บล.เอเซีย พลัส

AOT เปิดทางรับตรุษจีน

คาดกำไรปกติงวด 1Q67 (ต.ค. – ธ.ค. 66) ที่จะประกาศในช่วงเย็นวันที่ 12 ก.พ. 67 เท่ากับ 5 พันล้านบาท เติบโต 38% QoQ (+1,055.8% YoY) หนุนด้วยแนวโน้มรายได้รวมขยายตัว ตามปริมาณผู้โดยสาร หลังเข้าสู่ HIGH SEASON ของท่องเที่ยวไทย และ OPEX ลดลงตามฤดูกาล ขณะที่แนวโน้ม 2Q67 ไต่ระดับขึ้นต่อ QoQ อานิสงค์จากฤดูกาลท่องเที่ยว โดยเฉพาะ ก.พ. ที่มีเทศกาลตรุษจีน น่าจะเห็นการออกเดินทางของนักท่องเที่ยวจีนมากขึ้น

OUTPERFORM (เลือกเป็น TOP PICK คู่กับ MINT) จากภาคการท่องเที่ยวไทย มีจุดแข็งจากการพึ่งพากำลังซื้อของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้แรงกดดันจากกำลังซื้อในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่สูง เป็นจุดแข็งเมื่อเทียบกับ SET ยาม GDP ไทยเติบโตจำกัด ประกอบกับโมเมนตัมกำไร QOQ ต่อเนื่อง 2 ไตรมาส และโครงสร้างทางการเงินมี D/E ที่ 0.7 เท่า พร้อมแนวโน้ม ROE เฉลี่ย 19% สูงกว่าหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวอื่นๆ ที่ ROE ไม่เกิน 15%

คาดกำไร 1Q67 โตจากรายได้และ OPEX ลด ตามฤดูกาล

คาดกำไรปกติงวด 1Q67 (ต.ค.– ธ.ค. 66) ที่จะประกาศในช่วงเย็นวันที่ 12 ก.พ. 67 เท่ากับ 5 พันล้านบาท (Bloomberg consensus ณ 29 ม.ค. 67 ที่ 5.1 พันล้านบาท) เติบโต 38% QoQ (+1,055.8% YoY) หนุนด้วยแนวโน้มรายได้รวมเท่ากับ 1.6 หมื่นล้านบาท ขยายตัว 5.6% QoQ (+83.8% YoY) จากปริมาณ
ผู้โดยสารรวมงวด 1Q67 ที่ 29 ล้านคน (+13% QoQ, +26% YoY, 79% ของงวด ต.ค. – ธ.ค. 62) ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ขยายตัว QoQ ในอัตราใกล้เคียงกัน อานิสงค์จากการเข้าสู่ High season ของท่องเที่ยวไทย ซึ่งบวกต่อเนื่องถึงรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์จาก Duty free ในสนามบิน มาที่ 6.1 พันล้านบาท ด้าน OPEX ประเมินไว้ 9.4 พันล้านบาท อ่อนตัว 8% QoQ (+24% YoY) เนื่องจากงวด 4Q66 มีการจ่ายโบนัสเพิ่มจาก accrued bonus ที่เคยตั้งไว้ ต่างจากงวดนี้ที่เป็น accrued bonus ตามปกติ โดยปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายพนักงานข้างต้นมีน้ำหนักมากกว่าค่าใช้จ่ายจากอาคาร SAT-1 ที่จะเพิ่มเข้ามาราว 769 ล้านบาท ต่อไตรมาส (งวดก่อนรับรู้ 1 เดือน จากการเปิดใช้งาน ก.ย.)

ภาพรวมคาดการณ์ Norm profit margin เร่งตัวมาอยู่ที่ 31% จาก 24% งวด 4Q66 และ 4.9% งวด 1Q66 ตามทิศทางรายได้เพิ่มขึ้น สวนทางกับ OPEX ที่ลดลงตามฤดูกาล

ทิศทางกำไรปกติ 2Q67 ไต่ระดับขึ้นต่อ QoQ

แนวโน้มกำไรปกติ 2Q67 (ม.ค. – มี.ค. 67) เติบโต QoQ (2Q66 กำไรปติ 1.9 พันล้านบาท) จากฤดูกาลท่องเที่ยวไทยและเป็นจุดสูงสุดของปี สะท้อนจากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย 3 สัปดาห์แรกของ ม.ค. 67 เท่ากับ 2 ล้านคน หรือเฉลี่ย 9.6 หมื่นคนต่อวัน เพิ่ม 9% จากค่าเฉลี่ยนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยรายวันช่วง ต.ค. – ธ.ค. 66 โดยฝ่ายวิจัยประเมินนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยมีโมเมนตัมต่อเนื่อง ก.พ. แรงหนุนจากเทศกาลตรุษจีน วันที่ 10 ก.พ. 67 ขณะที่ระยะถัดไปลุ้นอานิสงค์จากวีซ่า – ฟรี ผลักดันการเดินทางของนักท่องเที่ยวจีน ดีต่อ AOT มากสุดในกลุ่มฯ ในฐานะประตูสู่ประเทศไทย คงประมาณการกำไรปกติปี 2567 ที่ 2.3 หมื่นล้านบาท (+154% YoY) ตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว

Outperform ยังเป็นตัวเลือกที่ดีในกลุ่มท่องเที่ยว

อิง DCF (WACC 6.1% และ Terminal Growth Rate 3%) ให้ FV ปี 2567 ที่ 80 บาท ให้คำแนะนำ Outperform (เลือกเป็น Top pick คู่กับ MINT) จากภาคการท่องเที่ยวไทย มีจุดแข็งจากการพึ่งพากำลังซื้อของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้แรงกดดันจากกำลังซื้อในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่ำ เป็นจุดแข็งเมื่อเทียบกับ SET ยาม GDP ไทยเติบโตจำกัด ประกอบกับโมเมนตัมกำไร QoQ ต่อเนื่อง 2 ไตรมาส และโครงสร้างทางการเงินมี D/E ที่ 0.7 เท่า พร้อมแนวโน้ม ROE เฉลี่ย 19% สูงกว่าหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวอื่นๆ ที่ ROE ไม่เกิน 15%

ประเด็นความเสี่ยงสำคัญ และ SENSITIVITY ANALYSIS

1. การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวแตกต่างจากที่มอง ย่อมส่งผลถึงรายได้จากกิจการการบินและที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน ตรงข้ามกับค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คงที่ โดยรายได้รวมปี 2567 – 68 ที่ลดลง (เพิ่มขึ้น) 10% บนสมมติฐานอื่นคงเดิม (ปี 2569 – 72 คงเดิม) จะส่งผลให้กำไรปกติปี 2567 – 68 ลดลง (เพิ่มขึ้น) ราว 24% ตามลำดับ ส่วน FV อิง DCF (FCFF ปี 2567 – 2572) ลดลง (เพิ่มขึ้น) ราว 1 บาท

2. กรณีคู่ค้าเชิงพาณิชย์ มีการปรับแก้สัญญา โดยทุก 20% ของรายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่ต่ำกว่าสมมติฐานปี 2567 – 72 บนสมมติฐานอื่นคงเดิม ส่งผลให้กำไรปกติปี 2567 – 2572 ต่ำลงเฉลี่ยราว 16% และ FV อิง DCF (FCFF ปี 2567 – 2572) ลดลงประมาณ 12 บาท

3. Norm Profit Margin ปี 2567 – 2568 ที่ลดลง (เพิ่มขึ้น) 2% จากสมมติฐานปัจจุบันที่ 34% (ปี 2559 – 2562 Norm profit margin เฉลี่ยอยู่ที่ 40% มีการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย 2%) จะส่งผลให้กำไรปกติปี 2567 – 68 ลดลง (เพิ่มขึ้น) เฉลี่ย 6% ส่วน FV อิง DCF (FCFF ปี 2566 – 2571) ลดลง (เพิ่มขึ้น) 1 บาท

ESG ของ AOT

Environment (E) นำหลักการวิธีการแก้ไขมลพิษทางเสียงอย่างสมดุลของ ICAO มาใช้ในการดำเนินงาน อาทิ การลดเสียงที่อากาศยาน สนับสนุนหรือรณรงค์ให้สายการบินใช้อากาศยานที่มีการออกแบบหรือเครื่องยนต์ที่ปล่อยเสียงต่ำกว่าปัจจุบัน โดยมีสถานีตรวจวัดระดับเสียงภาวรในสนามบินสุวรรณภูมิราว 19 แห่ง, ภูเก็ต 4 สถานีและเชียงใหม่ 4 สถานี นอกจากนี้ด้านคุณภาพอากาศทาง AOT จัดให้มีการตรวจสอบสภาพยานพาหนะให้อยู่ในสภาพดีไม่มีการปล่อยมลพิษเกินที่กฎหมายกำหนด

Social (S) ช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่ติดสนามบิน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น ช่วง COVID-19 มีแจกถุงยังชีพและน้ำดื่ม รวมถึงเปิดช่องทางให้ชุมชนเข้ามาขายสินค้าในพื้นที่ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผ่านจากสุวรรณภูมิแฟร์

Governance (G) ต่อต้านการคอร์รัปชั่นตาม CAC และมีการกำกับดูแลกิจการสอดคล้องกับแนวทางของ ก.ล.ต.

- Advertisement -