บล.บัวหลวง: 

BOT Monthly – ตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือน: เศรษฐกิจชะลอตัวจากเดือนก่อ

อุปทานยังคงซะลอตัว แต่อุปสงค์ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง หนุนจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว เมื่อมองไปข้างหน้า การท่องเที่ยวและการส่งออกจะช่วยหนุนการเติบโตของ GDP ของไทยอย่าง ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2567

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและรายได้เกษตรกรลดลงในเดือนธ.ค.

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ธ.ค. ลดลง 6.3% YoY (เทียบกับลดลง 4.7% YoY ในเดือน พ.ย.) จากผลผลิตกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรและยาง รายได้เกษตรกรลดลง 2.2% YoY ในเดือนธ.ค. จากผลผลิตที่ลดลง 2.4% YoY (ผลผลิตสินค้าเกษตรเฉลี่ยที่ลดลง) ซึ่งกลบผลกระทบของราคาหน้าฟาร์มเฉลี่ยที่สูงขึ้น 0.2% YoY

สำหรับครึ่งแรกของปี 2567 รายได้เกษตรกรมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น YoY โดยราคาหน้าฟาร์มที่สูงขึ้นจะกลบผลกระทบของผลผลิตที่ลดลง เนื่องจากผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (ซึ่งอาจลดผลผลิตทั้งเนื้อสัตว์และสินค้าที่ไม่ใช่สัตว์ ซึ่งเราคาดว่าจะหนุนราคาให้ปรับตัวสูงขึ้น) อย่างไรก็ตาม อาจมีความเสี่ยงจากราคาหมูที่ยังคงต่ำ ทั้งนี้ MPI มีแนวโน้มที่จะติดลบน้อยลง YoY ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567

การบริโภคภาคเอกชนและความเชื่อมั่นดีขึ้น แต่การลงทุนลดลง

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกซน (PCI) ในเดือนธ.ค. ปรับตัวขึ้น 5.6% YoY เราคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลงต่อเนื่องในปี 2567 จากฐานที่สูงในปี 2566 ความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 บ่งบอกถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้าม การลงทุนภาคเอกซน (PII) ลดลง 1.5% YoY (โดยหลักมาจากยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ที่น้อยลง โดยลดลง 20% YoY) การส่งออกน่าจะปรับตัวขึ้น YoY ในปี 2567 อิงจากฐานที่ต่ำในปี 2566 ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทิศทางของรายได้เกษตรกรทำให้แนวโน้มการลงทุนภาคเอกซนในครึ่งแรกของปี 2567 ยังไม่น่าตื่นเต้น

การลงทุนภาครัฐที่อ่อนแอจะกดดันการเติบโตในครึ่งแรกของปี 2567

การอนุมัติงบประมาณปี 2567 ที่ล่าช้า (ต.ค. 2566-ก.ย. 2567) จะกดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 (คาดว่าจะผ่านภายในเดือนพ.ค. 2567) อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณเดือนต.ค.-ธ.ค.2566 อยู่ที่ 26.1% ลดลงจาก 30.0% ในเดือนต.ค.-ธ.ค. 2565 การเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุนอยู่ที่ 7.1% (เทียบกับ 18.6% สำหรับเดือนต.ค.-ธ.ค.2565) หลังจากผ่านงบประมาณแล้ว เราคาดว่าการเบิกจ่ายจะเร่งตัวขึ้นและ สิ้นสุดปีงบประมาณ 2567 (30 ก.ย. 2567) ที่ราว 90% (94.2% สำหรับ ปีงบประมาณ 2566) อย่างไรก็ตาม เราไม่คาดว่าการเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุนจะอยู่ระดับเดียวกับตัวเลขปีงบประมาณ 2565 (72%)

ดุลบัญชีเดินสะพัดปี 2566 พลิกกลับมาเกินดุล

บัญชีเดินสะพัดในปี 2566 ออกมาเกินดุล 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (พลิกกลับจากขาดดุล 1.47 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565) เนื่องจากการขาดดุลการค้าที่ลดลงอย่างมากและรายได้จากการบริการที่เพิ่มขึ้น เราคาดว่า ตัวเลขในปี 2567 จะยังคงเกินดุล หนุนจากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น และการขาดดุลการค้าที่ลดลง

- Advertisement -