บล.บัวหลวง:
Krungthai Card (KTC TB /KTC.BK)
KTC – ปีที่ท้าทาย
เรามองว่าประมาณการการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2567 ที่ 10% YoY ของ KTC นั้นต่ำกว่ามาตรฐาน การตั้งสำรองฯมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง เนื่องจากหนี้ครัวเรือนและอัตราดอกเบี้ยที่สูง และข้อกำหนดการชำระเงินขั้นต่ำรายเดือนที่สูงขึ้นสำหรับผู้ถือบัตรเครดิต มูลค่าหุ้นค่อนข้างตึงตัว
ความเสี่ยง/ผลตอบแทนที่ไม่น่าสนใจ ณ ราคาปัจจุบัน
ปัจจุบัน PER ปี 2567 ของ KTC อยู่ที่ 14.2 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี อยู่ 0.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) แต่ประมาณการกำไรต่อหุ้นปี 2567-2568 ของเราอยู่ที่ 10% (ต่ำกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของกำไรปี 2560-2565 ที่ 16%) ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วน PEG แบบตึงตัวที่ 1.4 เท่า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2560-2565 ที่ 1.1 เท่าอย่างมีนัยสำคัญ และค่าเฉลี่ยกลุ่มการเงินรายย่อยที่เราให้คำแนะนำอยู่ที่ 1.1 เท่า โดย PBV ณ สิ้นปี 2567 ของ KTC อยู่ที่ 2.8 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีอยู่ 0.7 ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน) และ ROE ปี 2567 อยู่ที่ 21.7% (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปี 2560-2565 ที่ 27%) ส่งผลให้อัตราส่วน PBV/ROE อยู่ที่ 0.13 ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยกลุ่มการเงินรา ย่อยที่เราให้คำแนะนำที่ 0.13
การตั้งสำรองปี 2567 ยังคงอยู่ในระดับสูง
แม้เราคาด GDP จะเติบโตเร็วขึ้นที่ 3.4% ในปี 2567 แต่เราคาดว่าการตั้งสำรองของ KTC จะยังคงอยู่ในระดับสูงตลอดทั้งปี ลูกค้าของ KTC มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่สูงและระดับหนี้ครัวเรือนที่สูง นอกจากนี้ ธปท. ได้ปรับเพิ่มข้อกำหนดการชำระบัตรเครดิต ขั้นต่ำต่อเดือนจาก 5% ของยอดเงินคงเหลือ (ภายใต้โครงการช่วยเหลือหนี้ช่วยเหลือผู้บริโภครับมือผลกระทบโควิด-19) ไปเป็น 8% มีผลใช้บังคับ 1 ม.ค. 2567 (วันที่ 1 ม.ค. 2568 การชำระเงินรายเดือนขั้นตำจะกลับมาเป็นอัตราปกติที่ 10%) เราคาดว่าข้อกำหนดการชำระเงินขั้นต่ำที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อลูกค้าของ KTC จำนวนมาก เนื่องจากประมาณ 30% ของผู้ถือบัตรเครดิต (20% ของลูกค้า) ชำระเฉพาะการชำระเงินรายเดือนขั้นต่ำจากยอดคงเหลือใน บัตรเครดิตเท่านั้น
แนวโน้มการเติบโตของกำไรไตรมาส 4/66 และปี 2023 ไม่น่าประทับใจ
เราคาดกำไรสุทธิไตรมาส 4/66 ที่ 1.8 พันล้านบาท (รูปที่ 1) เพิ่มขึ้น 5% YOY (การเติบโตของสินเชื่อ) แต่ลดลง 6% QoQ (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ที่เพิ่มขึ้นตามปัจจัยฤดูกาล) เราคาดการเติบโตของสินเชื่อในไตรมาสนี้อที่ 11% YoY และ 8% Q0Q หนุนโดยการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและความต้องการสินเชื่อเนื่องจากการบริโภคส่วนบุคคล เราคาดอัตราการตั้งสำรองไตรมาส 4/66 อยู่ที่ 5.6% ลดลง 40bps YoY แต่เพิ่มขึ้น 3bps QoQ การขยายตัวของสินเชื่อและอัตราการตั้งสำรองที่ลดลงจะกลบผลกระทบของ NIM ที่ลดลงมาอยู่ที่ 10.41% (ลดลง 16 bps YoY และ 23bps QoQ เนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น) ในไตรมาสนี้ จากประมาณการในไตรมาส 4/66 ของเรา เราคาดกำไรสุทธิปี 2566 จะอยู่ที่ 7.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% YoY หนุนโดยการขยายตัวของสินเชื่อ
การเติบโตของกำไรต่ำกว่ามาตรฐานจะยังคงดำเนินต่อไปในปี 2567
เราคาดกำไรสุทธิไตรมาส 1/67 ที่ 1.9 พันล้านบาท ทรงตัว YoY (ผลกระทบของการเติบโตของสินเชื่อจะถูกกลบด้วยการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น] และเพิ่มขึ้น 7% QoQ (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลง) เราคาดกำไรปี 2567 อยู่ที่ 8.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% YOY หนุนจากการเติบโตของ GDP ที่เร็วขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคในการสินค้าฟุ่มเฟือยและการเติบโตของสินเชื่อของ KTC ในปี 2567