KS Daily View 27.02.2024 >>> แนะ Bottom up หุ้นรายตัว คาดตลาดรอดูตัวเลข Core PCE สหรัฐฯ คาดดัชนีแกว่งตัวในกรอบ 1,390-1,420 จุด หุ้นแนะนำ SISB, CPALL

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ: ดัชนี DJIA -0.16% S&P500 -0.38%NASDAQ -0.13%; Dollar index -0.2% เป็น 103.78 และค่าเงินบาทปิดที่ 35.82; ราคาน้ำมันดิบ Brent Futures +1.1% เป็น 82.53/bbl; ราคาทองคำ -0.2% เป็น 2031.9/ounce;  US 10Y yield +2bps เป็น 4.28%

ในประเทศ: SET Index -4.330 จุด หรือ -0.31% ปิดที่ 1398.14 จุด หุ้นใน SET100 ที่ราคาเพิ่มขึ้นมากสุด ได้แก่ TRUE (+10.69%), TKN (+9.43%), MEGA (+3.73%), STGT (+3.68%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ราคาลดลงต่ำสุด ได้แก่ RCL (-11.32%), COM7 (-7.11%), BANPU (-4.92%), TOA (-4.65%)เป็นต้น

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:

คาดดัชนีแกว่งตัวในกรอบ 1,390-1,420 จุด โดยนักลงทุนต่างชาติพลิกขายสุทธิ 1.9 พันลบ. เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มองตลาดยังไม่ไปไหนหลัง BB Consensus ยังคงทยอยปรับลด EPS ของ SET ปี 2567 ปรับตัวลง 0.53% WoW จากกลุ่มพลังงาน อสังหาฯ และบันเทิง ชดเชยบางส่วนจากการปรับขึ้นของกลุ่มประกันภัย พาณิชย์ และธุรกิจเกษตร คาดตลาดแกว่งตัวรอประเมินตัวเลข US Core PCE เดือน ม.ค. คาด +0.4% MoM เพื่อมองหาโอกาสการลดดอกเบี้ยของเฟด โดยล่าสุดตลาด Fed fund futures คาดโอกาสลดดอกเบี้ยครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือน มิ.ย. ด้วยความน่าจะเป็น 54.9% เทียบจากวันที่ 1 ก.พ. ที่ตลาดมองโอกาสลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน มี.ค. ด้วยความน่าจะเป็น 62% แนะนำใช้กลยุทธ์ Bottom up ในหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว หรือกำไร 4Q23 มีแนวโน้มขยายตัวแข็งแกร่ง

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

1.) ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือน ม.ค.2567 เพิ่มขึ้น 10.0% YoY เป็น 2.26 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 8.8% YoY และ 4.7% YoY ก่อนหน้านี้ ขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นเช่นกันจากความต้องการวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงกิจกรรมการผลิตและแนวโน้มการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น

2.) รมว. ท่องเที่ยวเตรียมเสนอรัฐบาลขยายเวลาการยกเว้นวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวอินเดียที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 (ระยะเวลา 6 เดือน) ต่อไปอีก 2 ปี

3.) ติดตาม พ.ร.บ.ผู้สูงอายุฯ เพื่อเปลี่ยนระบบการจ่ายเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุจาก “เบี้ยยังชีพ” เป็น “บำนาญ” สำหรับแหล่งที่มาของเงินจะมีการจัดตั้ง “กองทุนบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ” (มาตรา 12) มาจาก 14 แหล่ง โดยรัฐบาลเตรียมเก็บภาษีเพิ่มจาก 14 แหล่งซึ่งคาดอาจกระทบกำไร บจ.บางส่วน

4.) ฐานเศรษฐกิจรายงานข่าวว่า  ธปท. มองว่าไม่มีความจำเป็นต้องผ่อนเกณฑ์LTV กระตุ้นภาคอสังหาฯ ชี้เกือบ 90% ของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยไม่ได้ติดเกณฑ์ LTV แถมเกณฑ์ยังผ่อนปรนเมื่อเทียบต่างประเทศ เชื่อตลาดอสังหาฯยังโตได้ ผ่อนเกณฑ์เพิ่มเติมอาจกระทบเสถียรภาพระบบการเงิน

5.) ติดตามการกำหนดค่าไฟรอบ 2 ของปีระหว่าง พ.ค.-ส.ค. 2567 คาดว่าจะถูกลงจากระดับ 4.18 บาทต่อหน่วยในรอบแรกของปี โดยมีปัจจัยบวกจากค่าเงิน และต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ลดลง อย่างไรก็ยังไม่รวมกรณีที่ รัฐบาลจะมีนโยบายใช้หนี้คืนกฟผ. จำนวน 95,777 ล้านบาท และหนี้ที่ค้าง ปตท. 10,000 ล้านบาท มองค่าไฟที่ลดลงจะเป็นบวกกับกลุ่มอุตสาหกรรม, ค้าปลีก และสื่อนอกบ้าน

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้

ประเมินตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 1,380-1,420 จุด โดยปัจจัยขับเคลื่อนตลาดได้แก่ การรายงานผลประกอบการ 4Q23 ของบริษัทจดทะเบียน และทิศทางเงินลงทุนต่างชาติ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศต้องติดตามการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ทั้งตัว 2 ปีและ 10 ปี ล่าสุดอยู่ที่ 4.70% และ 4.25% ตามลำดับ หรือปรับตัวขึ้นมาจากจุดต่ำสุดของปีแล้ว 58bps. และ 45bps. ตามลำดับ หลังตลาดปรับลดโอกาสการลดดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้ลงเหลือ 80bps. จากต้นปีที่ 150bps. ทั้งนี้ตัวเลขสำคัญที่นักลงทุนจะติดตามในสัปดาห์นี้คือ US Core PCE เดือน ม.ค. คาด +0.4% MoM และเร่งตัวขึ้นจาก +0.2% MoM ในเดือนก่อนหน้า ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ต้องติดตามตัวอื่นๆ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล ดัชนี ISM/PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ. ของญี่ปุ่น จีน ยูโรโซนและอังกฤษ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนม.ค. ของญี่ปุ่น รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนก.พ. ของยูโรโซน

SISB (ราคาพื้นฐาน 45.11 บาท) รายงานกำไรทำสถิติสูงสุดใหม่ใน4Q23 ที่ 211 ลบ. เติบโต 64% YoY จากรายได้สูงกว่าคาด และค่าใช้จ่ายต่ำกว่าคาด ประเมินแนวโน้มกำไรปี 2024 จะเติบโตอีก 39% YoY จากจำนวนนักเรียนใน 6 แคมปัสที่เพิ่มขึ้น

CPALL (ราคาพื้นฐาน 76.00 บาท) กำไรสุทธิไตรมาส 4/66 อยู่ที่ 5.5พันลบ. เพิ่มขึ้น 75% YoY และ 24% QoQ ดีกว่าที่เราและตลาดคาดไว้ 20% และ 25% จาก GPM ที่มากกว่าคาด 60bps และรายได้อื่น ๆ ที่สูงกว่าคาดซึ่งมาจากความสำเร็จของแคมเปญสแตมป์ SSSG ไตรมาส 4/2566 เป็นบวกต่อเนื่องอยู่ที่ 3.6% หนุนจากจำนวนลูกค้า/สาขา/วันที่เพิ่มขึ้น YoY SSSG QTD ไตรมาส 1/67 อยู่ในเชิงบวกด้วยตัวเลขหลักหน่วยตอนต้น สอดคล้องกับในไตรมาส 4/66 CPALL ประกาศเงินสดปันผลที่ 1.0 บาท/หุ้น หรือ DY ที่ 1.7% ขึ้น XD วันที่ 7 พ.ค.67

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันอังคาร ติดตามตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Consumer Price Index – CPI) ของญี่ปุ่นสำหรับเดือน ม.ค. ตลาดคาดที่ +2.4% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 2.6% YoY และตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานไม่รวมราคาพลังงานและอาหาร (Core CPI) ของญี่ปุ่นสำหรับเดือน ม.ค. ตลาดคาดที่ +2.1% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 2.3% YoY ต่อด้วยช่วงข้ามคืนติดตามตัวเลขยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน (Durable goods order) ของสหรัฐฯ สำหรับเดือน ม.ค. ตลาดคาดที่ -4.5% MoM เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ทรงตัว 0% MoM และปิดท้ายด้วยตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CB Consumer confidence index) ของสหรัฐฯ สำหรับเดือน ก.พ. ตลาดคาดที่ 114 จุด เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 114.8จุด
  • วันพุธ ติดตามตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ สำหรับไตรมาส 4/2566 โดยการเป็นการประกาศครั้งที่ 2 เพื่อปรับปรุงทบทวนตัวเลข ตลาดคาดที่ +3.3% เทียบกับที่ประกาศครั้งก่อนหน้าที่ +3.3% และ +4.9% สำหรับไตรมาส 3/2566
  • วันพฤหัสฯ ติดตามรายงานเศรษฐกิจรายเดือนของทางธปท. สำหรับเดือน ม.ค. ติดตามตัวเลขดัชนีภาคการผลิตของจีน (Manufacturing PMI) สำหรับเดือน ก.พ. ตลาดคาดที่ 49.3 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่49.2 ต่อด้วยช่วงข้ามคืนติดตามตัวเลขดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ (Chicago PMI) สำหรับเดือน ก.พ. ตลาดคาดที่ 49 จุด เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 46 จุด ตัวเลข US Core PCE เดือน ม.ค. คาด +0.4% MoM และ PCE เดือน ม.ค. คาด +0.3% MoM รวมถึง Personal income และ Personal spending ของสหรัฐฯ เดือน ม.ค. คาด +0.4% MoM และ +0.2% MoM ตามลำดับ
  • วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข NBS Manufacturing PMI ของจีนเดือน ม.ค. คาด  49.3 จุด และตัวเลข Caixin Manufacturing PMI ของจีนเดือน ม.ค. คาด 50.9 จุด ตัวเลขดัชนีภาคการผลิตของญี่ปุ่น (Jibun Manufacturing PMI) สำหรับเดือน ก.พ. โดยตลาดคาดที่ 47.2 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 48.0 และติดตามตัวเลขดัชนีภาคการผลิตของยุโรป (Eurozone Manufacturing PMI) สำหรับเดือน ก.พ. ตลาดคาดที่ 46.1 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 46.6 ต่อด้วยช่วงข้ามคืนติดตามตัวเลขดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ (ISM Manufacturing PMI) สำหรับเดือน ก.พ. ตลาดคาดที่ 49.1 ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
- Advertisement -