บล.บัวหลวง:
WHA Corporation (WHA TB / WHA.BK)
WHA: ประเด็นสำคัญจากการประชุมที่เราจัด
เมื่อวันที่ 16 ม.ค. เราได้จัดการประชุมออนไลน์ให้นักลงทุนในประเทศ โดยประเด็นสำคัญจาก คุณ ณัฐพรรษ ตันบุญเอก (CFO ของ WHA) ตอกย้ำถึงมุมมองเชิงบวกของเราต่อแนวโน้มใน ปี 2567 ซึ่ง WHA น่าจะทำสถิติกำไรหลักใหม่ในปี 2567
กำไรหลักและยอดจองปี 2566 น่าจะทำสถิติสูงสุดใหม่
บริษัทคาดยอดขายที่ดินอุตสาหกรรมไตรมาส 4/66 ทะลุ 750 ไร่ ส่งผลให้ปี 2566 ยอดจองเกินเป้าหมายเดิม 2,750 ไร่ ลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค อิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์ การโอนที่ดินในไตรมาส 4/66 มากกว่า 1,000 ไร่ แต่ยอดขายโรงงานและคลังสินค้าลดลง YoY (จาก 5.4 พันล้านบาทมาเหลือ 3.5 พันล้านบาท) เราจึงคาดว่ากำไรหลักไตรมาส 4/66 ของ WHA อยู่ที่ 2.1 พันล้านบาท ลดลง 22% YoY (การขาย สินทรัพย์ให้กอง REITS ลดลง) แต่เพิ่มขึ้น 252% QoQ (ผลกระทบจากการขายทรัพย์สินให้และกอง REITS และการโอนที่ดินจำนวนมาก)
กำไรหลักปี 2567 จะทำสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้ง
การโอนที่ดินของ WHA ในปีนี้จะทำสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้ง (หลังจากยอดขายที่ดินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2566) และราคาขายที่ดินที่จะสูงขึ้นนอกจากกำไรที่แข็งแกร่งในธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมแล้ว บริษัทยังวางแผนที่จะขายสินทรัพย์โรงงานและคลังสินค้ามากกว่า 5 พันล้านบาทให้กับกองรีทในปีนี้ (เพิ่มขึ้นจาก 3.5 พันล้านบาทในปี 2566) เราจึงคาดว่ากำไรหลักปี 2567 จะทำสถิติใหม่ที่ 4.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% YoY WHA คาดยอดขายที่ดินในปี 2567 จะอยู่ที่ 2,200-2,300 ไร่ (1,600-1,700 ไร่ในประเทศไทย และ 600 ไร่ในเวียดนาม) โดยมีอัพไซด์อีกราว 1,000-2,000 ไร่ หากปิดดีลขายที่ดินจำนวนมากที่รอดำเนินการอยู่จำนวนหนึ่ง (ไม่รวม KIA)
โมเมนตัมจะแข็งแกร่งเหมือนเดิมในปี 2568
ความขัดแย้งระหว่างภูมิภาคจะยังคงหนุน FDI ในประเทศไทยและเวียดนาม นอกเหนือจากการย้ายห่วงโซ่อุปทานของยานยนต์มา (หรือขยายการผลิต) สู่ประเทศไทยแล้ว ความต้องการของผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ผู้ผลิตที่ต้องการแรงงานจำนวนมากอาจเลือกเวียดนามเป็นฐาน ซึ่ง WHA กำลังพัฒนานิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง โมเมนตัมดังกล่าวน่าจะต่อเนื่องไปจนถึงปี 2568 เป็นอย่างน้อย ในระยะยาว ผู้บริหารคาดว่ายอดจองซื้อในประเทศไทยจะอยู่ที่ 1,200-1,500 ไร่ต่อปี และในเวียดนามประมาณ 1,000 ไร่ต่อปี
อัตราค่าไฟฟ้าสีเขียวจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (UGTs) จะหนุน FDI
กกพ. จะดำเนินการ UGT โดยมีส่วนเพิ่มค่าไฟจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนให้กับอัตราค่าไฟขายปลีก และซื้อไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน โดย UGT เฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ราว 4.55 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง (คาดว่าจะเริ่มในปี 2568) ความพร้อมใช้งานของไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดจะดึงดูดผู้ประกอบการ (ที่มีเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนและ/หรือต้องการพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งหมุนเวียนมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคในส่งออกสินค้าไปยังยุโรป) ให้ย้าย (หรือขยายการผลิต) มายังประเทศไทย โดยหากต้องการใช้ไฟฟ้าหมุนเวียน 100% บริษัทเหล่านั้นจะต้องซื้อไฟจากโซลาร์รูฟ (ทางเลือกที่ถูกที่สุด) และ UGT (โซลาร์รูฟมีกำลังผลิตไม่เพียงพอสำหรับการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด) นโยบายดังกล่าวจะส่งผลเชิงบวกต่อทั้งการขายที่ดินของ WHA และความต้องการ PPA ของโซลาร์รูฟ