บล.พาย:
BBIK Bluebik Group ผู้นำการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลในไทย
เริ่มต้นบทวิเคราะห์ BBIK ด้วยคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 123.40 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC: 11.9%) คำแนะนำซื้อสะท้อนมุมมองเชิงบวกต่อศักยภาพการเติบโตด้านกำไรต่อหุ้น (EPS) เฉลี่ยต่อปีในช่วง 2023-25 ที่ 59.8% (ไม่รวมการเติบโตทางอ้อมใหม่ ๆ) หนุนจาก 1) ประโยชน์ร่วมจากการควบรวม Innoviz และ Valcan ที่จะช่วยกระตุ้นยอดขายต่อหัวได้ 2) การเติบโตอย่างมั่นคงของ Orbit บริษัทร่วมทุน (JV) กับ PTTOR ที่สร้าง upside ให้กับกำไรของ BBIK ได้เป็นอย่างดี และ 3) สิทธิประโยชน์ด้านภาษีจาก BOI จนถึงปี 2030 แม้ปัจจุบันหุ้นจะซื้อขายที่ 27.4xPE’24E สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 25.7xPE’24E (ไม่รวม IIG) แต่เราคาดว่ากำไรของบริษัทจะโต 49%YoY ในปี 2024E เร็วกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 24%YoY สำหรับปี 2024E (อิง Bloomberg consensus) ส่วนภาพในอนาคต BBIK ก็มีศักยภาพในการเติบโตภายในประเทศผ่านการกระตุ้นส่วนแบ่งตลาดและการจัดตั้งสำนักงานในอินเดียและเวียดนาม ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) มากกว่าไทย จุดนี้เองที่จะช่วยดึงดูดคนงานทักษะสูงจากนานาชาติเข้ามาร่วมงานได้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันการเติบโตของบริษัทในอนาคต
มีโอกาสให้โตอีกมาก
- BBIK คือหนึ่งในผู้นำกลุ่มการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล เพราะบริการ E2E ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบการซ่อมบำรุง และนวัตกรรม บริษัทที่มีพนักงานจำนวนมากและมีความยืดหยุ่นสูงอย่าง BBIK สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยประสิทธิผลสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันนี้เอื้อให้บริษัทได้งานประมูลโครงการใหญ่ ๆ (มูลค่าการประมูลแต่ละโครงการของ BBIK อยู่ที่ 15-20 ล้านบาท)
- เราเชื่อว่าในระยะยาว BBIK จะได้ประโยชน์จากดีล M&A ที่มีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงดีลล่าสุดที่ทำกับ Innoviz และ Valcan ส่วนคู่แข่งอย่าง Accenture ปิดดีล M&A ไปแล้ว 16 ดีลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ด้วยอัตรากำไรที่ขยายตัวเป็น 11.2% ในปี 2022 จาก 9.4% ในปี 2018 ทั้งนี้ BBIK มีการดำเนินงานในสายธุรกิจที่คล้ายกัน ทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมนี้ในไทย เราจึงเชื่อว่า BBIK จะมีแนวโน้มขาขึ้นเหมือนกับบริษัทคู่แข่งข้างต้น
แนวโน้มยอดขายและการเติบโตของ EPS ที่แข็งแกร่งในปี 2023-25
- เราประเมินว่าการเติบโตต่อปีของยอดขายปี 2023-25 จะเร่งตัวเป็น 57% เป็น 2.2 พันล้านบาทในปี 2025 ขณะที่คาดว่า EPS จะโตต่อปี 59.8% ในช่วง 2023-25 เป็น 5.18 บาทต่อหุ้นในปี 2025 หนุนจาก backlog โครงการที่โตต่อเนื่อง บวกกับดีล M&A และ JV ใหม่ ๆ กับคู่ค้ารายสำคัญ
- เรามองว่าดีล M&A ที่ทำกับ Innoviz และ Valcan เป็นดีลที่ดี เพราะจะช่วยหนุนยอดขายต่อหัวของ BBIK ขึ้นจาก 2.36 ล้านบาทเป็น 2.68 ล้านบาท (กรณีของ Innoviz) และ 1.25 ล้านบาทเป็น 1.52 ล้านบาท (กรณีของ Valcan) ได้ภายในปี 2025 ซึ่งคาดว่าจะช่วยหนุนให้อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ของ BBIK ขยายตัวเป็น 50.3% ในปี 2025 เพิ่มจาก 49.2% ในปี 2023คาดว่า Orbit โครงการ JV สำคัญที่ทำร่วมกับ PTTOR จะมีกำไรสุทธิที่โตต่อปีในช่วง 2022-25 ระดับ 44.6% หลังจาก PTTOR ประกาศงบลงทุน (CAPEX) 2.1 พันล้านบาทในหน่วยธุรกิจนวัตกรรมและ ธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตด้าน backlog ของ BBIK มากยิ่งขึ้นจากปัจจัยข้างต้นเราจึงประเมินว่า GPM ของ BBIK จะโตแรง 50% และกลับสู่ระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนทำดีลหลังจากนั้น หนุนจากรายได้ JV ที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นส่วนที่มี GPM ต่ำกว่า 10% แต่บริษัทหันมาเน้นการรับรู้ด้านกำไรจาก JV แทน นอกจากนี้ BBIK จะยังได้ประโยชน์ด้านภาษีจาก BOI อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะทำให้อัตราภาษียังทรงตัวระดับต่ำที่ 5% ไปจนถึงปี 2030 ด้วยเหตุนี้เราจึงคาดว่าอัตรากำไรสุทธิ (IPM) จะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นและโตเหนือค่าเฉลี่ยในช่วงก่อน COVID-19 ที่ 25.9% ได้ภายในปี 2025
เริ่มต้นบทวิเคราะห์ด้วยคำแนะนำ “ซื้อ”
มูลค่าพื้นฐาน 123.40 บาท คำนวณด้วยวิธี DCF (WACC: 11.9%, TG: 5%) อิง PER ที่ 27.4xPE’24E ค่อนข้างสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 25.7xPE24E (ไม่รวม IG) ขณะที่เราคาดว่ากำไรของ BBIK จะโต49%YoY ในปี 2024 สูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 24%YoY สำหรับปี 2024 (ฮิง Bloomberg consensus)
ลักษณะธุรกิจ
โมเดลธุรกิจของ BBIK สามารถแบ่งออกเป็นได้ 4 ประเภทดังนี้:
- บริการให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์และการจัดการ (MC): ให้บริการด้านการวางแผนและออกแบบกลยุทธ์องค์กรระยะสั้นและยาว ( 3-5 ปี) รวมถึงการพัฒนาแผนการตลาดสำหรับสินค้าและบริการ วิจัยทางการตลาดเพื่อกระตุ้นศักยภาพในการแข่งขัน จัดสรรทรัพยากรและปรับโครงสร้างการดำเนินงานหน่วยธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หน่วยธุรกิจนี้คือแหล่งรายได้หลักของ BBIK ในปีเพราะคิดเป็นส่วนแบ่งที่ 14.7%
- บริการที่ปรึกษาการบริหารจัดการโครงการเชิงยุทธศาสตร์ (PMO): สนับสนุนให้การดำเนินงานของลูกค้าเป็นไปตามกำหนดการและบรรลุเป้าหมายขององค์กร คิดเป็น 11.3% ของรายได้รวมปี 2022
- บริการพัฒนาระบบดิจิทัลและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี (DX): ออกแบบ UX/UI บนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นและระบบปฏิบัติการ คิดเป็น 61.9% ของรายได้รวมปี 2022
- บริการที่ปรึกษาด้านการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI): ออกแบบและพัฒนาชุดข้อมูล เพื่อนำไปสนับสนุนส่วนงานหรือเป้าหมายขององค์กร คิดเป็น 12.2% ของรายได้รวมปี 2022โดยทุกหน่วยธุรกิจ มีระยะเวลาในการทำงาน 3 – 6 เดือน เพื่อรับรู้รายได้ และมีอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ที่ระดับ 50 – 60% โดยรายได้ตั้งแต่ปี 2020 ถึงปี 2022 มาจากธุรกิจ บริการพัฒนาระบบดิจิทัลและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านดิจิตอลของไทยและทั่วโลก โดยในช่วงดังกล่าวบริษัทมีรายได้เติบโตเฉลี่ย (CAGR) ที่ 45% อีกทั้งมีการเริ่ม รับรู้รายได้จากต่างประเทศสอดคล้องกับแผนการเติบโตของบริษัทในระยะกลาง
ยอดขายพุ่งและ NPM ขยายตัว
เราประเมินว่ายอดขายจะโตเฉลี่ยต่อปีในช่วง 2023-25 ที่ 57% เพิ่มจาก 45% ในช่วงปี 2019-22 สืบเนื่องจาก 1) กระแสการเปลี่ยน ผ่านสู่ระบบดิจิทัลในไทยเพื่อตามกระแสโลก 2) การทำดีลควบรวมที่จะเอื้อให้ BBIK สร้างรายได้ข้ามกลุ่มและมีความประหยัดต่อขนาด (economies of scale) ด้วยการเพิ่มยอดขายต่อพนักงาน และ 3) ส่วนแบ่งกำไร 39 ล้านบาท (15% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 2023) จากการ JV กับ Orbit บริษัทย่อยของ PTTOR เราคาดว่ายอดขายต่อหัวในปี 2023 จะลดลง YoY ชั่วคราว สืบเนื่องจากดีลเข้าซื้อคู่แข่งทางอ้อมอย่าง Innoviz และ Valcan ซึ่งทั้งคู่ต่างมียอดขายต่อหัวต่ำกว่า BBIK แต่ในระยะยาวเรามองว่าบริษัทจะได้ประโยชน์จากดีลนี้ ซึ่งจะหนุนให้ BBIK มียอดขายต่อหัวเพิ่มเป็น 1.71 ล้านบาทภายในปี 2025 นอกจากนี้ เรามองว่า NPM จะปรับดีขึ้น ตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป เพราะ BBIK มีแผนยื่นขอสิทธิประโยชน์กับ BOI ซึ่งจะทำให้อัตราภาษีแท้จริงปรับลดลง
การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลจะเปลี่ยนโฉมภาคธุรกิจทั่วโลก
การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลคือการบูรณาการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับส่วนงานต่าง ๆ ในภาคธุรกิจที่จะเปลี่ยนโฉมการดำเนินงานของธุรกิจและการส่งมอบมูลค่าให้กับลูกค้า เช่น บริษัทค้าปลีกต้องการทราบถึงปัจจัยที่จะสร้างอิทธิพลต่อลูกค้าประจำมากขึ้น หลังจากสร้าง UX/UI แต่การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลจะแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท จึงยากที่จะกำหนดคำนิยามที่ตายตัวว่าการเปลี่ยนผ่านนี้จะเป็นเช่นไรสำหรับทุกบริษัท ตัวอย่างคือแต่ละบริษัทต่างมีลูกค้าที่มาพร้อมกับพฤติกรรมที่ต่างกัน เช่น บริษัท A ขายสิ่งทอและมีลูกค้าหลักในเอเชีย ส่วนบริษัท B ขายสิ่งทอเช่นกันแต่มีลูกค้าในยูโรโซน ปัจจัยที่จะสร้างมูลค่าตลาดจึงแตกต่างกัน
Market and Markets คาดมูลค่าตลาดจะโต 17% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า สูงกว่าค่าเฉลี่ย GDP โลกที่คาดราว 3% ในกรอบ 5 ปีข้างหน้า (ข้อมูลจาก Statista) ส่วนข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) รายงานว่ามูลค่าตลาดกลุ่ม Big Data โต +12.1%ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งยังคาดว่าอุปสงค์บริการซอฟต์แวร์จะโต +11.9% ต่อปี และบริการด้าน IT จะโตเฉลี่ยต่อปีที่ 4.4% ในช่วง 2021-25 เราจึงคาดว่าการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลในไทยจะมีภาพรวมสดใส โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคาดการณ์ GDP ไทยที่ +3.7% ในปี 2023-24 (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ธปท.)
บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่จะมีส่วนแบ่งตลาดในไทยมากขึ้น
Gartner ประเมินการลงทุนด้าน IT ในไทยสำหรับปี 2023 ที่ 9.30 แสนล้านบาท โต 4.2% YoY เม็ดเงินดังกล่าวไม่รวมการลงทุนในระบบดาต้าเซ็นเตอร์ (2.7 หมื่นล้านบาท) ซอฟต์แวร์ (8.0 หมื่นล้านบาท) อุปกรณ์ (2.0 แสนล้านบาท) บริการด้าน IT (1.10 แสนล้านบาท) และบริการด้านการสื่อสาร (5.20 แสนล้านบาท) หากไม่รวมบริการด้านการสื่อสารและอุปกรณ์ การลงทุนด้าน IT ที่เหลือใน ธุรกิจที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีจะอยู่ที่ราว 2.20 แสนล้านบาท
กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในไทยที่รวมถึง BBIK, BE8, IIG, HUMAN, NETBAY, Accenture (TH), KPMG(TH), Deloitte(TH), PWC(TH) และ EY(TH) มีรายได้รวมกันคิดเป็น 7.7% ของมูลค่าตลาดรวมในปี 2019 แต่ COVID-19 ทำให้รายได้รวม ปี 2020 ลดลงเหลือ 6.9% ของมูลค่าตลาดรวม แต่หลังจากผ่านพ้นวิกฤติมาได้ ส่วนแบ่งรายได้ก็โตต่อเนื่องจนกลับสู่ระดับก่อน วิกฤติ COVID-19 ได้ในปี 2022 ขณะที่ประเมินว่ารายได้ของกลุ่มนี้จะอยู่ที่ 8.3% ของมูลค่าตลาดรวมในปี 2023 (ข้อมูลจา Gartner, Bloomberg, DBD)
เมื่อดูจากการเติบโตในปี 2019-23 พบว่ามีโตเฉลี่ยต่อปีที่ 18% ขณะที่เม็ดเงินลงทุนด้าน IT ในไทยโตต่อปี 15.6% ชี้ว่ากลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น
ดีล M&A คือตัวขับเคลื่อนการเติบโตสำหรับ BBIK ในระยะยาว
BBIK มีทั้งแหล่งรายได้ประจำและพิเศษ รายได้ทางอ้อมหลัก ๆ มาจากลูกค้าใหม่และโครงการเฉพาะกาล ลูกค้าส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้จะใช้บริการของ BBIK อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นลูกค้าประจำในที่สุด ดังนั้นรายได้ทางอ้อมส่วนใหญ่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงศักยภาพของ BBIK ในการสร้างรายได้ประจำในอนาคต ขณะที่การเติบโตของสัดส่วนรายได้ประจำจะชี้ถึงอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลง
ลูกค้าไม่ประจำคิดเป็น 70% ของรายได้รวมปี 2020 แต่ลดลงเหลือ 50% ในปี 2022 BBIK จึงเริ่มปรับกลยุทธ์ไปพึ่งดีล M&A เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคตมากขึ้น แต่เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อกลยุทธ์การเติบโตทางอ้อมของ BBIK เหมือนเดิม อิงจากแนวโน้มของกลุ่มผู้ให้บริการด้านการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลแบบ E2E ทั่วโลก
กรณีตัวอย่างของ Accenture (NYSE: ACN) ที่มีการดำเนินงานคล้ายกับ BBIK ที่ปิดดีล M&A ไปแล้ว 37 ดีลในช่วง 2004-22 ซึ่งเอื้อให้ Accenture สามารถกระตุ้นยอดขายได้ปีละ 9% ในช่วง 2004-22 เป็น $6.2 หมื่นล้านบาทในปี 2022 แม้จะทำดีล M&A ต่อเนื่องแต่ Accenture ยังมี GPM ในกรอบ 27%-33% ได้ พร้อมกับมี NPM ที่ค่อย ๆ ขยายตัวขึ้นเป็น 11.2% ในปี 2022 จาก 4.6% ในปี 2004
ดีล M&A อย่าง Innoviz และ Valcan จะปูทางไปสู่การเติบโตในอนาคตให้กับ BBIK
เรามองว่าดีล M&A คือกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับ BBIK เพราะจะช่วยขับเคลื่อนยอดขายและประสิทธิภาพโดยรวมผ่านโอกาสในการได้งานใหญ่ ๆ และยอดขายต่อหัวที่ดีขึ้น เราจึงเชื่อว่าดีล M&A อย่าง Innoviz และ Valcan จะสร้าง upside ก้อนใหญ่ให้กับกำไรของ BBIK ได้ 15% และ 20% ในปี 2024 และ 2025 ตามลำดับ
BBIK เข้าซื้อหุ้น 55% ของ Innoviz และ 100% ของ Vulcan ตามลำดับในต้นปี 2023 Innoviz คือผู้ให้บริการ Microsoft Dynamics 365 ขนาดใหญ่สุดสำหรับระบบการเงินและปฏิบัติการ (Finance and Operations) ในไทย เดิมคือ Microsoft Dynamics AX โดย Innoviz มีลูกค้ามากสุดในไทยจากบรรดา 6 เวอร์ชั่น ด้วยลูกค้า 200 กว่ารายที่กระจายอยู่ในภาคธุรกิจต่าง ๆ โดยเราประเมินว่ายอดขายต่อหัวจะโตจาก 2.36 ล้านบาทเป็น 2.68 ล้านบาทในปี 2025 เพราะ BBIK ให้บริการ ERP (SAP) ที่ใกล้เคียง Microsoft Dynamic อยู่แล้ว ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้นจากการที่ BBIK ทำการขายข้ามกลุ่ม
Vulcan คือธุรกิจที่ปรึกษาที่ให้บริการพัฒนาแอปพลิเคชั่นด้วยผู้เชี่ยวชาญตามมาตรฐาน SDLC (Software Development Life Cycle) โดยมีทีมพัฒนาด้าน IT และแอปพลิเคชั่นมากกว่า 300 คนที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เราประเมินว่ายอดขายต่อหัวจะโตจาก 1.25 ล้านบาทเป็น 1.52 ล้านบาทในปี 2025 เพราะ BBIK มีหน่วยธุรกิจที่คาบเกี่ยวกับ Vulcan อยู่แล้ว ด้วยพนักงานทักษะสูงเพิ่มเข้ามา 300 คน BBIK จึงมีโอกาสชนะประมูลงานโครงการขนาดใหญ่มากขึ้น
ตั้งสำนักงานในต่างประเทศที่เป็นจุดยุทธศาสตร์
อินเดียมีจำนวนประชากรในปี 2021 ราว 1.4 พันล้านคน เวียดนามที่ 97 ล้านคน หากอิงประมาณการของ UN ภายในปี 2030 อินเดียและเวียดนามจะมีประชากรราว 1.5 พันล้านคนและ 105 ล้านคน ตามลำดับ
ทั้ง 2 ประเทศมีประมาณการ GDP ที่โตแรงในปี 2024 IMF ประเมินว่า GDP อินเดียจะโต 6.3% YoY และเวียดนามที่ 5.8% YoY สูงกว่าค่าเฉลี่ย GDP โลกที่ 3% YoY
ช่วงปี 2017-21 จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ในอินเดียมีสัดส่วน 32.4% และเวียดนามที่ 28.7% จากผู้สำเร็จการศึกษา ทั้งหมด สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ 23.6% ตอกย้ำกลยุทธ์ในการถึงดูดพนักงานทักษะสูงและการเข้าถึงลูกค้าในท้องถิ่น
ศักยภาพการเติบโตจาก JV
BBIK จัดตั้ง Orbit ในปี 2021 ซึ่งเป็นบริษัท JV กับ OR เพื่อปรับระบบของ OR เป็นดิจิทัล Orbit มีส่วนแบ่งรายได้และกำไรคิดเป็น สัดส่วน 15% และ 16% ตามลำดับ BBIK ถือหุ้นใน Orbit อยู่ 60% ส่วน OR ถืออยู่ 40% เราประเมินว่ากำไรสุทธิของ Orbit จะโตต่อปี +44.6% (ไม่รวมบริษัทร่วมที่ใช้ระบบ Orbit) แตะ 94 ล้านบาทในช่วง 2022-25 อิงจากจำนวนสถานีบริการของ PTT ที่โต +3% ต่อปีในช่วง 3 ปีข้างหน้า ซึ่งมีโอกาสเป็นจริงเพราะจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นเท่ากับการใช้ข้อมูลมากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความจำเป็นในการปรับระบบเป็นดิจิทัลเพิ่มขึ้นตาม การโอนและวิเคราะห์ข้อมูลก็สามารถโอนถ่ายกันไปมาระหว่างบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของ OR นำไปสู่ระบบ นิเวศที่แข็งแกร่งที่สามารถป้อนข้อมูลเพื่อนำไปสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล นวัตกรรมค้าปลีก การทำเงินจากข้อมูล และแปลงฐานข้อมูลเป็นชุดข้อมูลลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
PTTOR มีแผน CAPEX ในปี 2024 ที่ 2.31 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 2.1 พันล้านบาทสำหรับนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ ๆ ตอกย้ำการให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยีของ PTTOR โดย PTTOR หวังว่าการลงทุนดังกล่าวจะช่วยกระตุ้น backlog ที่นำไปสู่อนาคตอันสดใสได้
GPM หดตัว 8.1ppts YoY ในปี 2022 เป็น 52.8% เพราะ JV กับ Orbit เนื่องจาก Orbit ใช้บริการของ BBIK ด้วยส่วนลดก้อนใหญ่ (JV ให้ GPM <10% เทียบ GPM ปกติที่ราว 60% ต่อโครงการ) แลกกับการถือหุ้น 60% ใน JV กำไรจาก JV บันทึกในรายการส่วนแบ่งรายได้ทำให้ NPM ยังอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย
Backlog ขาขึ้นตามกระแสการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล
Backlog ของ BBIK ปรับเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญหลังเข้าซื้อ Vulcan และ Innoviz ในไตรมาส 4/22 เห็นได้จาก backlog ช่วงไตรมาส 2/23-3/23 (+105 ล้านบาท QoQ) และไตรมาส 2/22-3/22 (+53 ล้านบาท QoQ) ปัจจุบัน BBIK มี backlog ก้อนใหญ่อยู่ในมือที่ 805 ล้านบาท คาดว่าจะรับรู้เป็นรายได้ราว 404 ล้านบาท (50% ของ backlog รวม) ในไตรมาส 4/23 และที่เหลือในปีหน้า
เราประเมินยอดขายปี 2023 ที่ 1.3 พันล้านบาท ชี้เป็นนัยว่า BBIK ต้องการ backlog ใหม่เพียง 30 ล้านบาทในไตรมาส 4/23 ซึ่งเรามอง ว่าเป็นไปได้ เพราะบริษัทเห็นแนวโน้ม backlog ใหม่อย่างน้อย 30 ล้านบาทในช่วงไตรมาส 3/23-4/23
มูลค่าหุ้นสูงแต่โตดี
แนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 123.40 บาท คำนวณด้วยวิธี DCF (WACC: 11.9%) เรามองว่าวิธี DCF เป็นแนวทางการคำนวณมูลค่าหุ้น ที่เหมาะสมเพราะ 1) การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลจะเป็นตัวกำหนดแนวโน้มการเติบโตของรายได้ที่แข็งแกร่งตามกระแสโลก และ 2) สะท้อนพื้นฐานระยะยาวของธุรกิจได้ดีโดยเฉพาะในแง่ของกำไร (ความล่าช้าของโครงการที่อาจเกิดขึ้นจะกระทบกำไรระยะสั้น) 3) บริษัทจะได้รับสิทธิประโยชน์จาก BOI ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2030 เป็นอย่างน้อย
แม้ PER ของ BBIK ที่ 27.4xPE’24E จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 25.3xPE’24E (ไม่รวม IIG) แต่เรามองว่าบริษัทมีศักยภาพการเติบโตด้านกำไรสูงสุดในกลุ่มที่ 49%YoY ในปี 2024 เทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 24% (ไม่รวม IG) สำหรับภาพระยะยาวเราเชื่อว่า BBIK ยังมีศักยภาพในการเติบโตที่แข็งแกร่งเพราะปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัลของตลาด ส่วนในระยะสั้นอาจมีประเด็นความ กังวลเรื่องการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่อาจฉุด backlog ลง
ประวัติบริษัท
BBIK คือผู้นำด้านบริการเปลี่ยนผ่านระบบดิจิทัลในไทยที่ให้บริการที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และเทคโนโลยีดิจิทัลกับกลุ่มบริษัทเอกชน (95% ของรายได้รวมปี 2022) และภาครัฐ (5%) ตัวอย่างคือ BBIK ให้บริการกับ MBK ด้วยความเข้าใจใน วัฒนธรรมควบคู่ไปกับการใช้ฐานข้อมูลจากทั่วโลก ซึ่งนับเป็นจุดแข็งที่ทำให้แบรนด์ ‘Bluebik’ เป็นส่วนสำคัญต่อวิสัยทัศน์ในอนาคตของ MBK Center อีกกรณีคือ BAM ที่ใช้บริการของ BBIK ในการออกแบบบริการให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น
ลูกค้าส่วนใหญ่ของ BBIK อยู่ในไทย (92% ของรายได้รวมปี 2022)
รายได้ต่างประเทศค่อย ๆ ปรับดีขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวในการขยายกิจการไปต่างประเทศของบริษัท