BPP เดินหน้าส่งมอบพลังงานไฟฟ้าคุณภาพสู่สังคม เผยกำไรในปี 2566 แข็งแกร่ง พร้อมแต่งตั้ง CEO ใหม่ตามแผนสืบทอดตำแหน่ง

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพระดับสากลที่ยึดมั่นในการส่งมอบพลังงานที่ยั่งยืน แจงผลประกอบการปี 2566 เติบโตขึ้นกว่าปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญสามารถรักษาประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าทุกแห่ง และรุดหน้าการเติบโตของธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานชูทิศทางปี 2567 โดยเดินหน้าธุรกิจตามกลยุทธ์ Greener & Smarter เพื่อส่งมอบพลังงานไฟฟ้าคุณภาพสู่สังคม (Powering Society with Quality Megawatts) นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทมีมติแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ มีผล 2 เมษายนนี้

ผลการดำเนินงานปี 2566 BPP มีรายได้รวม 30,443 ล้านบาท โดยมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) รวม 12,262 ล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมีกำไรสุทธิ 5,319 ล้านบาท ทั้งนี้ถ้าไม่รวมกำไรจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนใหม่และขาดทุนสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของอนุพันธ์ทางการเงิน BPP มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 74 เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิที่ไม่รวมกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนและกำไรสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของอนุพันธ์ทางการเงินในปี 2565 นอกจากนี้ BPP ยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างเสถียรภาพด้านพลังงาน โดยยังคงมุ่งมั่นในการรักษาประสิทธิภาพ และความพร้อมของระบบการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าทุก ๆ แห่งให้สามารถจำหน่ายกระแสไฟฟ้าไปยังชุมชนและสังคมได้อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง อีกทั้งยังผลักดันการดำเนินงานในทุกกระบวนการให้สอดคล้องกับหลักความยั่งยืนหรือ ESG อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG Committee) ซึ่งทำหน้าที่ในการพิจารณาทิศทางและนโยบาย ESG ของบริษัทฯ และทำงานร่วมกับฝ่ายบริหาร

Temple-I-Temple-II-in-the-US & SLG-power-plant-in-China

ในปี 2566 บริษัทฯ ได้เข้าลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple II ในรัฐเท็กซัส ซึ่งอยู่ติดกับโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I ที่บริษัทฯ ได้เข้าไปลงทุนเมื่อปี 2564 และผลักดันการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจไฟฟ้าในสหรัฐฯ ที่มีอยู่ครบวงจรทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ไปจนถึงการขายไฟฟ้าในตลาดค้าส่ง (Wholesale) และตลาดค้าปลีก (Retail) รวมถึงร่วมลงทุนในโครงการ Cotton Cove ในแหล่งก๊าซธรรมชาติบาร์เนตต์ (Barnett) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวสู่ธุรกิจดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) ในสหรัฐฯ ซึ่งสามารถนำประสบการณ์ไปพัฒนาต่อยอดกับธุรกิจโรงไฟฟ้าได้ในอนาคต ในขณะที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (CHPs) ในจีนทั้ง 3 แห่ง มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นจากการปรับตัวลดลงของราคาเชื้อเพลิงและรายได้จากการขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Emission Allowances – CEA)

ในปี 2566 บริษัทฯ ได้เข้าลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple II ในรัฐเท็กซัส ซึ่งอยู่ติดกับโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I ที่บริษัทฯ ได้เข้าไปลงทุนเมื่อปี 2564 และผลักดันการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจไฟฟ้าในสหรัฐฯ ที่มีอยู่ครบวงจรทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ไปจนถึงการขายไฟฟ้าในตลาดค้าส่ง (Wholesale) และตลาดค้าปลีก (Retail) รวมถึงร่วมลงทุนในโครงการ Cotton Cove ในแหล่งก๊าซธรรมชาติบาร์เนตต์ (Barnett) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวสู่ธุรกิจดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) ในสหรัฐฯ ซึ่งสามารถนำประสบการณ์ไปพัฒนาต่อยอดกับธุรกิจโรงไฟฟ้าได้ในอนาคต ในขณะที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (CHPs) ในจีนทั้ง 3 แห่ง มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นจากการปรับตัวลดลงของราคาเชื้อเพลิงและรายได้จากการขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Emission Allowances – CEA)

Banpu-NEXT_SVOLT & Banpu-NEXT_Oyika-Battery-Swap

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานผ่านการลงทุนในบ้านปู เน็กซ์ โดยในปีที่ผ่านมา มีการลงทุนในบริษัท เอส โวลต์ เอเนอร์จี้ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (SVOLT Thailand) ธุรกิจกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ครบวงจรเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การลงทุนในโอยิกะ (Oyika) สตาร์ทอัพสิงคโปร์ ผู้ให้บริการโซลูชันสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า (Battery Swap Solutions) รวมถึงเดินหน้าโครงการแบตเตอรี่ฟาร์มขนาดใหญ่ที่เมืองโตโนะ (Tono) จังหวัดอิวาเตะ (Iwate) ในญี่ปุ่น เพื่อการต่อยอดในธุรกิจซื้อขายพลังงาน (Energy Trading) ในอนาคต

นายกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)

นายกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในปีที่ผ่านมา BPP สามารถบริหารจัดการการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าทุกแห่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเดินหน้าขยายพอร์ตธุรกิจผลิตไฟฟ้าได้ตามกลยุทธ์ที่วางไว้ โดยการเข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple II ในสหรัฐอเมริกาถือเป็นผลสำเร็จที่ชัดเจน ทั้งหมดนี้ส่งผลให้บริษัทฯ สร้างกระแสเงินสดได้อย่างแข็งแกร่ง  สำหรับในปี 2567 นี้ BPP ยังคงพัฒนาและขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งมอบพลังงานไฟฟ้าคุณภาพสู่สังคม หรือ Powering Society with Quality Megawatts ผ่าน 3 จุดแข็งในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ 1) ดำเนินงานด้วยคุณภาพระดับสากลจากความเชี่ยวชาญของทีมงานของ BPP เพื่อสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจและปรับตัวกับความท้าทายต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ผสานพลังร่วมในระบบนิเวศทางธุรกิจที่แข็งแกร่งใน 8 ประเทศยุทธศาสตร์ของ BPP และผนึกกำลังร่วมภายในกลุ่มบ้านปูผ่านการแบ่งปันองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพลังงานร่วมกัน เพื่อเพิ่มโอกาสและมูลค่าทางธุรกิจ และ 3) สร้างคุณค่าที่ยั่งยืนแก่สังคมทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่ไปกับการเป็นองค์กรพลเมืองที่ดี ผ่านการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับหลักความยั่งยืน”

ทั้งนี้ BPP ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรภายในผู้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนองค์กร และการดำเนินตามแนวทางการวางแผนและพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งสำคัญ (Succession planning and high potential management) ของกลุ่มบ้านปู โดยคณะกรรมการบริษัทมีมติให้นายอิศรา นิโรภาส ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะมีผลในวันที่ 2 เมษายน 2567 โดยนายกิรณ ลิมปพยอม จะดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operation Officer: COO) ของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญในการบริหารจัดการการดำเนินงาน (Operation) ของธุรกิจแหล่งพลังงานและธุรกิจผลิตพลังงานในทุกประเทศ

นายอิศรา นิโรภาส ผู้อำนวยการสายอาวุโส – สายงานปฏิบัติการธุรกิจไฟฟ้า บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการได้รับแต่งตั้งเป็นผู้นำในการบริหาร BPP ว่า “ผมต้องขอขอบพระคุณคณะกรรมการบริษัทในความไว้วางใจให้ผมรับหน้าที่สำคัญนี้ต่อจากคุณกิรณ จากประสบการณ์การทำงานในสายปฏิบัติการในกลุ่มบ้านปูมาตั้งแต่ปี 2537 และการมีส่วนร่วมในการออกแบบทางวิศวกรรม การพัฒนาธุรกิจ และการจัดการงานด้านปฏิบัติการในโครงการสำคัญต่าง ๆ ผมมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสานต่อภารกิจของ BPP ในการเป็นผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และบริหารธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าใน 8 ประเทศ โดยยึดหลัก ESG ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ”

“ปัจจุบัน BPP มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 3,642 เมกะวัตต์ มุ่งสร้างการเติบโตด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจทั้งจากพลังงานความร้อนและพลังงานหมุนเวียน รวมถึงธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานที่ลงทุนผ่านบ้านปู เน็กซ์ บริษัทฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและทีมงานมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของ BPP โดยมีหลัก ESG เป็นแนวทางในทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอแก่ผู้ถือหุ้น และสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม” นายกิรณกล่าวปิดท้าย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจ BPP ได้ที่ www.banpupower.com

ข้อมูลพอร์ตโฟลิโอและกำลังผลิตของ BPP ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567

เกี่ยวกับ BPP

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพระดับสากล ที่ยึดมั่นในการส่งมอบพลังงานที่ยั่งยืน ด้วยจุดยืนในการส่งมอบพลังงานไฟฟ้าคุณภาพสู่สังคม (Powering Society with Quality Megawatts) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครอบคลุมประเทศไทย ลาว จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา BPP มุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามกลยุทธ์ Greener & Smarter

สำหรับสถานะทางการเงินของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 มีสินทรัพย์รวมจำนวน 98,903 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21,238 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวมปีก่อน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

- Advertisement -