บล.พาย:

ICHI: Ichitan Group PCL

อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นยังเป็นปัจจัยหนุนการเติบโต

เรามองบวกต่อปี 2024 หนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในกลุ่มชาพร้อมดื่มจากภาวะอากาศที่ร้อนต่อเนื่อง และอานิสงค์จากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวกำไรสุทธิ 4Q23 อยู่ที่ 295 ล้านบาท (+53%YoY, -10% QoQ) ผลจาก 1) ยอดขายชาเขียวที่โต 33% YoY ตามส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากยอดขายเติบโตสูงกว่าการเติบโตของตลาดชาเขียวโดยรวมที่ 14% YoY ใน 4Q23 2) ยอดขายอื่นนอกจากชาโตดีต่อเนื่องจากต้นซันซู (เปิดตัวไตรมาส 4/22) และ 3) อัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นจากอัตราการกำลังการผลิตที่สูงขึ้น ขณะที่ยอดขายเดือน ม.ค. 2024 ยังมีทิศทางเติบโตดีต่อเนื่องและเติบโตดีกว่าตลาดชาเขียวที่เติบโต 20.5%YoY ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลน่าดึงดูดระดับ 5%-6% คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่า พื้นฐาน 20.00 บาท (เดิม 18.00 บาท) หลังปรับประมาณการกำไรปี 2024 ขึ้น 13% จากยอดขายชาเขียวที่เติบโตดีกว่าคาด

แนวโน้มดีต่อเนื่องในปี 2024

  • ICHI ขยายกำลังการผลิตอีก 200 ล้านขวด/ปี หรือ +13% จากกำลังผลิตปัจจุบันที่ 1,500 ล้านขวด/ปี ด้วยงบลงทุน 460 ล้านบาท คาดกำลังการผลิตใหม่นี้จะเดินเครื่องได้ภายใน 4Q24 ขณะที่บริษัท
    ตั้งเป้าหมายอัตราใช้กำลังการผลิตที่ 80% ในปี 2024
  • ICHI ตั้งเป้ารายได้ปี 2024 ที่ 9 พันล้านบาท (+13%YoY) แบ่งเป็น ชาเขียวพร้อมดื่มและน้ำสมุนไพร (YenYen) ที่ 7,250 ล้านบาท (+9%YoY) ยอดขายเครื่องดื่มที่ไม่ใช่ชา 1,040 ล้านบาท (+47% YoY) จากยอดขาย ต้นชันซู 240 ล้านบาท (ปี2023 ที่ 200 ล้านบาท) เครื่องดื่มชูกำลังขวด 10 บาท ภายใต้แบรนด์ (Tan power) 300 ล้านบาท ที่จะเปิดตัวในเดือน มี.ค. 2024 ซึ่งจะเป็นการจ้างผลิต (OEM) โดยคาดหวังอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ที่ 19% และมีคุณต้นเป็นพรีเซ้นเตอร์ ทำให้เราคาดว่าจะไม่มีค่าใช้จ่ายการตลาดที่เพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างมีนัยยะสำคัญ

กำไร 4Q23 อ่อนตัวลง QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล (ฤดูหนาว)

  • ยอดขายในงวด 4Q23 พุ่งเป็น 2.1 พันล้านบาท (+31%YoY, +2% QoQ) หนุนจากรายได้ตลาดภายในประเทศที่โตขึ้น ประกอบด้วยชาเขียว 1.5 พันล้านบาท (+33%YoY) น้ำสมุนไพร (YenYen) ที่ 272 ล้านบาท (+ 45%YoY) สินค้าอื่นที่ไม่ใช่ชา 185 ล้านบาท (+26%YoY) ยอดขาย OEM ที่ 29 ล้านบาท (+434%YoY) ขณะที่ยอดขายจากตลาดส่งออกลดเหลือ 121 ล้านบาท (-16%YoY)
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ใน 4Q23 ขยายตัวเป็น 24.5% จาก 22.1% ใน 4Q22 ผลจากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มเป็น 73% ใน 4Q23 จาก 63% ใน 4Q22
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายลดเหลือ 7.2% ใน 4Q23 จาก 8.3% ใน 4Q22 อานิสงส์จากรายได้ชาเขียวพร้อมดื่มและเย็นเย็นที่โตแข็งแกร่ง
  • มีส่วนแบ่งขาดทุนที่ 8 ล้านบาท (-92%YoY) ใน 4Q23 จากส่วนแบ่งกำไร 17 ล้านบาท ใน 4Q22 หลักหักรายการพิเศษจากการตั้งด้อยค่าจะมีส่วนแบ่งกำไรปกติ 7 ล้านบาท (-59%YoY) เป็นผลจากค่าใช้จ่ายการจัดโปรโมชั่นที่เพิ่มขึ้น เพราะการแข่งขันด้านราคาในอินโดนีเซีย

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ปั่นผลสูง

มูลค่าพื้นฐาน 20.00 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดกระแสเงินสด (DCF) ด้วย WACC 10% และ TG 1.5% เทียบเท่า 21.5xPE’24E ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยกลุ่มเครื่องดื่ม บริษัทประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลที่ 0.5 บาท/หุ้น คิดเป็นอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่ 2.9% ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 5 มี.ค. 2024

- Advertisement -