บล.พาย:

KBANK: Kasikornbank PCL ผลการดำเนินงานบนเส้นทางการฟื้นตัว

เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐานที่ 152 บาท เราคงมุมมองบวกต่อความสามารถการทำกำไรที่ดีขึ้น ขณะที่กระบวนการบริหารงบดุลจะแล้วเสร็จในปี 2024 ทำให้คุณภาพหนี้มีเสถียรภาพมากขึ้น ธนาคารสามารถปรับลดสำรองหนี้ฯ ลงช่วยหนุนให้ความสามารถการทำกำไรขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี แม้กำไรสุทธิใน 4Q23 จะออกมาดีกว่าคาดราว 7% อยู่ที่ 9.4 พันล้านบาท (+190.9% YoY, -16.8% QoQ) และกำไรสุทธิในปี 2023 ที่ 42.4 พันล้านบาท (+18.5% YoY) แต่เราได้ปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิในปี 2024-25 ลง เพราะ NIM มีแนวโน้มจะต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ เนื่องจากโอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศ เราคาดว่ากำไรสุทธิในปี 2024-25 จะเติบโตชะลอตัวลงที่ 9.1%/8.9% ด้านการประเมินมูลค่า หุ้นซื้อขายที่เพียง 0.5x PBV’24E หรือ -1.25SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี

การประชุมนักวิเคราะห์

  • ธนาคารจะเปิดเผยเป้าหมายทางการเงินปี 2024 ในการประชุมครั้งหน้าในวันที่ 26 ม.ค. ทำให้เนื้อหาการประชุมในวันศุกร์เน้นเรื่องผลการดำเนินงานใน 4Q23 เป็นหลัก ทั้งนี้ ด้วยการมุ่งเน้นต่อการ จัดการงบดุล เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ ขายหนี้เสีย และการตัดจำหน่ายหนี้สูญ กอปรกับเศรษฐกิจฟื้นตัวแบบ K-Shape ไม่ครอบคลุมทั้งประเทศ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายสินเชื่อในปี 2023 และธนาคารจะจำกัดการปล่อยสินเชื่อในกลุ่มลูกค้า และธุรกิจที่ยังอ่อนแอ
  • สินเชื่อที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ (Comprehensive debt restructuring) ใน 4Q23 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2,508 พันล้านบาท (7.4% ของสินเชื่อรวม) เทียบกับ 2,452 พ้นล้านบาท (พันลบ.)
    ใน 3Q23 (6.8% ของสินเชื่อรวม) อีกทั้งสินเชื่อใน Stage 2 ปรับ ขึ้นเป็น 185 พันลบ. (3Q23: 179 พันลบ.) และ Stage 3 เพิ่มเป็น 92 พันลบ. (3Q23: 87 พันลบ.) สะท้อนคุณภาพสินเชื่อยังต้องดูแลใกล้ชิด อย่างไรก็ดี KBANK ยืนยันว่าคุณภาพสินเชื่ออยู่ในระดับการจัดการได้ และระดับสำรองหนี้ฯ รวมเพียงพอรับความเสียงในอนาคต ขณะที่แนวโน้มของ Credit cost ในปี 2024 จะปรับลดลงเทียบกับ 208 bps ในปี 2023 และอยู่ระดับ 140-160 bps ในปี 2025 เหมือนอย่างที่เคยให้ข้อมูลไว้กับนักลงทุน

คาดการเติบโตของกำไรจะชะลอตัวในปี 2024-25

  • แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศมีโอกาสจะปรับลดลง ซึ่งจะกดดันให้ NIM ต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ โดยปรับสมมติฐาน NIM เหลือ 3.7%/3.6% ในปี 2024-25 (เดิม 3.85%/3.8%) ส่งผลให้เราปรับคาดการณ์กำไร สุทธิปี 2024-25 ลดลง 3%/7% โดยคาดว่ากำไรสุทธิในปี 2024 จะเติบโตชะลอลงที่ 9.1%/8.9% ในปี 2024-25 ตามลำดับ

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ปรับลดมูลค่าพื้นฐานเหลือ 152 บาท

แนะนำ “ซื้อ” เนื่องจาก (1) แนวโน้มการเติบโตของกำไรในปี 2024-25 (2) ROE เป็นขึ้นขาขึ้น (3) สำรองหนี้ฯ ลดลง หลังจากกระบวนการบริหารคุณภาพสินเชื่อจะแล้วเสร็จในปี 2024 และ (4) มูลค่าหุ้นที่น่า ถึงดูด อย่างไรก็ดี เราปรับลดมูลค่าพื้นฐานเหลือ 152 บาท (เดิม 159บาท) จากการปรับลดคาดการณ์กำไรลดลง โดยประเมินมูลค่าพื้นฐาน คำนวณด้วยวิธี GGM (ROE 8.5%, TG 2%) อิงจาก 0.64x PBV’24E หรือ -1.0SD ต่อค่าเฉลี่ย 10 ปี

สรุปผลการดำเนินงานใน 4Q23 และปี 2023

  • กำไรสุทธิงวด 4Q23 อยู่ที่ 9.4 พันล้านบาท (+190.9% YoY, +16.8% QoQ) โดยกำไรสุทธิเติบโตสูง YoY เนื่องจากสำรองหนี้ฯ ปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (-40.4% YoY) และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) ขยายตัวจากการเติบโตของสินเชื่อ และ NIM ปรับเพิ่มขึ้นขณะที่กำไรสุทธิลดลง QoQ เพราะสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากปัจจัยฤดูกาล
  • กำไรสุทธิในปี 2023 อยู่ที่ 42.4 พันล้านบาท (+18.5% YoY) เนื่องจาก (1) NII เพิ่มขึ้น และ (2) ผลกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงิน ที่วัดด้วยมูลค่ายุตธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน (FVTPL) เพิ่มขึ้น
  • NIM ใน 4Q23 ปรับสูงขึ้น QoQ ที่ 3.9% ส่งผลให้ NIM เฉลี่ยในปี 2023 ทรงตัวจากปี 2022 ที่ 3.7% ด้าน Cost to income ratio (CIR) เพิ่มขึ้น QoQ ที่ 48.2% เพราะค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ทำให้ CIR เฉลี่ยในปี 2023 เพิ่มเป็น 44.5% (2022: 43.1%)
  • สินเชื่อใน 4Q23 ขยายตัว 2.1% QoQ แต่สินเชื่อในปี 2023 หดตัวเล็กน้อย 0.2% YoY เนื่องจากการลดลงของสินเชื่อ SME สินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อส่วนบุคคล รวมทั้งผลกระทบจากการขายหนี้เสีย และการตัดจำหน่ายหนี้สูญ
  • ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง ยังคงกดดันคุณภาพสินเชื่ออ่อนแอลง โดยหนี้เสียปรับสูงขึ้นจากหนี้เสียของ SME และบริษัทขนาดใหญ่ โดย NPL ratio ปรับขึ้นที่ 3.2% (3Q23: 3.1%) และอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ต่อหนี้เสีย (Coverage ratio) อยู่ที่ 152.2% ใน 4Q23 (3Q23: 154.9%)

 

- Advertisement -