บล.บัวหลวง: 

Inflation – ดัชนีเงินเฟ้อประเทศไทยยังคงติดลบ

ดัชนีเงินเฟ้อทั่วไปของประเทศไทยอยู่ที่ -0.44% YoY (ในเดือน ต.ค. อยู่ที่ -0.31%) ดัชนีเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.58% YoY ซึ่งเงินเฟ้อทั่วไปต่ำกว่าตลาดคาดที่ -0.3% แต่เงินเฟ้อพื้นฐานเป็นไปตามที่ตลาดคาด (0.6%) สำหรับ MoM ในเดือน พ.ย. เงินเฟ้อทั่วไปลดลง แต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัว

ราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหารกดดันดัชนีเงินเฟ้อในเดือน พ.ย.

ดัชนีราคาอาหารปรับตัวขึ้น 0.2% YoY โดยเฉพาะราคาข้าว ผัก และไข่ในทางตรงกันข้าม ดัชนีราคาสินค้าที่ไม่ใช่อาหารปรับตัวลง 0.9% YoY เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและค่าไฟที่ลดลง หากมองด้าน MoM ดัชนีเงินเฟ้อทั่วไปลดลง 0.25% MoM หลักๆ จากราคาน้ำมันที่ลดลง (รัฐบาลปรับลดราคาแก๊สโซฮอล์ 91 ลง 2.50 บาท/ลิตร เมื่อต้นเดือน พ.ย.)

คาดเงินเฟ้อติดลบต่อในเดือน..จากราคาเนื้อสัตว์และน้ำมันที่ลดลง

เราคาดดัชนีเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ธ.ค. จะอยู่ที่ -0.4% YoY โดยหลักจากราคาหมู น้ำมันดีเซล และค่าไฟที่ลดลง ซึ่งเราคาดว่าจะกลบผลกระทบของราคา สินค้าเกษตรที่สูงขึ้น (โดยเฉพาะข้าวและไข่) หากมองด้าน MoM ทั้งเงินเฟ้อ ทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มทรงตัว

คงประมาณการ CPI ปี 2566 ดังเดิม

เราคงประมาณการเงินเฟ้อปี 2566 ที่ 1.3% YoY และเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 1.3%YoY โดยหลักมาจากราคาอาหาร (ผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญ่และการระงับการส่งออกข้าวของอินเดียที่หนุนราคาสินค้าที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ให้ปรับตัวสูงขึ้น) และราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

ภาพ CPI ปี 2567

เราคาดดัชนีเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 อยู่ที่ 1.1% YOY ตัวเลขจะอยู่ในระดับต่ำ ช่วงต้นปีเนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ลดลง YoY แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่เงินอุดหนุนแก๊สโซฮอล์ 91 ของรัฐบาลกำหนด สิ้นสุดในต้นเดือน ก.พ. 2567 แต่ค่าไฟมีแนวโน้มสูงที่จะมีการปรับขึ้นในช่วงเดือน..-เม.ย. 2567 และราคาหมูมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (ซึ่งน่าจะผ่านจุด ต่ำสุดไปแล้วในช่วงปลายเดือน.. 2566) ทั้งนี้ เรายังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นเราคาดจะไม่เห็น BOT เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจาก 2.50% ในปัจจุบันอีก (ปรับขึ้นล่าสุดวันที่ 27 ก.ย.) ในปัจจุบันเราไม่เห็นปัจจัยใดๆ ที่บ่งชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับลดภายในครึ่งแรกของปี 2567

- Advertisement -