บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):
L.P.N. Development (LPN.BK/LPN TB)
กำไร 4Q66 ต่ำลงส่วนแนวโน้มปี 2567 ยังไม่สดใสนัก
Event
ผลประกอบการ 4Q66 และ ธุรกิจในปี 2567F กับแนวโน้มกำไร
Impact
กำไร 4Q66 แย่ลงทั้ง YoY และ QoQ
ในขณะที่ รายได้รวมใน 4Q66 ชะลอเป็นอัตราเลขเพียงหลักเดียว ส่วนกำไรทรุดตัวลงด้วยอยู่ที่ 17 ล้านบาท (-54% YoY และ -83% QoQ) ต่ำกว่าเราและ consensus คาดอย่างมากอยู่ที่ 85 ล้านบาทและ 91 ล้านบาท ตามลำดับ สาเหตุจากการลดลงของอัตรากำไรขั้นต้นการขายที่อยู่อาศัยเหลืออยู่เพียง 18% จากระดับปกติอยู่ราว 20% เป็นเพราะมีรายจ่ายในด้านการขายและบริหาร (SG&A) สูงขึ้นจากร
กำไรปี 2566 ทรุดตัวลงแรง 42% YoY เหลืออยู่ที่ 353 ล้านบาท
ในขณะที่ พรีเซลและมูลค่าการเปิดโครงการใหม่รวมทั้งปีเพิ่มขึ้น 20% และ 10% YoY ตามลำดับ แต่ว่ารายได้จากการขายที่อยู่อาศัยแย่ลงถึง 39% YoY หลัก ๆ เกิดจากโครงการแนวราบอ่อนตัว ท่ามกลางโครงการคอนโดมิเนียมทรงตัว ส่วนรายได้ประจำที่มาจากบริษัทย่อย (LPP และ LPS) เติบโตพอสมควรที่ 28% YoY รวมอยู่เกือบ 2 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดบริษัท LPP Property Management กำหนดเข้าจดทะเบียนในตลาดรอง MAI ภายในสิ้นปีนี้ (2567) ในด้านอัตรากำไรขั้นต้น (gross margin) อ่อนตัวลงที่ 22% จาก 23.8% ปี 2565 ส่วนอัตรากำไรสุทธิ (net margin) ลดเหลือเพียง 4.8% จาก 6% ในปี 2565
กัดฟันทนเพื่อลดสต๊อกบ้านในมือออกโดยเร็ว
LPN ยังไม่ได้เปิดเผยแผนธุรกิจปี 2567 แต่ทว่า ประธานกรรมการบริหาร (CEO) ท่านใหม่ เน้นที่จะระบายสต๊อกบ้านที่มีอยู่มูลค่ารวมราว 3.56 หมื่นล้านบาทออกไปโดยเร็ว ซึ่งหลัก ๆ เป็นที่อยู่อาศัยราคาในระดับล่างที่มีความเคลื่อนไหวช้า ขณะที่ ทาง LPN ยอมที่จะลดอัตรากำไรขั้นต้นลงประมาณ 1-3 ppt เพื่อกระตุ้นยอดขายให้ดีขึ้น เพิ่มเงินทุนหมุนเวียนและลด net gearing ให้ต่ำกว่า 1x ขณะที่ เราคาดการเปิดโครงการใหม่น้อยลงในปีนี้ ท่ามกลาง พรีเซลและการเติบโตรายได้ยังจะไม่น่าตื่นเต้น นอกจากนั้นกำไรหลักอาจชะลอตัว YoY โดยเราคาดอัตราการเติบโตรายได้และกำไรปี 2568 เป็นเพียงเลขหลักเดียว
Valuation & action
เราปรับลดประมาณการทั้งรายได้ปี 2567F ลงราว 10% และอัตรากำไรขั้นต้นของโครงการที่อยู่อาศัยลง 3ppt อยู่ที่ 19% ทำให้กำไรปีนี้อยู่ที่ 304 ล้านบาท (-14% YoY) ต่ำลง -40% จากประมาณการเดิม ขณะที่อัตราการฟื้นตัวในปี 2568 อาจเป็นเพียงเลขหลักเดียว ทั้งนี้ เราคงคำแนะนำขาย และปรับลดราคาเป้าหมายลงใหม่ที่ 2.80 บาท จากเดิม 3.50 บาท อิงจากค่าเฉลี่ยระหว่าง -1 S.D. ของ PB ที่ 0.5x กับ -1 S.D.ของ PE ที่ 7.6x
Risks
ภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอ โอกาสการปฏิรูปนโยบายจากภาครัฐ การให้สินเชื่อมีความเข้มงวดมากขึ้นท่ามกลางภาวะหนี้สินภาคครัวเรือนสูงยืดเยื้อ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น รวมทั้ง การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ