บล.เอเซีย พลัส
AMATA 4Q66 Peak ตามนัด + มีรายการพิเศษจาก RBF
คาดการณ์กำไรสุทธิ 4Q66 ที่ 465 ล้านบาท (+17%QOQ, -41%YOY) สาเหตุจากยอดโอนที่ดินทำได้มากถึง 303 ไร่ (+11%QOQ, +2%YOY) และยอดขายที่ดินที่ทำได้ 622 ไร่ (+19%QOQ, +169%YOY) อยู่ในกรอบที่ฝ่ายวิจัยเคยประเมินไว้ที่ 500 – 800 ไร่ แม้จะมีปัจจัยกดดันต่างๆ เช่น ส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าที่ลดลงตามค่า FT, ดอกเบี้ยจ่ายที่ทรงตัวระดับสูง แต่มีรายการพิเศษจากการขายโรงงาน RBF ที่เวียดนาม 2 แห่งมูลค่า 100 ล้านบาทเข้ามาช่วยหนุนกำไร 4Q66
SENTIMENT อุตสาหกรรมนิคมฯ โดยรวมยังดีต่อเนื่อง สะท้อนจากการลงทุนจากต่างประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนและมูลค่าโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าที่มียอดจดทะเบียนรถ BEV ใหม่ปี 2566 เพิ่มขึ้น 4 เท่า เทียบกับปี 2565 ฝ่ายวิจัยประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2567 อิง PER 14.8 เท่า ได้ราคาเหมาะสม 29.50 บาท มี UPSIDE 39.8% ให้คำแนะนำที่ OUTPERFORM
4Q66 Peak ตามนัด + มีรายการพิเศษจาก RBF ช่วย
ฝ่ายวิจัยประเมินกำไรสุทธิงวด 4Q66 ที่ 465 ล้านบาท (+17%QoQ, -41%YoY) โดยประเมินรายจากธุรกิจหลักที่ 3,093 ล้านบาท (+9%QoQ, +35%YoY) สาเหตุที่รายได้ปรับเพิ่มจากไตรมาสก่อนเป็นผลจากธุรกิจขายที่ดินที่ทำได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดย 4Q66 มียอดโอนที่ดินรวมกันมากถึง 303 ไร่ (+11%QoQ, +3%YoY) โดยแบ่งเป็นอมตะนคร 25 ไร่, อมตะซิตี้ 83 ไร่ และอมตะเวียดนาม 195 ไร่ เทียบกับ 3Q66 ที่มียอดโอนที่ดินรวมกัน 272 ไร่ ในขณะที่ยอดขายที่ดิน (Pre-sale) ทำได้ 622 ไร่ (+19%QoQ, +169%YoY) อยู่ในกรอบที่ฝ่ายวิจัยเคยประเมินไว้ที่ 500 – 800 ไร่ ด้านรายได้สาธารณูปโภคประเมินที่ 1,060 ล้านบาท (+5%QoQ, +33%YoY) สาเหตุที่รายได้รายได้สาธารณูปโภคปรับเพิ่ม เนื่องจากช่วง 3Q65 ทาง AMATA เริ่มมีการรับรู้รายได้จากโรงงานในเวียดนาม ทั้งนี้ ยอดขายและยอดโอนที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่จังหวัดระยองและประเทศเวียดนาม ซึ่งมี gross margin ต่ำกว่าที่จังหวัดชลบุรี ประกอบกับทางหน่วยงานภาครัฐของเวียดนามมีการกำหนดราคาค่าไฟฟ้า ส่งผลให้ gross margin เฉลี่ยงวด 4Q66 อยู่ที่เพียง 36.0% เทียบกับ 4Q65 ที่มี gross margin อยู่ที่ 51.9% เนื่องจากในไตรมาสดังกล่าวโอนที่ดินที่อมตะนคร (จ. ชลบุรี) ได้มากถึง 67 ไร่ ด้านส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมประเมินที่ 100 ล้านบาท (-69%YoY, -58%YoY) ปรับตัวลดลงตามค่า Ft ขณะที่ดอกเบี้ยจ่ายประเมินที่ 212 ล้านบาท ทรงตัวระดับสูงใกล้เคียงกับ 3Q66, อย่างไรก็ตาม งวด 4Q66 มีรายการพิเศษจากการขายโรงงาน RBF ที่เวียดนาม 2 แห่งมูลค่า 100 ล้านบาท ที่เข้ามาช่วยหนุนกำไร 4Q66 ได้อย่างเป็นอย่างดี
Sentiment อุตสาหกรรมนิคมฯ ยังไปต่อได้
ภาพรวมอุตสาหกรรมนิคมฯ อยู่ใน sentiment ที่ดี สะท้อนจากสถิติการยื่นขอรับการลงทุนของต่างชาติ ปี 2566 ที่เติบโตทั้งมูลค่า (679,602 ล้านบาท (+30%YoY)) และจำนวนโครงการ (1,401 โครงการ +30%YoY)) ประกอบกับอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าที่มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าปี 2566 จำนวน 100,219 คัน เพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวเทียบกับปี 2565 แม้ AMATA จะมีความล่าช้าจากการโอนที่ดินในเวียดนาม แต่ฝ่ายวิจัยเชื่อมั่นว่า AMATA จะมียอดขายและยอดโอนที่ดินในอีก 3 ทำเลที่เหลือเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ outlook ปี 2567 ฝ่ายวิจัยรอความชัดเจนด้านแผนธุรกิจและเป้าหมายการขายที่ดินปี 2567 จากทางผู้บริหารซึ่งคาดว่าจะประกาศในเร็วๆ นี้
คงให้คำแนะนำเป็น outperform
ด้วยยอดขายที่ดินในประเทศไทยที่ทำได้จำนวนมาก ประกอบกับ sentiment อุตสาหกรรมนิคมฯ โดยรวมยังดีต่อเนื่อง สะท้อนจากการลงทุนจากต่างประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและมูลค่าโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าที่มียอดจดทะเบียนรถ BEV ใหม่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ฝ่ายวิจัยประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2567 อิง PER 14.8 เท่า ได้ราคาเหมาะสม 29.50 บาท มี upside 39.8% ให้คำแนะนำที่ outperform
การดำเนินการด้าน ESG ของ AMATA
ด้านสิ่งแวดล้อม : บริษัทได้กำหนดนโยบายที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการมูลฝอยและขยะอุตสาหกรรม การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทาง
ชีวภาพ
ด้านสังคม : บริษัทตระหนักถึงผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและชุมชนท้องถิ่น จึงได้ดำเนินกิจกรรมและโครงการจำนวนทั้งสิ้น 81 โครงการ โดยใช้งบประมาณในการลงทุนทางสังคม (ไม่รวมเงินบริจาค) รวม 18.52 ล้านบาท
ด้านธรรมาภิบาล : จัดให้มี WHISTLEBLOWING POLICY และช่องทางสื่อสารอื่นๆ เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับการถูกละเมิดและมีกระบวนการพิจารณาและจัดการข้อร้องเรียนอย่างยุติธรรม และโปร่งใส
ประเด็นความเสี่ยง
1. ความล่าช้าของเดินหน้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะส่งผลให้การพัฒนาที่ดินนิคมฯ ช้าลง ทำให้นักลงทุนต่างชาติหันไปลงทุนในประเทศที่มีความพร้อมด้าน INFRASTRUCTURE มากกว่า
2. ความไม่แน่นอนจากรายได้จากกลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากยอดการโอนที่ดินมีความผันผวนสูง