บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):

Kiatnakin Phatra Bank (KKP.BK/KKP TB)*

ต้องใช้เวลานานขึ้นในการจัดการคุณภาพสินทรัพย์

Event: อัพเดตแนวโน้ม และ ประชุมนักวิเคราะห์

Impact

NPL อาจจะยังไม่ถึงจุดสูงสุด ในขณะที่คชจ.สำรอง (credit cost) ยังคงสูงในปี 2567

KKP ใช้ความพยายามอย่างหนักตลอดปี 2566 ที่จะจัดการกับ NPL ของสินเชื่อทุกกลุ่ม ทั้งเช่าซื้อ (H/P), ธุรกิจขนาดใหญ่ และ สินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยในช่วงที่ผ่านมา มีลูกค้าสินเชื่อรายใหญ่รายหนึ่งที่มียอดสินเชื่อประมาณ 2.0 พันล้านบาท ซึ่งแสดงสัญญาณว่าคุณภาพสินทรัพย์เสื่อมลง และทำให้ธนาคารตั้งตั้งสำรองพิเศษ 600 ล้านบาทใน 4Q66 สำหรับในกรณีที่อาจจะการจัดชั้นสินเชื่อรายการนี้เป็น NPL ในอนาคตปี 2567 ในขณะเดียวกันได้มีลูกค้าโอนหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ธนาคาร ทำให้ลด NPL ในกลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัยไปได้ประมาณ 900 ล้านบาทใน 4Q66 นอกจากนี้ ธนาคารยังคงมีผลขาดทุนจากสินเชื่อ H/P จากผลขาดทุนที่เพิ่มขึ้นจากการขายรถที่ยึดมา 1.4 พันล้านบาทใน 4Q66 และ 4.8 พันล้านบาทในปี 2566 ซึ่งมีแนวโน้มจะขาดทุนต่อเนื่องในปี 2567

Credit cost จะยังสูงต่อเนื่องในปี 2567

คชจ.สำรองฯ (credit cost) ของ KKP อยู่ที่ประมาณ 140bps ใน 4Q66 หรือ 160bps ในปี 2566 ทั้งนี้ หากรวมผลขาดทุนจากการขายรถมือสองด้วย credit cost น่าจะอยู่ที่ประมาณ 280bps ใน 4Q66 และ ในปี 2566 โดยเราใช้สมมติฐานว่าผลขาดทุนจากการขายรถมือสองในปี 2567/2568 จะยังสูงอยู่ที่ 4.5 พันล้านบาท/4.0 พันล้านบาท ซึ่งคิดเป็น credit cost ที่ 250bps/230bps ตามลำดับ (จาก 280bps ในปี 2566)

Tier I ที่ลดลงอาจจะกระทบนโยบายจ่ายเงินปันผล

สัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ (Tier I) ของ KKP ที่ลดลงจาก 14.5% ในช่วง COVID มาอยู่ที่ประมาณ 13% ทำให้ธนาคารไม่สามารถรักษาสัดส่วนการจ่ายเงินปันผลที่สูงเอาไว้ได้ ซึ่งที่ระดับ Tier I ประมาณ 14% ธนาคารได้ปรับลดอัตราการจ่ายเงินปันผลลงเหลือ 35-40% ในปี FY64-65 อย่างไรก็ตาม ระดับ Tier I ในปัจจุบันอาจจะทำให้ธนาคารคงอัตราการจ่ายเงินปันผลเอาไว้ในระดับต่ำ ซึ่งเราคาดว่าจะอยู่ที่ 35% ใน ปี 2566/2567

ปรับลดกำไรปี 2567/2568 ลงปีละ 13% และปรับลดราคาเป้าหมายปี 2567F เหลือ 55.0 บาท

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน NPL ของสินเชื่อ H/P แสดงสัญญาณการชะลอตัวลงใน 4Q66 อย่างไรก็ตาม ราคารถมือสองที่ลดลงอย่างมาก ทำให้เกิดผลขาดทุนจากการขายรถมือสองที่ยึดมา เพราะมีจำนวนรถมือสองอยู่ในสต็อกเป็นจำนวนมาก และหาคนซื้อไม่ได้ ซึ่งธนาคารคาดว่าอาจจะต้องใช้เวลา 1-2 ไตรมาสเพื่อระบายรถมือสองในสต็อกออกไป เราได้ปรับเพิ่มสมมติฐานผลขาดทุนจากการขายรถมือสองในปี 2567/2568 เป็น 4.5 พันล้านบาท/4.1 พันล้านบาทในปี 2567/2568 ตามลำดับ (เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 3.6 พันล้านบาท/3.0 พันล้านบาท) ทั้งนี้ เมื่อใช้ PBV ที่ 0.72x ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายปี 2567F ใหม่ที่ 55.50 บาท (ลดลงจาก 57 บาท) เรายังคงคำแนะนำถือ KKP

Risks

ผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมาเพิ่มขึ้น และรายได้จากค่าธรรมเนียมลดลง

- Advertisement -