บล.เอเซีย พลัส:
KKP Under renovation
ฝ่ายวิจัยมีมุมมองกลางต่อการประชุมนักวิเคราะห์เช้าวานนี้ แม้ KKP มอง CREDIT COST ลดลง หลังปรับนโยบายสินเชื่อ ผ่านการชะลอการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อตั้งแต่ 3Q66 นำไปสู่เป้าหมายการเติบโตด้านสินเชื่อปี 2567 เหลือเพียง 3% YOY (ปี 2566 บวก 5.3% YOY, ปี 2565 + 21% YOY) แต่ยังมองผลขาดทุนรถยึดทรงตัวสูงในช่วง 1H67 ทำให้ฝ่ายวิจัยคาดเป็นเหตุให้ OPEX ทั้งปี 2567 สูงขึ้น ขณะที่ฝั่งรายได้ ยังดูท้าทายจาก NII ที่เผชิญ SPREAD แคบลง ตามการทยอย REPRICING เงินฝากประจำ ส่วน NON – NII ถูกกดดันจากความผันผวนของ
ตลาดทุน ภาพรวมประเมินเป็นเหตุให้กำไรก่อนสำรอง (PPOP) ลดลง 8% YOY ภายหลังปรับลดกำไรสุทธิปี 2567 – 68 เฉลี่ย 8% จาก OPEX สะท้อนผลขาดทุนรถยึดที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้คาดกำไรสุทธิปี 2567 ลดลง 2% YOY อิง PBV ให้ FV ใหม่ที่ 49 บาท (เดิม 56 บาท) คงแนะนำ UNDERPERFORM จากความไม่แน่นอนของผลขาดทุนรถยึด ประกอบกับคาด DIV YIELD ปี 2566 ไม่โดดเด่นเหมือนในอดีต โดยในกลุ่มฯ เน้นไปที่ TTB และ TISCO ที่ให้ DIV YIELD ต่อปีสูงกว่า
เดินหมากผิด … ปรับทางใหม่ปี 2567
จากการประชุมนักวิเคราะห์ เริ่มด้วยกาสรุปกำไรสุทธิงวด 4Q66 ที่ 670 ล้านบาท (-48% QoQ, -53% YoY) และปี 2566 ระดับกำไรลงมาอยู่ที่ 5.4 พันล้านบาท (-28% YoY) จากทั้งปัจจัยฝั่งธนาคาร เพราะการตั้ง ECL ตามระดับ NPL ประกอบกับผลขาดทุนรถยึดสูงขึ้น มาจากทั้งปริมาณ NPL รถยนต์ของ KKP ที่เพิ่มขึ้นและราคารถยนต์มือสองที่ต่ำลง (ตามรูปด้านล่าง) ซึ่งผลกระทบปี 2566 ชัดเจนกว่ากลุ่มฯ ในมุมมองฝ่ายวิจัยมองว่าเป็นผลจากการขยายตัวเชิงรุกพอร์ตเช่าซื้อ ตั้งแต่สิ้นงวด 4Q62 ถึง สิ้นงวด 4Q66 เปลี่ยนแปลงราว 74% (สัดส่วน
รถยนต์มือสอง : รถยนต์ใหม่ : รถแลกเงิน ที่ 47% : 39% : 14% ของพอร์ตเช่าซื้อรถที่ 1.9 แสนล้านบาท) สวนทางกลุ่มฯ ที่พยายามลดขนาดพอร์ตเช่าซื้อลง (พอร์ตเช่าซื้อ BAY + 4% จาก 4Q62, SCB – 21% จาก 4Q62, TISCO – 23% จาก 4Q62 และ TTB ทรงตัวจาก 4Q62) ขณะที่ฝั่ง Capital market เผชิญความ
ผันผวนจากภาวะตลาดทุน (รายละเอียดงบ 4Q66 News plus (LINK))
ขณะที่กลยุทธ์ปี 2567 เป็นไปอย่างระมัดระวัง ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยมีเป้าหมายทางการเงินปี 2567 หลักๆ ดังนี้
1. สินเชื่อ เติบโต 3% YoY (ปี 2566 บวก 5.3% YoY, ปี 2565 + 21% YoY) เน้นไปที่กลุ่มรถแลกเงินที่ให้ผลตอบแทนเทียบความเสี่ยง น่าสนใจ
2. Loan spread ที่ 5% (ปี 2566 ที่ 5.2%) แคบลง ตามการ repricing เงินฝากประจำ (สัดส่วน 54% ของเงินฝากรวมหุ้นกู้)
3.) Credit cost (รวมผลขาดทุนรถยึด) อยู่ที่ 2.5% – 2.7% เทียบกับปี 2566 ตามการคำนวณฝ่ายวิจัยไม่รวมผลจากการใช้ Excess reserve ราว 755 ล้านบาท ที่ 2.8% แบ่งเป็นการตั้ง ECL ที่ 6.1 พันล้านบาท VS 2565 ที่ 5 พันล้านบาท ส่วนผลขาดทุนรถยึด 4.9 พันล้านบาท เทียบปี 2565 ที่ 1.8 พันล้านบาท ซึ่งทาง KKP
มองผลขาดทุนรถยึดยังทรงตัวสูงช่วง 1H67 ตามการเร่งระบาย NPL พอร์ตเช่าซื้อ และฟื้นตัวตั้งแต่ 2H67 ตามปริมาณขายที่มีโอกาสลดลง หลังเร่งระบายในช่วง 1H67 และการเข้มงวดนโยบายสินเชื่อเช่าซื้อตั้งแต่ 3Q66 (ปัจจัยด้านราคา มองเป็นไปตามภาวะตลาด ขึ้นอยู่กับ demand และ supply ช่วงนั้น) โดยกรอบ Credit cost ข้างต้น อยู่ภายใต้การบริหารจัดการ NPL Ratio ณ สิ้นปี 2567 ที่ 3.5% -3.7% (VS ปี 2566 ตาม MD&A ไม่รวมธุรกิจบริหารสินทรัพย์ที่ 3.2%)
ปรับลดกำไรปี 2567 – 68 เฉลี่ย 8% สะท้อนขาดทุนรถยึด
แม้เป้าหมายทางการเงินเชิง Credit cost ลดลงจากปีก่อน (จากฐานการตั้ง ECL ที่สูงในปีก่อน) แต่ดัชนีราคารถยนต์มือสองที่ร่วงหล่นช่วง 2H66 ตามรูปข้างต้นจะถูกรับรู้เต็มปีในปี 2567 โดยแม้ฝ่ายวิจัยมองว่าดัชนีราคารถยนต์มือสอง ใกล้ถึงจุดต่ำสุดของดัชนี หลังดัชนี ณ สิ้น พ.ย. 66 ปรับฐานจากจุดสูงสุดช่วง ก.พ. 65 ราว 38% ประเมินราคาเฉลี่ยทั้งปี 2567 ไม่น่าลงจาก พ.ย. 66 มาก เพียงแต่กำลังซื้อในประเทศที่ชะลอตัว, การระบาย NPL พอร์ตเช่าซื้อทั้งระบบ, ความต้องการใช้รถยนต์พาณิชย์ที่กว่าจะเร่งตัวขึ้น คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังงบประมาณภาครัฐเริ่ม
เบิกใช้ช่วง 2H67 (หรือการฟื้นตัวของภาคส่งออก ตามเศรษฐกิจจีน) และการทยอยเปลี่ยนผ่านไปสู่ EV ภาพรวมประเมินราคารถยนต์มือสองไม่น่าฟื้นตัวเร็ว
องค์ประกอบรวมฝ่ายวิจัยคาดการณ์เป็นเหตุให้ OPEX ปี 2567 ไม่ลดลง โดยสมมติฐานขาดทุนรถยึดปี 2567 ของฝ่ายวิจัยอยู่ที่ 5 พันล้านบาท เทียบกับ 4.9 พันล้านบาทปี 2566 ด้านแนวโน้มรายได้ถูกกดดันจากทั้ง NII ตาม Spread ที่แคบลง ขณะที่ Non – NII รายได้ค่าธรรมเนียมฯ กลุ่ม บล. ยังท้าทาย หลังเปิด ม.ค.ที่มูลค่าการซื้อขายส่วนใหญ่เป็นจุดสูงสุดของปี ดูอ่อนแรง ตามความผันผวนของตลาด ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องถึงดีล IB ที่ถูกเลื่อนมาจากปีก่อน ส่วนรายได้ที่มีความผันผวน อย่าง ธุรกิจบริหารสินทรัพย์และรายการหนี้สูญรับคืน มีความไม่แน่นอน หากไม่มีการรับรู้ ส่งผลต่อรายได้อย่างเห็นได้ชัด ดังที่เกิดขึ้นในงวด 4Q66 (รายได้อื่น 4Q66 ที่ 80 ล้านบาท VS 4Q65 ที่ 821 ล้านบาท และ 4Q64 ที่ 1.2 พันล้านบาท, ค่าเฉลี่ย 1Q63 – 4Q66 ที่ 199 ล้านบาทต่อไตรมาส) โดยรวมคาดกำไรก่อนสำรอง (PPOP) ปี 2567 ลดลง 8% YoY อยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท
ด้วยปัจจัยที่กล่าวทั้งหมดข้างต้น นำไปสู่การปรับลดกำไรสุทธิปี 2567 – 68 เฉลี่ย 8% หลักๆ มาจากการปรับลดรายได้ค่าธรรมเนียมฯ และเพิ่มสมมติฐาน OPEX ส่งผลให้กำไรสุทธิปี 2567 – 68 เท่ากับ 5.3 พันล้านบาท (-2% YoY) และปี 2568 ที่ 6 พันล้านบาท (+12% YoY) แม้ปี 2568 ฟื้นได้ดีกว่ากลุ่มฯ แต่มองเป็นเพราะฐานกำไรต่ำ ขณะที่ ROE ปี 2568 ขยับมาที่ 9% จาก 8.5% ปี 2567 (ปี 2566 ที่ 9.2%) ยังถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปี 2562 –66 ที่ 12.3%
เล่นปันผลมีตัวเลือกที่ดีกว่า
ภายใต้ประมาณการใหม่ อิง GGM ปรับลด ROE ระยะยาวเหลือ 8.8% (เดิม 9.2%), COE ที่ 12.4% ให้ PBV ที่ 0.64 เท่า (เดิม 0.73 เท่า) ได้ FV ใหม่ปี 2567 ที่ 49 บาท (เทียบเท่า PER ที่ 7.8 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2560 ที่ 8.8 เท่า จากความเสี่ยงพอร์ตเช่าซื้อรถมือสองที่สูงขึ้นจากอดีต) คงแนะนำ Underperform จากแนวโน้มกำไรปี 2567 มีหลายปัจจัยท้าทาย ขณะที่เงินปันผลปี 2566 ที่คาดไว้ 2.5 บาทต่อหุ้น (Dividend payout ratio ที่ 39% VS ปี 2565 ที่ 36%) ช่วง 1H66 มีการจ่ายปันผลแล้ว 1.25 บาทต่อหุ้น คงเหลือ 2H66F ที่ 1.25 บาทต่อหุ้น คิดเป็น Div Yield ราว 3% (54% ของ EPS 2H66 ที่ 2.3 บาทต่อหุ้น) ส่วนปี 2567 คาด
Div yield ราว 5% ไม่เด่นเมื่อเทียบกับในอดีต โดยในกลุ่มฯ ฝ่ายวิจัย เน้นไปที่ TTB และ TISCO ที่ให้ Div yield สูงกว่าที่ 6% และ 7% – 8% ต่อปี ตามลำดับ
ประเด็นความเสี่ยงที่มีน้ำหนักต่อประมาณการของ KKP
1. กรณีที่สินเชื่อเติบโตต่ำกว่าเป้าหมาย ทุกๆ 1% ของคาดการณ์สินเชื่อสุทธิปี 2567 ที่ลดลงจากปัจจุบันที่ประเมินไว้เติบโต 2% yoy จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 0.3% และกำไรสุทธิปี 2567 ลดลง 0.7%
2. NIM ลดลงต่ำกว่าคาด โดยทุกๆ 10bps ของ NIM ที่ลดลงจากคาดการณ์ปี 2567 ที่ 4.2% จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 2.3% และกำไรสุทธิปี 2567 ลดลง 7.5%
3. กรณีที่คุณภาพสินทรัพย์แย่กว่าคาด โดยทุกๆ 0.1% ของคาดการณ์ Credit cost ปี 2567 ที่เพิ่มจากที่ประเมินไว้ 1.3% จะทำให้ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่ม 7.8% จากปัจจุบัน และทำให้กำไรสุทธิปี 2567 ลดลง 6%