บล.ฟินันเซีย ไซรัส:
THAI FOODS GROUP (TFG TB)
คาดหวังราคาหมูสูงกว่าต้นทุนเลี้ยงใน 1Q24
- บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2024 โต 10% y-y คาดหวังการฟื้นตัวของราคาเนื้อสัตว์ และการขยายกําลังการเลี้ยงหมูในเวียดนาม
- ผบห.มองราคาหมูทะลุ 70 บาท/กก. เหนือต้นทุนการเลี้ยงได้ใน 1Q24 คาดหวังผลการดําเนินงานพลิกมีกําไรอีกครั้งในปี 2024
- ปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2024 ที่ 4 บาท แนะนําให้ติดตามราคาเนื้อสัตว์ต่อไป
ข้อมูลที่ได้รับจากประชุม ทําให้เรามีความคาดหวังเชิงบวกมากขึ้น
จากประชุมนักวิเคราะห์วันที่ 27 พ.ย. 23 เรามีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อแนวโน้มการ ฟื้นตัวในระยะถัดไป โดยผู้บริหารมองราคาหมูไทยมีโอกาสยืนเหนือ 70 บาท/กก. ใน 1Q24 ภายหลังปัญหาหมูเถือนคลี่คลาย จากภาครัฐที่เข้มงวดมากขึ้น คาดจะไม่มีปริมาณหมูเถื่อนเข้ามาใหม่อีก กอปรกับต้นทุนวัตถุดิบทยอยปรับลดลง และจะส่งผลบวกต่อต้นทุนของผู้เลี้ยงรายใหญ่ใน 1H24 คาดจะลดมาอยู่ที่ 62-65 บาท/กก. จาก ปัจจุบันที่ 68-72 บาท/กก. ทั้งนี้จากราคาหมูที่ตกต่ำมานาน ทำให้ผู้เลี้ยงรายย่อยหากไปจากตลาดพอควร ผบห.จึงคาดว่าปริมาณเลี้ยงหมูของไทยจะกลับไปเท่ากับก่อน ASF หรือราว 20 ล้านตัว/ปี ได้อย่างเร็วใน 3024 เลื่อนออกไปจากเดิมที่มองไว้ใน 4Q23
Supply ไก่ค่อนข้างสูง คาดหวังตลาดส่งออกกลับฟื้นตัว
สําหรับธุรกิจไก่ ภาพรวมค่อนไปในทางทรงตัว หลังปริมาณผลผลิตลูกไก่ทั้งประเทศขยับสูงขึ้นถึง 38 ล้านตัว/วีค จากก่อนหน้าที่ 36-37 ล้านตัว/วีค ดังนั้นจึงอยู่ระหว่างรอ Demand กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะตลาดส่งออกที่น่าจะกลับมาฟื้นตัวในปี 2024 โดยผบห.มองราคาไก่ปี 2024 ขยับขึ้นเป็น 40-42 บาท/กก. จากปัจจุบันที่ 38-40 บาท และเมื่อรับรู้ต้นทุนวัตถุดิบที่ถูกลง ผบห.ให้วิวต้นทุนการเลี้ยงจะปรับลงตํ่ากว่า 35 บาท/กก. ในปี 2024 จากปัจจุบันที่ 35-36 บาท/กก.
คาด 4Q23 จะขาดทุนน้อยลงมาก และลุ้นพลิกมีกําไรตั้งแต่ 1Q24 เป็นต้นไป
ระยะสั้น เราคาด 4023 ฟื้นตัวแต่ยังไม่สดใสชัดเจน เพราะถ่วงด้วยราคาหมูเดือน ต.ค. ที่ปรับลงแรง (หมูเถื่อน+กินเจ+ปิดเทอม) ต่ำกว่าระดับ 60 บาท/กก. ขณะที่วัตถุดิบยังปรับลงช้า แต่ราคาหมูกลับมาฟื้นตัวใน พ.ย.อยู่ที่ราว 65+- บาท/กก. ขยับเข้าใกล้ต้นทุนการเลี้ยง เบื้องต้นคาด 4023 อาจขาดทุนน้อยลงเหลือเพียง -51 ลบ. ทั้งนี้เราปรับลดผลการดำเนินงานปี 2023 พลิกเป็นขาดทุนเล็กน้อย -2.6 ลบ. จากที่มีกำไร 4.7 พันลบ.ในปี 2022 และคาดจะกลับมามีกำไรอีกครั้งในปี 2024 ราว 2.1 พันลบ.
มองผลการดําเนินผ่านจุดตํ่าสุดแล้ว แต่ยังต้องตามดูราคาเนื้อสัตว์ต่อไป
เราปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2024 ที่ 4 บาท (อิง PE เดิม 12x) คงคำแนะนำ ถือ แม้จะมองผลการดำเนินงานได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วใน 3Q23 แต่ยังต้องติดตามแนวโน้มราคาเนื้อสัตว์ให้ยืนสูงกว่าต้นทุนการเลี้ยงในระยะถัดไป ซึ่งหากกำไรฟื้นตัวกลับมาได้ จะช่วยให้แรงกดดันด้านสภาพคล่องผ่อนคลายมากขึ้น จากสิ้น 9M23 มีสัดส่วน IBD/E Ratio สูงขึ้นเป็น 1.87x จาก 1.56x ณ สิ้นปี 2022 (Covenant ไม่เกิน 2x) สำหรับนักลงทุนระยะ สั้น เราแนะนำเก็งกำไร ตามการฟื้นตัวราคาเนื้อสัตว์
Investment thesis
TFG ถือเป็นผู้ประกอบการ 3 อันดับแรกในการผลิตเนื้อไก่และสุกรมีชีวิตรายใหญ่ของไทย โดยบริษัทมีกำลังการผลิตไก่ราว 500,000 ตัว ต่อวัน และมีปริมาณสุกรมากกว่า 100,000 ตัวต่อเดือนเรามีมุมมองเป็นบวกมากขึ้นต่อแนวโน้มการเติบโตในปี 2024 คาดหวังผลประกอบการกลับมา Turnaround เป็นกำไรอีกครั้ง จากการฟื้นตัวของราคาเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะราคาหมูในไทยที่ล่าสุด 4Q23 เริ่มเห็นการฟื้นตัวเข้าใกล้ต้นทุนการเลี้ยงอีกครั้ง นอกจาก ปัญหาหมูเถื่อนคลี่คลายแล้ว ยังได้อานิสงส์จากต้นทุนวัตถุดิบอาหาร สัตว์ปรับลงทั้งข้าวโพดและกากถั่วเหลือง หลังปริมาณผลผลิตสูงขึ้นขณะที่แนวโน้มธุรกิจไก่น่าจะกลับมาดีขึ้นตามการฟื้นตัวของการ ส่งออก กอปรกับคาดราคาไก่ในประเทศจะขยับขึ้นไปในทิศทางเกี่ยวกับราคาหมู เบื้องต้นเราคาดหวัง TFG พลิกมีกำไรชัดเจนตั้งแต่ 1Q24 เป็นต้นไป
Company profile
TFG ก่อตั้งขึ้นในปี 1987 โดยคุณวินัย เตียวสมบูรณ์กิจ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยเริ่มจากฟาร์มเลี้ยงไก่ในลพบุรี บริษัทดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตอาหารแบบครบวงจรที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตไก่และสุกรโดยมีฐานธุรกิจทั้งในไทยและเวียดนาม และมีการขยายธุรกิจไปยังปลายน้ำมากขึ้น โดยเข้าสู่ธุรกิจ ค้าปลีกเปิดร้าน Retail shop โดย 9M23 บริษัทมีสัดส่วนรายได้จาก ธุรกิจไก่, หมู, Retail shop และอาหารสัตว์ราว 32%, 21%, 29% และ 18% ตามลำดับ
Catalysts
ปัจจัยหนุนการเติบโตในปี 2024 คือ 1) การฟื้นตัวของการบริโภคจากทั้งในประเทศและตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว 2) ราคาเนื้อสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น 3) ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับลดลง และ 4) การขยายสาขาของ Retail shop
Risks to our call
Downside และ Upside risks ต่อราคาเป้าหมายของเราคือ 1) กําลังซื้อฟื้นตัวช้ากว่าหรือเร็วกว่าคาด 2) ราคาเนื้อสัตว์ปรับขึ้นช้ากว่าหรือเร็วกว่าคาด 3) ต้นทุนวัตถุดิบปรับลงช้ากว่าหรือเร็วกว่าคาด และ 4) ค่าเงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนค่ามากกว่าคาด