บล.พาย:

CPF: Charoen Pokphand Foods PCL

4Q23 ถ้าไม่รวมรายการพิเศษยังคงขาดทุน

เราคาดว่า CPF จะรายงานกำไรสุทธิ 131 ล้านบาท มีกำไรครั้งแรกในรอบปี แต่มาจากรายการพิเศษอย่างการขายเงินลงทุนในธุรกิจไก่ที่ประเทศจีนเข้ามาประมาณ 3,000 ล้านบาท หากไม่รวมรายการดังกล่าวจะยังขาดทุนอีกกว่า 2,800 ล้านบาท ยังคงได้รับผลกระทบจากราคา สุกรที่ยืนในระดับตำ รวมถึงเป็นช่วง Low Seasons ของธุรกิจสัตว์น้ำด้วย ทั้งนี้เราคาดว่าในปี 24 ผลประกอบการจะฟื้นตัวได้หลังจากราคาสุกรเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี แต่ยังต้องติดตามถึงความการบริโภคว่าจะฟื้นตัวได้มากน้อยเพียงใด หลังจากภาครัฐทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา ทั้งนี้เรายังคงแนะนำ “ซื้อ” เพราะมองว่าธุรกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่แนะนำให้เก็งกำไรระยะสั้นๆเท่านั้นเพราะยังต้องติดตามราคาเนื้อสัตว์ต่ออย่างใกล้ชิด โดยประเมินมูลค่าพื้นฐานที่ 25.6 บาท (0.9XPER’24E)

4Q23 จะกำไรแต่มาจากรายการพิเศษ

  • เราคาดว่า 4023 CPF จะรายงานกำไรสุทธิ 131 ล้านบาท ลดลง 93%YoY แต่พลิกจากที่ขาดทุน 1,811 ล้านบาทใน 3Q23 โดยเกิดจากการกลับรายการส่วนของผู้ถือหุ้นในบริษัทไก่ในประเทศจีนที่ CPP (บริษัทย่อยที่ CPF ถืออยู่ 75%) ขายให้กับกลุ่ม CP ไปในเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา หากไม่รวมรายการดังกล่าวจะขาดทุน 2,869 ล้านบาท
  • รายได้คาดอยู่ที่ 142,014 ล้านบาท (-11%YoY, -2%QoQ) เป็นไปตามแนวโน้มราคาเนื้อสัตว์ที่ลดลงทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสุกรในประเทศ (-39%YoY, -4%QoQ) ราคาไก่ในประเทศ (-15%YoY, +3%QoQ) ราคาสุกรที่เวียดนาม (-11%YoY, -18%QoQ) รวมถึงเป็นช่วง Low Seasons ของธุรกิจสัตว์น้ำด้วย
  • กำไรขั้นต้นคาดว่าจะเหลือ 10.6% จาก 11% ใน 4Q22 และ 10.8% ใน 3Q23 สาเหตุหลักจากราคาในประเทศที่ลดลงแม้ว่าต้นทุนจะลดลงบ้างก็ตาม แต่ทาง CPF ยังมีสต๊อกราคาสูงเหลืออยู่ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารคาดที่ 13,491 ล้านบาท (-10%YoY, -4%QoQ)
  • ส่วนแบ่งจากบริษัทร่วมคาดรับรู้กำไรเข้ามา 844 ล้านบาท (-67%YoY เพราะธุรกิจสุกรที่จีนยังคงขาดทุน) แต่ +60%QoQ จากผลประกอบการของ CPALL ที่ฟื้นตัวตามภาคการท่องเที่ยว
  • รวมทั้งปีเราคาดว่า CPF จะขาดทุน 5,197 ล้านบาท จากที่มีกำไร 13,970 ล้านบาทในปี 22 (แต่ถ้าไม่รวมรายการพิเศษจะขาดทุนกว่า13,374 ล้านบาท)

ต้นปีราคาสุกรฟื้น แต่ยังต้องลุ้น

สำหรับแนวโน้มในปี 24 นับตั้งแต่ต้นปีราคาเนื้อสัตว์ในประเทศเริ่มเห็นการฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดราคาสุกรอยู่ที่ระดับ 70 บาท/กก. แล้ว แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการช่วงใกล้ตรุษจีน ทำให้ยังต้องรอดูว่าราคาจะยืนระยะได้หรือไม่ ทั้งนี้สิ่งที่ต้องติดตามเพิ่มคือหลังภาครัฐทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศษฐกิจจะช่วยเพิ่มความต้องการบริโภคได้มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตามผลประกอบการคาดว่าจะพลิกมามีกำไรสุทธิได้ ส่วนหนึ่งมาจากส่วนแบ่งของ CPALL ที่ประเมินว่ากำไรจะเพิ่มขึ้นมาสูงกว่า 21,000 ล้านบาทได้

ระยะสั้นแนะนำ “ซื้อเก็งกำไร”

คำแนะนำการลงทุนเรายังคงแนะนำ “ซื้อ” เก็งกำไรเท่านั้น เพราะแม้ว่าผลประกอบการจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 23 แต่ราคาเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้นยังมีความเสียงหลังตรุษจีน ที่อาจจะกระทบกับผลประกอบการช่วง 1Q24 ได้ โดยประเมินมลค่าเหมาะสมที่ 25.6 บาท (0.9XPBV’24E)

- Advertisement -