บล.พาย: 

STEC บมจ. ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตัคชั่น

เริ่มขยายการลงทุนไปธุรกิจใหม่

3Q23 กำไรสุทธิ 130 ล้านบาท (-6%YoY, -16%QoQ) แต่ดีกว่าที่เราคาดไว้กว่า 16% โดยกำไรที่ลดลงจากปีก่อนเพราะได้รับแรงกดดันจาก ส่วนแบ่งกำไรในรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่เปิดมาตอนกลางปี ส่วนการลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าเพราะไม่มีเงินปันผลรับเข้ามา ทั้งนี้แนวโน้มในปี 24 คาดว่ารายได้จะกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้หลังงานใหม่ภาครัฐทยอเปิดประมูล นอกจากนี้ STEC เองมีแผนเพิ่มการลงทุนในธุรกิจ สัมปทานหรือธุรกิจที่มีรายได้ประจำมากขึ้น เช่นการถือหุ้นในโครงการรถไฟฟ้าหรือธุรกิจ Data Center เป็นต้น โดยจากแผนธุรกิจ ดังกล่าวจะช่วยลดการพึ่งพิงรายได้จากธุรกิจก่อสร้างเพียงอย่างเดียว รวมแล้วเราจึงคงคำแนะนำ “ซื้อเก็งกำไร” เช่นเดิมโดยประเมิน มูลค่าเหมาะสมได้ใหม่ที่ 10.8 บาท (23.5XPER 24E)

คาด 3Q23 กำไร 130 ล้านบาท (-6%YoY, -16%QoQ)

  • STEC มีกำไรสุทธิงวด 3Q23 ที่ 130 ลบ. (-6%YoY, -16%QoQ) ดีกว่าที่เราคาดไว้ 16% เพราะค่าใช้จ่ายในการบริหารต่ำกว่าคาดมากโดยปัจจัยที่ทำให้กำไรลดลงคือ การรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนจากรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเข้ามากว่า 50 ล้านบาท
  • รายได้อยู่ที่ 7,876 ลบ. (+6%YoY,+9%QoQ) ส่วนใหญ่มาจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้และงานรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงของ
  • กำไรขั้นต้นรวมที่ 4.5% ดีขึ้นจาก 4.4% ใน 3Q22 และ 2.1% ใน 2Q23 โดยกำไรขั้นต้นของธุรกิจก่อสร้าง อยู่ที่ 4.4% หลังจากเหลือเพียง 2% ใน 2Q23 เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษเกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเข้ามา ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารอยู่ที่ 137 ล้านบาท (-26%YoY,-37%QoQ) เป็นผลจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการศึกษาธุรกิจใหม่เข้ามาเหมือน 2Q23 รวมแล้ว STEC มีกำไรจากการดำเนินงาน 220 ล้านบาท (+49%YoY) พลิกจากที่ขาดทุน 60 ล้านบาทใน 2Q23
  • ส่วนแบ่งขาดทุนจากบริษัทร่วมรับรู้มา 54 ล้านบาท จากที่รับรู้กำไร 11 ล้านบาทใน 3Q22 และ 36 ล้านบาทใน 2Q23 ส่วนใหญ่มาจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่ STEC ถือหุ้น 15% หลังเริ่มเปิดอย่างเป็นทางการในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา

มองงานใหม่จะออกมามากขึ้น

  • STEC คาดว่าหลังจากนี้ภาครัฐจะมีการเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ออกมามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ งานรถไฟทางคู่ งานทางด่วนเป็นต้น โดยมีมูลค่าโครงการที่ STEC สนใจเข้าประมูลกว่า 300,000 ล้านบาท นอกจากนี้หากโครงการแลนด์บริดจ์มูลค่า 1 ล้านล้านบาทผ่านการอนุมัติจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าประมูลงานของภาครัฐได้อีกทางด้วย
  • สำหรับ Backlog ณ สิ้น 9M23 อยู่ที่ 100,111 ล้านบาท แบ่งเป็นงาน ปัจจุบัน 70,722 ล้านบาทและงานรอเซ็นสัญญาอีก 29,389 ล้านบาท (ส่วนใหญ่เป็นงานสนามบินอู่ตะเภาที่คาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ในช่วง 1H24)

ปีนี้กำไรไม่เด่นนัก ลุ้นปีหน้ากลับมาโต

  • ถ้างานใหม่ที่ออกมาน้อยรวมถึงรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่ยังขาดทุน ทำให้ผลประกอบการในปี 23 เราคาดว่าจะมีกำไรลดลงกว่า 32%YoY มาอยู่ที่ 580 ล้านบาท แต่ในปี 24 เราคาดว่าหลังมีงานใหม่ออกมามากขึ้น และการเริ่มงานสนามบินอู่ตะเภาจะทำให้รายได้กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง เราจึงปรับกำไรทั้งปีขึ้นเป็น 701 ล้านบาท (+21%YoY)
  • จากผลประกอบการที่ออกมาดี และการเปิดประมูลงานภาครัฐที่จะออกมาในอนาคต เราจึงคงคำแนะนำ “ซื้อเก็งกำไร” และประเมิน มูลค่าเหมาะสมได้ใหม่ที่ 10.8 บาท (23.5XPER’ 24E)

ขยายธุรกิจเพื่อกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

  • เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงรายได้จากธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง STEC จึงเริ่มที่จะกระจายการลงทุนไปยังธุรกิจใหม่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เป็นรูปแบบสัมปทาน อย่างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีชมพู งานมอเตอร์เวย์สัญญา M6 กับ M81 หรือสนามบินอู่ตะเภา หรือธุรกิจรูปแบบที่จะสร้างรายได้แบบสมำเสมอ (Recurring income) อย่างงาน DATA Centers ที่ล่าสุดจับมือกับบริษัทMYTELEHAUSE SDN. BHD และบริษัท ไซเท็ม คอร์ปอเรชั่น ก่อตังบริษัท DC Power BN1 ในการสร้างอาคารที่ให้บริการด้าน IT ซึ่งในช่วงเริ่มต้น STEC จะได้รับงานก่อสร้างเข้ามาเพิ่ม อย่างไรก็ตามในส่วนของการรับรู้ผลดีจากธุรกิจดังกล่าวคาดว่าจะต้องใช้เวลาสักระยะ เนื่องจากช่วงแรกยังมีผลขาดทุนเข้ามาอยู่ในช่วงเริ่มต้น STEC จะได้รับงานก่อสร้างเข้ามาเพิ่ม อย่างไรก็ตามในส่วนของการรับรู้ผลดีจากธุรกิจดังกล่าวคาดว่าจะต้องใช้เวลาสักระยะ เนื่องจากช่วงแรกยังมีผลขาดทุนเข้ามาอยู่

Revenue breakdown

โครงสร้างรายได้ของ STEC ทั้งหมดเป็นงานก่อสร้าง โดยส่วนใหญ่เป็นงานภาคเอกชนที่เกี่ยวกับระบบโครงสร้างพื้นฐานสอดคล้องกับ Backlog ที่เป็นงานโครงสร้างพื้นฐานมากที่สุด

 

- Advertisement -