KS Daily View 14.02.2024 >>> เงินเฟ้อสหรัฐฯสูงกว่าคาด ทำให้เฟดลดดอกเบี้ยลงยาก คาดดัชนีปรับตัวลงกรอบ 1,380-1,400 จุด หุ้นแนะนำ TU, TTB

สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้

ต่างประเทศ : ดัชนี DJIA -1.35% S&P500 -1.37% NASDAQ -1.80%; Dollar index +0.73% เป็น 104.882 และค่าเงินบาทปิดที่ 36.07; ราคาน้ำมันดิบ Brent Futures +0.94% เป็น 82.77/bbl; ราคาทองคำ -1.3% เป็น 2005.60/ounce; US 10Y yield +13.12bps เป็น 4.3163%

ในประเทศ: SET Index +2.430 จุด หรือ +0.17% ปิดที่ 1391.73 จุด หุ้นใน SET100 ที่ราคาเพิ่มขึ้นมากสุด ได้แก่ JMT (+9.69%), JMART (+4.61%), VGI (+4.17%), OR (+3.87%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ราคาลดลงต่ำสุด ได้แก่ AOT (-3.07%), ERW (-2.89%), HANA (-2.49%), SCB (-1.92%) เป็นต้น

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:

คาดดัชนีปรับตัวลงในกรอบ 1,380-1,400 จุด แต่หากหลุดมองแนวรับถัดไปที่ 1,360 จุด จากแรงกดดันของตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาด โดยเฉพาะ Core inflation ที่ +0.4% MoM และ 3.9% YoY ในเดือน ม.ค. ทำให้เฟดลดดอกเบี้ยลงยากขึ้น และกรณีเลวร้ายสุดคืออาจต้องกลับมาขึ้นดอกเบี้ยเพื่อกดเงินเฟ้อลงไปที่เป้าหมายที่ 2% มองตลาดไทยมีโอกาสปรับฐานตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ ขณะที่การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และค่าเงิน USD จะเป็นปัจจัยผลักดันให้ Fund flow ไหลออกมากขึ้น โดยเฉพาะหากรัฐบาลผลักดันนโยบายกระตุ้นด้านการคลังไม่ทัน และ GDP โตต่ำคาด อาจทำให้ กนง. ต้องปรับลดดอกเบี้ยเร็วขึ้น/มากขึ้น ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยไทย-สหรัฐฯ กว้างขึ้น ส่งผลให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า มองกลุ่มส่งออก และท่องเที่ยวได้อานิสงค์จากธีมดังกล่าว

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

1.) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ เดือน ม.ค.2567 เพิ่มขึ้น 0.3% MoM และ 3.1% YoY ต่ำกว่าของเดือน ธ.ค.2566 ที่ 3.4% YoY แต่สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.9% YoY ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยับขึ้น 0.4% MoM และ 3.9% YoY แต่สูงกว่าประมาณการของตลาดที่ 3.7% YoY ปัจจัยขับเคลื่อนอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญในช่วงเดือนที่ผ่านมา ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อภาคบริการ โดยเฉพาะที่อยู่อาศัย (+0.6% MoM และ +6.0% YoY) บริการขนส่ง (+1.0% MoM และ +9.5% YoY) และบริการทางการแพทย์ (+0.7% MoM และ +0.6% YoY)

2.) ตลาดปรับลดโอกาสการลดดอกเบี้ยในเดือนพฤษภาคมของเฟดอย่างน้อย 25bps. ลดลงเหลือ 36.1% จากประมาณ 58% ก่อนการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ ในขณะที่ความคาดหวังสำหรับเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 74.3% ตามรายงานของ CME FedWatch Tool

3.) สำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจรายงานข่าวว่า ตลท. เดินหน้านำ 4 มาตรการ ปกป้อง-คุมเข้ม “ตลาดหุ้นไทย” ดูแลธุรกรรมขายชอร์ต-โปรแกรมเทรดดิ้ง เร่งหารือ ก.ล.ต. เร็วสุด เผยมีทั้งมาตรการระยะสั้น-ยาว

4.) ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติระหว่างวันที่ 5-11 ก.พ.2567 อยู่ที่ 872,235 คน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 102,227 คน หรือ 13.28% ผลักดันจากจีน มาเลเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ หนุนภาพรวมระหว่าง 1 ม.ค. – 11 ก.พ. อยู่ที่ 4.38 ล้านราย โต 48% YoY

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้

ประเมินตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 1,360-1,404 จุด โดยปัจจัยหลักที่ต้องติดตามได้แก่ นายกรัฐมนตรีจะนัดประชุมบอร์ดเงินดิจิทัลชุดใหญ่ 15 ก.พ. ส่วนปัจจัยต่างประเทศจะเป็นการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อ ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านเดือน ม.ค. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/2566 ของยูโรโซน ญี่ปุ่นและอังกฤษ ตลอดจนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.ค. ของยูโรโซน ญี่ปุ่น และอังกฤษ

หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:

  • TU (ราคาพื้นฐาน 16.70 บาท) หุ้นมีโอกาสถูก Rerate ไปเทรดสูงขึ้นจากปัจจุบันเทรดบน P/E ปี 2024 ที่ระดับต่ำเพียง 9.7x อิง EPS ที่ 1.56 บาทต่อหุ้น หลังเตรียมขายธุรกิจ Red Lobster ออก นอกจากนี้การอ่อนค่าของเงินบาทจะเป็นบวกอัตราการทำกำไรของ TU ด้วย
  • TTB (ราคาพื้นฐาน 2.00 บาท) คาดกำไรปี 2567 เติบโต 20% YoY จากสิทธิประโยชน์ทางภาษี สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มธนาคารที่ 8.4% และคาด Dividend yield ปี 2024 จะอยู่ที่ระดับ 7% มองเป็นที่พักเงินในช่วงที่ตลาดผันผวนจากภาพของดอกเบี้ยโลกที่โอกาสปรับตัวลงยากขึ้น

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันพุธติดตาม ตัวเลขดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) ของยุโรปสำหรับเดือน ธ.ค. ตลาดคาดที่ 5.3% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -6.8% YoY
  • วันพฤหัสบดีฯ ติดตาม ตัวเลขยอดค้าปลีก (Retail sales) ของสหรัฐฯสำหรับเดือน ม.ค. ตลาดคาดที่ +5.8% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ +5.6% YoY และตัวเลขดัชนีภาคการผลิต Empire State manufacturing index สำหรับเดือน ก.พ. ตลาดคาดที่ -19.0 จุด เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -43.7 จุด และดัชนีภาคการผลิต Philly Fed manufacturing index สำหรับเดือน ก.พ. ตลาดคาดที่ -11.0 จุด เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -10.6 จุด
  • วันศุกร์ ติดตามตัวเลขขออนุญาตสร้างบ้านใหม่ (Building permits) ของสหรัฐฯสำหรับเดือน ม.ค. ตลาดคาดที่ +0.1% MoM เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -0.1% MoM ต่อด้วยตัวเลขที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ (Housing starts) สำหรับเดือน ม.ค. ตลาดคาดที่ 1.47 ล้านยูนิตเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 1.46 ล้านยูนิต ปิดท้ายด้วยตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Prelim UoM Consumer Sentiment) สำหรับเดือน ก.พ. ตลาดคาดที่ 79.5 จุด เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 79.0 จุด
- Advertisement -