลดอัตรากําไรขั้นต้นอย่างระมัดระวัง ขณะที่กําไร 4Q23 เบื้องต้นคาด 15-20 ล้านบาท ฟื้นจากฐานตํ่าที่ 3-4 ล้านบาทใน 2Q23 และ 4Q22 หลังเริ่มงานใหม่และอัตราการใช้เครื่องจักรสูงขึ้นเป็น 13-14 ชุด โดยส่วนใหญ่เป็นงานเอกชนขนาดเล็กซึ่งมาร์จิ้นไม่สูง
ปรับไปใช้ราคาเป้าหมาย 2.70 บาท หุ้นขาดความน่าสนใจ แนะนําเพียงถือ
เราปรับไปใช้ราคาเหมาะสมปี 2024 ที่ 2.70 บาท อิง PER 21x (เทียบเท่าค่าเฉลี่ยในอดีต -0.75SD) คงคำแนะนำถือ ราคาหุ้นปัจจุบัน Upside จำกัด ประกอบกับหุ้นขาดความน่าสนใจจากผลประกอบการทรงตัวต่ำ และการผลักดันโครงการประมูลของภาครัฐ ยังไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม Catalyst ต่อราคาหุ้นคือความคืบหน้าของการประมูลใหม่และความชัดเจนของการเริ่มงานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
Investment thesis
ผลประกอบการของ PYLON ในช่วงปี 2021 หดตัวแรงจากผลกระทบการแพร่ระบาด Covid-19 จากปริมาณงานตลาดซบเซา,มาตรการล็อกดาวน์ และการแข่งขันรุนแรง ขณะที่ภาพรวมดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการฟื้นตัวของการลงทุน โดยในปี 2022-2023 เป็นการพึ่งพางานภาคเอกชนเป็นหลัก อย่างไรก็ดี ภายหลัง จัดตั้งรัฐบาลใหม่คาดจะช่วยกระตุ้นการลงทุนภาครัฐบาลให้โอกาสเห็นความคืบหน้าที่ชัดเจนขึ้นในช่วงปี 2024 โดยเฉพาะงานโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่ง PYLON มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมรับงาน
Company profile
PYLON ก่อตั้งในปี 2002 ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างงานฐานรากให้กับภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งงานภาครัฐส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับงานโครงสร้างและสาธารณูปโภคพื้นฐาน อาทิ งานทางรถไฟยกระดับ, ทางด่วน เป็นต้น ส่วนงานเอกชนจะเกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย โรงพยาบาล และอาคารสำนักงาน โดยบริษัทรับงานจากทั้งเจ้าของโครงการโดยตรงและผู้รับเหมาหลัก (Main Contractor) แบ่งประเภทออกเป็น 3 งานหลักคือ งานเสาเข็มเจาะแบบกลม (Bored Pile) , งานกำแพงกันดินชนิด Diaphragm หรือเสาเข็มเจาะแบบเหลี่ยม (Barrette Pile) และงานปรับปรุงคุณภาพดินโดยวิธีอัดฉีดซีเมนต์ด้วยแรงดันสูง (Jet Grouting).
Catalysts
ปัจจัยหนุนการเติบโตคือ การรับงานใหม่เข้ามาเติม โดยเฉพาะงานเอกชนขนาดใหญ่ และงานโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ อาทิ รถไฟฟ้าสายสีส้ม และทางด่วน อีกทั้ง ติดตามความชัดเจนของกรอบเวลาการเริ่มงานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (มูลค่างานฐานราก 400 ล้านบาท) ซึ่ง PYLON ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับงาน
Risks to our call
ความเสี่ยงต่อประมาณการ 1) การเซ็นสัญญางานใหม่น้อยกว่าคาด 2) ความล่าช้าของการเปิดประมูลงานใหม่ 3) งานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินถูกยกเลิก 4) ความไม่แน่นอนทางการเมือง 5) ความล่าช้าของการก่อสร้าง และปัญหา Cost overrun 6) ต้นทุนวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น, การขาดแคลนแรงงาน และการปรับขึ้นค่าแรง 7) การแข่งขันรุนแรง