บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):
Bank Sector: GSB นำร่องลดดอกเบี้ยเงินกู้ก่อนธนาคารอื่น (Neutral)
Event
อัพเดตแนวโน้ม
Impact
GSB ลดดอกเบี้ย MRR กดดันให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยตาม GSB ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายย่อย MRR ลง 15 bps เหลือ 6.845% โดย GSB เป็นธนาคารแรกที่นำรองลดดอกเบี้ย MRR ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อ้างอิงของสินเชื่อผู้บริโภครายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ก่อนที่จะลด MRR ลง 15 bps อัตราดอกเบี้ย MRR ของ GSB ก็ต่ำที่สุดในระดับอยู่แล้ว โดยอยู่ที่ 6.99% (MRR เฉลี่ยของ 5 ธนาคารใหญ่อยู่ที่ 7.3%) นอกจากนี้ การลดดอกเบี้ยรอบนี้อาจจะทำให้ ธปท. ขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ให้ลดอัตรดอกเบี้ยเงินกู้ลงบ้าง ทั้งนี้ ถ้าหากธนาคารพาณิชยอื่น ๆ ยังยืนยันที่จะคงอัตราดอกเบี้ย MRR เอาไว้เท่าเดิม หากมองในมุมของธนาคารรัฐ ก็อาจจะทำให้ KTB ถูกกดดันมากที่สุด
น่าจะเห็นการลดดอกเบี้ยสินเชื่อบางประเภทเร็วขึ้น
นับตั้งแต่ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นในกลางปี 2565 มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว 2% (จาก 0.5% เป็น 2.5%) ส่งผลให้ธนาคารปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย MOR +1.7%, MLR +1.8% และ MRR +1.35% ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่า โดยอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์เพิ่มขึ้นเพียง +5-10bps, อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำสามเดือน +0.75% และ เงินฝากประจำ 12 เดือน +1.25% ทั้งนี้ เนื่องจากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากน้อยมาก ทำให้ NIM ของธนาคารเพิ่มขึ้น 50bps ตลอดช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น หรือ +90bps ถ้าตัดต้นทุนการประกันเงินฝากออกไป ทั้งนี้ MRR ที่ต่างกันมากขึ้นระหว่างของธนาคารพาณิชย์ (7.3%) และธนาคารรัฐที่ 6.845% ทำให้เกิดมีแรงกดดันให้ธนาคารลดดอกเบี้ย
ธนาคารที่มีการปล่อยกู้สินเชื่อจดจำนองสูงจะถูกกดดันมากกว่า
เนื่องจาก MRR เป็นดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงสำหรับสินเชื่อจดจำนอง และ SME ขนาดกลาง เราจึงคิดว่าประเด็นนี้จะกดดัน SCB, KBANK, TTB และ KTB (figure xx) ทั้งนี้ เมื่อใช้สมมติฐานว่ามีการลด MRR ลง 10bps จะกระทบกับสินเชื่อจดจำนองทั้งหมด และ กระทบกับสินเชื่อ SME 50% ของพอร์ต ซึ่งจะกระทบกับกำไรของ SCB และ TTB 1.7% ในขณะที่กระทบกับกำไรของ KBANK 1.6% และของ KTB 1.2%
Risks
NPLs เพิ่มขึ้น และตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง.