Daily Focus: Earnings and Selective Play

2024 SET Target: 1520

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index รีบาวด์ตามตลาดเพื่อนบ้าน นำโดยหุ้นแบงก์ที่ประกาศผลประกอบการดีกว่าตลาดคาด ก่อนจะซึมลงในช่วงท้ายตลาด ทำให้สิ้นวันปิดบวก 4.58 จุด ปิดที่ 1,382.51 จุด ด้วยปริมาณการซื้อขายใกล้เคียงวันก่อนหน้า 4.9 หมื่นลบ. นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 11 อีก 1.23 พันลบ. แต่กลับมา Long index futures เป็นครั้งแรกในรอบ 8 วันที่ 12,251 สัญญา ขณะที่สถาบันในประเทศขายหุ้นบางๆ 581 ลบ.

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่งตัว Sideways to Sideways Up ในกรอบ 1,375-1390 จุด โดย Sentiment บวกจากฝั่งต่างประเทศช่วยหนุน หลังตัวเลขดัชนีความเชื่อ ผู้บริโภคมิชิแกนเดือน ม.ค. สหรัฐฯที่ออกมาดีกว่าคาด ขณะที่ Inflation Expectation ปรับตัวลงซึ่งเป็นบวกต่อการดำเนินนโยบายการเงินของ FED อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวคาดว่ายังคงจำกัด โดยถูกกดดันจากผลประกอบการ 4Q’23 ของกลุ่มธนาคารส่วนใหญ่ออกที่ออกมาต่ำกว่าคาดมาก และนำไปสู่การปรับประมาณการและราคาเป้าหมายลง ทำให้โฟกัสตลาดจะอยู่ที่การทยอยคาดการณ์และประกาศกำไร 4Q23 ของบจ.ในระยะถัดไป ปัจจัยที่ตลาดรอติดตามสัปดาห์นี้คือตัวเลข GDP 4Q23 ของสหรัฐฯคืนวันพฤหัสฯ ส่วนในประเทศติดตามพัฒนาการข่าวของนโยบายเงินดิจิทัล ซึ่งมีแนวโน้มล่าช้าจากกำหนดเดิมเดือน พ.ค. โดยรวมตลาดดูขาดความน่าสนใจในระยะสั้น อย่างไรก็ตามดัชนีพักฐานลงราว 4% จาก High ช่วงต้นปีซึ่งสะท้อน ปัจจัยกดดันต่างๆไปพอสมควร ขณะที่ Valuation สำหรับการลงทุนระยะยาวยังไม่แพง โดยเทรด 2024PER ราว 14.5 เท่า และ EY Gap ที่กว่า 4.1%

กลยุทธ์ : เลือกหุ้นที่โมเมนตัมกำไร 4Q23-2024 แข็งแกร่งและ PER/PBV ต่ำเทียบกับ Pre-Covid

หุ้นเด่นเดือน ม.ค.: CHG, COM7, GFPT, SAPPE, SAWAD

หุ้นเด่นวันนี้ : CHG

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 4 บาท
  • คาดกำไร 4Q23 ยังแข็งแกร่งต่อเนื่องจากโรคระบาดในปัจจุบันที่ยังค่อนข้างมาก ทั้งไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 ทำให้ผู้ป่วยคาดว่ายังคงหนาแน่นช่วยหนุน Utilization Rate ให้คาดว่ายังอยู่ในระดับสูง
  • เราคาดกำไรปี 2024 พลิกกลับมาเติบโต +16% Y-Y และอาจมี Upside หาก CHG ได้โควต้าผู้ประกันตนของประกันสังคมเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับ BCH ในช่วงก่อนหน้า ด้าน Valuation ยังน่าสนใจ ปัจจุบันเทรด PER เพียง 25 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่กว่า 30 เท่า
  • แนวรับ 3.10-3.06//2.90 บาท แนวต้าน 3.20//3.34-3.40 บาท

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) TTB กำไรสุทธิ 4Q23 ที่ 4.9 พันลบ. +3% q-q และ +27% y-y ดีกว่าตลาดและเราคาด 9-11% โดยหลักมาจากรายการโอนกลับภาษีเงินได้ราว 4.2 พันลบ. หากไม่รวมรายการดังกล่าว กำไรก่อนภาษีเท่ากับ 670 ลบ. -89% q-q และ -86% y-y เนื่องจากธนาคารฯ ได้กันสำรอง ECL เท่ากับ 9.33 พันลบ. +114% q-q และ +94% y-y เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่ NPL ratio ลดลงมาที่ 2.62% จาก 2.67% ในงวดก่อนหน้า ส่งผลให้ Coverage Ratio เพิ่มขึ้นมาที่ 155% เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2024-25 ลง 8-11% เพื่อสะท้อน NIM ที่ต่ำกว่าคาด และแนวโน้มธุรกิจหลักของธนาคารและเช่าซื้อที่ยังไม่สดใส (ยังไม่ได้รวม tax benefit ที่เหลือ) อย่างไรก็ตามเราได้ราคาเป้าหมายใหม่ 2.19 บาท จากการรวม tax benefit ที่เหลือไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้นทำให้ ROE สูงขึ้น และให้ Div. Yield 5-6% ปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น “ซื้อ”

(+) SCB กำไรสุทธิ 4Q23 ที่ 1.1 หมื่นลบ. +14% q-q, +54% y-y ดีกว่าตลาดและเราคาด 21-23% จากการตั้งสำรองที่ต่ำกว่าคาด ชดเชยรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่น้อยกว่าคาด ส่วน PPOP +7% q-q,+32% y-y ตามคาด จาก NIM ที่ปรับขึ้นตามดอกเบี้ยตลาดที่เป็นขาขึ้น ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์ยังคงอ่อนแอ NPL เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.44% เราปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2024-25 ลง 2-7% เป็นการเติบโต +1% y-y และ +5% y-y ตามลำดับ เพื่อสะท้อน guidance ปี 2024 ของธนาคารที่ปรับลดเป้าการเติบโตของ สินเชื่อและปรับเพิ่มเป้า Credit cost ทำให้ได้ราคาเป้าหมายใหม่ 118 บาท Div. yield 7% แนะนำ “ซื้อ”

(-) KBANK กำไรสุทธิ 4Q23 ที่ 9.4 พันลบ. -17% q-q, +194% y-y ต่ำกว่าเราคาดและตลาดคาด 17-20% ส่วนให้ญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นจาก 1) ECL ที่สูงกว่าคาด โดย credit cost เพิ่มเป็น 220bp เพื่อรองรับการตัดหนี้สูญเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ NPL formation ที่สูงกว่า credit cost ที่ตั้ง ทำให้ NPL ratio ยังไต่ระดับสูงขึ้นมาที่ 3.70% 2) ค่าใช้จ่ายดำเนินงานตามฤดูกาลที่สูงกว่าคาด แนวโน้มปี 2024 ยังไม่สดใสจากความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นจึงปรับลดประมาณการกำไรปี 2024-25 ลงเป็นเติบโต +5% y-y และ +9% y-y ตามลำดับ ได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 140 บาท และลดคำแนะนำเป็น “ถือ”

(-) KTB กำไรสุทธิ 4Q23 ที่ 6.1 พันลบ. -41% q-q, -25% y-y ค่อนข้างผิดหวัง จากการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาดมาก เนื่องจากการจัดชั้นหนี้สงสัยจะสูญลูกค้า Corporate และ ITD ขึ้นเป็น Stage 2 ทำให้จำเป็นต้นตั้งสำรองสูงเป็นพิเศษ ทำให้คุณภาพสินทรัพย์โดยรวมแย่ลง NPL เพิ่มขึ้นเป็น 3.36% อย่างไรก็ตามยังบริหารจัดการได้ ขณะที่กำไรก่อนตั้งสำรอง PPOP -1% q-q, +15% y-y ตามคาด เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2024-25 ลง 5-8% เป็นการเติบโตเฉลี่ย 2-3% ต่อปี เพื่อสะท้อนการตั้งสำรองที่สูงขึ้น และสินเชื่อเติบโตลดลงทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ราคาเป้าหมายใหม่ 19.90 บาท Div. Yield 4% และลดคำแนะนำเป็น “ถือ”

(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 395.19 จุด หรือ +1.05% ปิดที่ 37,863.80 จุด ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี ขานรับการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐที่พุ่งขึ้นเกินคาด

(-) ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ ปรับตัวลงในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนมีความหวังน้อยลงเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางรายใหญ่ต่างๆ ในปีนี้ และจุดสนใจของตลาดในขณะนี้อยู่ที่การประชุมนโยบายของ ECB ใน สัปดาห์นี้

(+) ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวก ตามหลังตลาดสหรัฐที่ปรับตัวทำจุดสูงสุดใหม่ในวัน ศุกร์ที่ผ่านมา

(+) ค่าเงินบาทแข็งค่า อยู่ที่บริเวณ 35.54 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ -0.12%

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 67 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 73.41 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ปรับตัวขึ้นมากกว่า 1% ในรอบสัปดาห์นี้ ขณะที่บรรดาเทรดเดอร์ประเมินปัจจัยลบต่าง ๆ อาทิ ปริมาณน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและแนวโน้มอุปสงค์ที่อ่อนแอ ซึ่งได้บดบังปัจจัยบวกจากปัญหาด้านการผลิตที่เกี่ยวกับสภาพอากาศในสหรัฐและความตึงเครียดอย่างต่อเนื่องในตะวันออกกลางในขณะที่เช้านี้ลบเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 73.39 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ -0.03%

(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 7.70 ดอลลาร์ หรือ 0.38% ปิดที่ 2,029.30ดอลลาร์/ออนซ์ แต่ลดลงราว 1.06% ในรอบสัปดาห์นี้ เนื่องจากได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ซึ่งจะเพิ่มความน่าดึงดูดของทอง โดยทำให้สัญญาทองคำมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น ในขณะที่เช้านี้ปรับบวกที่ระดับ 2,053.30 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ +0.23%

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 862.10/ –

- Advertisement -