ตลาดหุ้นวานนี้
SET Index พลิกปิดบวก 5 จุด (+0.35%) ปิดที่ระดับ 1,435 จุด PTTEP และ AOT ปรับขึ้นหนุนตลาด หลังราคาน้ำมันดิบกลับมายืนเหนือ 70$/bbl ได้อีกครั้ง และ AOT ได้ผลบวก ไทย-จีน ให้ฟรีวีซ่าระหว่างกันเป็นการถาวร
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้
ประเมิน SET แกว่งตัว 1,425 – 1,445 จุด จากแรงกดดันค่าเงิน USD และ US bond yield ดีดตัวขึ้นตามความไม่แน่นอนทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐหลังตลาดแรงงาน ยังคงแข็งแกร่งโดยการจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้นและผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง อย่างไรก็ตาม แรงซื้อกลุ่มหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวจะช่วงหนุนให้ดัชนีสลับรีบาวด์ขึ้นได้ จึงแนะนำ Selective buy
กลยุทธ์การลงทุน: Selvectie buy
- AOT AAV BA CENTEL ERW MINT SPA ฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวไทย/จีนแบบถาวร
- COM7 SYNEX CRC HMPRO GLOBAL DOHOME อานิสงส์ E-refund
- WHA AMATA CBG TU ITC AUCT PLANB SABINA แนวโน้ม 4Q23 เติบโต
หุ้นแนะนำวันนี้
MINT (ปิด 29.5 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 38) ธุรกิจโรงแรมและอาหารในไทยเข้าสู่ช่วง High season, ได้ประโยชน์ ไทย-จีน ให้ฟรีวีซ่าถาวรระหว่างกัน, รายได้จากกลุ่มนักท่องเทียวจีนยังมี Upside โดยก่อนโควิดมีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวจีน 15% ของรายได้รวม ขณะที่ปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้เพียง 8% เท่านั้น
COM7 (ปิด 26 26 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 32.75 บาท) แนวโน้มยอดขายและกำไรจะดีขึ้นใน 4Q23 จากการรับรู้ยอดขาย iPhone 15 เข้ามาเต็มไตรมาส ส่วน 1Q24 ได้ผลบวกจากมาตรการ Easy Easy e-Receipt Re Receipt และยังมีริม EV Car ให้เก็งกำไรจากการเป็นดีลเลอร์ให้ Aion แบรนด์รถไฟฟ้าจากจีน
บทวิเคราะห์วันนี้
BTS (ปิด 7.45 ซื้อ/เป้า 8.5 บาท), SAPPE (ปิด 92.25 ซื้อ/เป้า 115 บาท)
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+/-) ตลาดแรงงานสหรัฐ (เอกชน) ยังดี การจ้างงานเพิ่มขึ้นเกินคาด คนตกงานลดลง: ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น 164,000 ตำแหน่ง สูงกว่า Consensus คาดไว้ที่ 130,000 ตำแหน่ง และสูงกว่าเดือน พ.ย. ที่มีการจ้างงาน 101,000 ตำแหน่ง ขณะเดียวกันผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก อยู่ที่ 202,000 ราย น้อยกว่าที Consensus คาดไว้ที่ 219,000 ราย (ตัวเลขดีแต่ตลาดตีความเป็นลบกลัวเฟดคงดอกเบี้ยสูงเป็นเวลานาน)
(+/-) คาดเงินเฟ้อไทยยังติดลบกดดันแบงก์ชาติคงดอกเบี้ยต่อไป: วันนี้ ก. พาณิชย์จะรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของไทยเดือน ธ.ค. เบื้องต้น Consensus คาดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบที่ -0.35% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก -0.44% ในเดือน พ.ย. อย่างไรก็ตาม ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับตำหรือยังติดลบบ่งชี้ได้ว่าการประชุมของ กนง. ครั้งถัดไป (7 ก.พ.2024) จะคงอัตราดอกเบียที่ระดับ 2.5% ตามเดิมเป็นบวกกับภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นและหุ้นในกลุ่มไฟแนนซ์
(+/-) คืนนี้ติดตาม Nonfarm Payrolls ชี้วัดความแข็งแกร่งในตลาดแรงงานสหรัฐ: เบื้องต้น Consensus ถาดการจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 1.63 แสนตำแหน่งและคาดอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.8% จาก 3.7% ในเดือน พ.ย. ทั้งนี้หากตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดและอัตราว่างงานยังอยู่ที่ระดับ 3.7% หรือต่ำกว่าจะทำให้ตลาดตีความเป็นลบคล้ายกับการจ้างงานของภาคเอกชนข้างต้น ตรงกันข้ามหากการจ้างงานออกมาตามคาดหรือต่ำกว่าเล็กน้อยจะเป็น บวกกับตลาด
ข่าวในประเทศและต่างประเทศ
สรุปข่าวเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ
ไทย
(+) กรมธุรกิจพลังงาน เผยการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 11 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ย.66) อยู่ที่ 152.24 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 0.9% จากช่วงเดียวกันของปี 65 ส่วนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เฉลี่ยอยู่ที่ 1.049 ล้านบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้น 5.7% คิดเป็นมูลค่า 97,253
(+) นายกรัฐมนตรี ยืนยันความจำเป็นในการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ พร้อมระบุว่ารัฐบาลไม่ได้เพิกเฉยต่อเสียงสะท้อนของคนในพื้นที่
สหรัฐ
(+) ดัชนี PMI ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนธ.ค. ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51.4 จากระดับ 50.8 ในเดือนพ.ย. และสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 51.3
(+) ผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้ว ลดลง 18,000 ราย สู่ระดับ 202,000 ราย และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 219,000 ราย
(-) EIA รายงาน สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในสัปดาห์ที่แล้ว ลดลง 5.5 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลงเพียง 3.7 ล้านบาร์เรล
ยุโรป
(-) ฝรั่งเศส – อัตราเงินเฟ้อเบื้องต้นในฝรั่งเศสเดือน ธ.ค.66 ขึ้นไป แตะระดับ 4.1% เพิ่มขึ้นจากเดือนพ.ย.66 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 3.9% จากราคาพลังงานและราคา สินค้าในภาคบริการที่ปรับตัวขึ้น
(+/-) ยูโรโซน – ดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการขั้นสุดท้าย เดือนธ.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.6 แต่ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 47
เอเชีย
(+) จีน – ดัชนี PMI ภาคบริการเดือน ธ.ค. ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 52.9 จาก 51.5 ในเดือน พ.ย. และมากกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ 51.6 หนุน PMI รวมการผลิตและบริการเพิ่มขึ้นเป็น 52.6 จาก 51.6
(-) ญี่ปุ่น – ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนธ.ค. ปรับตัวลงสู่ระดับ 47.9 จาก 48.3 ในเดือนก่อนหน้า และทำสถิติต่ำสุดในรอบ 10 เดือน