บล.พาย:

TTB: TMBThanachart PCL ความสามารถทำกำไรและเงินปันผลสูง

เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ปรับเพิ่มมูลค่าพื้นฐานเป็น 1.98 บาท หากไม่รวมรายการพิเศษจากสำรองหนี้ฯ พิเศษ และผลประโยชน์ทางภาษี กำไรจากการดำเนินงานใน 4Q23 เป็นไปตามคาด โดย TTB มีกำไรสุทธิใน 4Q23 ดีกว่าคาด 13% ที่ 4.9 พันล้านบาท (+26.4% YoY, +2.8% QoQ) ทำให้กำไรสุทธิในปี 2023 เพิ่มขึ้น 30.1% YoY ที่ 18.5 พันล้านบาท หลังจากเข้าร่วมการประชุมนักวิเคราะห์ เราปรับประมาณการกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 11%/14% ในปี 2024-25 หลักๆ จากผลประโยชน์ทางภาษี โดยคาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโต 14% YoY ในปี 2024 และเติบโต 5.8% ในปี 2025 ปัจจุบัน หุ้นซื้อขายที่ราว 0.7x PBV’24E ยังคงน่าสนใจในการลงทุนโดยมีอัตราผลตอบแทนการลงทุนรวม 23.6% (Capital gain 17.2% และ Dividend yield 6.4%)

การประชุมนักวิเคราะห์

  • ในปี 2024 TTB ยังเน้นกลยุทธ์แบบตั้งรับขยายลูกค้าที่มีคุณภาพและสร้างการเติบโตจากการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการ พัฒนาระบบ ดิจิตอลเพื่อลดต้นทุนการให้บริการ ทั้งนี้ TTB ไม่เน้นการขยายงบดุล และกังวลต่อการการฟื้นตัวเศรษฐกิจ และแรงกดดันในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้การเติบโตจะเป็นอย่างระมัดระวัง ทั้งนี้การเพิ่มสำรองหนี้ฯ พิเศษใน 4Q23 ทำให้ Coverage ratio เพิ่มเป็น 154.9% ช่วยสร้างความแข็งแกร่งรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต โดยมองว่า Coverage ratio ที่เหมาะสมอยู่ที่ 145%
  • เป้าหมายทางการเงินปี 2024 (1) สินเชื่อทรงตัว (2023: -3.5%) (2) เงินฝากขยายตัวล้อกับการขยายสินเชื่อ (2023: -0.9%) (3) ส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ที่ 3.1-3.25% (2023: 3.24%) (4) รายได้
    ที่มิใช่ดอกเบี้ย (Non-NII growth) Low single digit growth (2023: -3.4%) มองว่ารายได้ค่าธรรมเนียมจะกลับมาเติบโต (5) Cost to income ratio ที่ Mid-40s (6) NPL ratio ≤2.9% (2023: 2.62%) (7) Credit cost ที่ 125-135 bps (2023: Normal provision 128 bps และ Total provision 164 bps)

คาดการเติบโตของกำไรจะชะลอตัวในปี 2024-25

  • แม้กำไรก่อนสำรองหนี้ฯ และภาษีในปี 2023 เป็นตามคาด แต่เพราะผลประโยชน์ทางภาษี ทำให้กำไรสุทธิปี 2023 ดีกว่าคาด นอกจากนี้ TTB สามารถใช้ประโยชน์ทางภาษีได้อีก 15.5 พันล้านบาท จนถึงปี 2028 หากประเมินกำไรก่อนภาษี และภาษีจ่ายที่ควรจะเกิดขึ้น คาดว่า TTB จะสามารถใช้ประโยชน์ทางภาษีได้อีก 3-5 ปี
  • จากประเดินข้างต้น เราปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2024-25 เพิ่มขึ้นราว 11%/14% โดยคาดว่ากำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้น 14%/5.8% ในปี 2024-25

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ปรับเพิ่มมูลค่าพื้นฐานเป็น 1.98 บาท

แนะนำ “ซื้อ” เนื่องจาก (1) ความสามารถการทำกำไรที่สูงขึ้น (2) งบดุลแข็งแกร่ง ควบคุมคุณภาพสินเชื่อที่ดี และการเพิ่มความแข็งแกร่งจากการตั้งสำรองหนี้ฯ พิเศษในปี 2023 (3) อัตราผลตอบแทนการลงทุนรวม 23.6% (Capital gain 17.2% และDividend yield 6.4%) เราได้ปรับเพิ่มมูลค่าพืนฐานเป็น 1.98 บาท (เดิม 1.85 บาท) จากการปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้น คำนวณด้วยวิธี GGM (ROE 9%, TG 2%) อิงจาก 0.8x PBV’24E หรือ -0.5SD ต่อค่าเฉลี่ย 10 ปี

สรุปผลการดำเนินงานใน 4Q23 และปี 2023

  • กำไรสุทธิงวด 4Q23 อยู่ที่ 4.9 พันล้านบาท (+26.4% YoY, +2.8% QoQ) ดีกว่าคาด 13% ในไตรมาสนี้มีรายการพิเศษ 2 เรื่อง (1) การตั้งสำรองหนี้ฯ พิเศษราว 4.9 พ้นล้านบาท เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต ทำให้สำรองหนี้ฯ รวมใน 4Q23 เพิ่มเป็น 10 พันล้านบาท (+94.2% YoY, +114.2% QoQ) และ (2) การกลับภาษีจ่ายเป็นผลประโยชน์ทางภาษี 4.2 พันล้านบาท ใน 4Q23 และทำในปี 2023 รับรู้เป็นผลประโยชน์ทางภาษี 980 ล้านบาท (TTB บันทึกภาษีจ่าย 3.2 พันล้านบาท ใน 9M23) โดยเป็นผลประโยชน์ทางภาษีที่เกิดจากผลขาดทุนในเงินลงทุนใน บริษัท ทีบีชีโอ (เดิมคือ ธนาคารธนชาต (TBANK)) โดย TTB สามารถรับรู้ได้ตามผลกำไรที่เกิดขึ้นในงวด ส่งผลให้ธนาคารไม่มีค่าใช้จ่ายทางภาษีในปี 2023 ทั้งนี้ ผลประโยชน์ทางภาษีส่วนที่เหลือจำนวน 15.5 พันล้านบาท สามารถรับรู้ได้ถึงปี 2028 โดยการใช้ผลประโยชน์ทางภาษีจะทยอยรับรู้ตามการประมาณการรายได้ในอนาคต
  • โดยกำไรสุทธิที่เติบโต YoY และ QoQ เนื่องจาก (1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) เพิ่มขึ้น จาก NIM ปรับเพิ่มขึ้น และ (2) ผลประโยชน์ทางภาษี และ (3) การขยายตัวของรายได้ค่าธรรมเนียม QoQ จากธุรกิจ Bancasssurace เป็นหลัก
  • กำไรสุทธิในปี 2023 อยู่ที่ 18.5 พันล้านบาท (+30.1% YoY) เนื่องจาก NII เพิ่มขึ้น และผลประโยชน์ทางภาษีที่เกิดขึ้นใน 4Q23 แม้ว่าค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ และการดำเนินงานจะเพิ่มขึ้น
  • NIM ใน 4Q23 ปรับสูงขึ้น Q0Q ที่ 3.4% ส่งผลให้ NIM เฉลี่ยในปี 2023 เพิ่มเป็น 3.2% (2022: 2.95%) ด้าน Cost to income ratio (CIR) เพิ่มขึ้น QoQ ที่ 45.5% โดย CIR เฉลี่ยในปี 2023 อยู่ที่ 44.1% (2022: 45.5%)
  • สินเชื่อใน 4Q23 ลดลง 2.5% QoQ ทำให้สินเชื่อในปี 2023 หดตัว 3.5% YoY จากการลดลงของสินเชื่อธุรกิจ
  • คุณภาพสินเชื่อทรงตัว NPL ratio อยู่ที่ 2.6% และอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ต่อหนี้เสีย (Coverage ratio) อยู่ที่ 154.9.% ใน 4Q23

 

- Advertisement -