ดัชนีราคาผู้ผลิตสูงกว่าคาดกดดันบาทอ่อน แต่บวกกับส่งออก
Market Update
ตลาดหุ้น Dow Jones เมื่อคืนปิดลบ 0.35% หลังจากสหรัฐฯ รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต สูงกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ ซึ่งกดดันแนวโน้มดอกเบี้ยของ FED ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ปิดบวก 1.9% หลังจาก IEA รายงานว่าอุปทานน้ำมันโลกจะเข้าสู่ภาวะตรึงตัวจากการโจมตีในทะเลแดง
Market Outlook
เมื่อคืนที่ผ่านมาสหรัฐฯ รายงานดัชนีราคาผู้ผลิตขยายตัว 1.6%YoY, 0.6%MoM สูงกว่า Bloomberg Consensus คาดการณ์ไว้ที่ 1.1%YoY, 0.3%MoM ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตที่ไม่รวมราคาพลังงานและอาหาร (Core PPI) ขยายตัว 2%YoY, 0.3%MOM สูงกว่า Bloomberg Consensus คาดไว้เล็กน้อยที่ 1.9%YoY โดยราคา สินค้าที่เร่งตัวขึ้นได้แก่ราคาสินค้าทั่วไป (+1.2%MoM) อาหารของผู้บริโภค (+1.7%MoM) ราคาพลังงาน (+4.4%MoM) ราคาพลังงานฝังรัฐบาล (+7.4%MoM) ซึ่งสอดคล้องกับการขยายตัวของดัชนีราคาผู้ผลิตฝั่งพื้นฐานที่ขยายตัวใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ แต่ดัชนีราคาผู้ผลิตฝั่งทั่วไปขยายตัวมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ขณะเดียวกันได้รายงานผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ 2.09 แสนราย ต่ำกว่า Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 2.18 แสนราย อย่างไรก็ตามรายงานยอดค้าปลีกขยายตัวเพียง 0.6%MOM ต่ำกว่า Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 0.8%MoM ทั้งนี้ภายหลังจากทราบข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจข้างต้นพบว่า US Bond Yield ทั้งรุ่นอายุ 2, 10 ปี ปรับขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญจากระดับ 4.4% มาระดับ 4.7% และ 10 ปี ปรับขึ้นจากระดับ 4% สู่ระดับ 4.3% พร้อมกับการแข็งค่าของ Dollar Index บ่งชี้ว่านักลงทุนกลับมากังวลกับเงินเฟ้ออีกครั้ง โดย CME FED Watch ให้น้ำหนักมากถึง 99% ที่ FED จะคงดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 20 มี.ค.และน้ำหนัก 96% ที่ FED จะคงดอกเบี้ยในการประชุมเดือน พ.ค. แต่ยังประเมินว่าจะลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มิ.ย. 60% ระยะสั้นด้วยการแข็งค่าของ US Dollar อาจกดดันกระแสเงินทุนต่างชาติเพราะช่วงที่ผ่านมาซื้อสุทธิราว 4.7 พันล้านบาทในช่วง 2 วันที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ด้วยเงินบาทที่อ่อนค่าจะเป็นบวกกับหุ้นในกลุ่มส่งออก (TU) โดยคืนนี้รอติดตามดัชนีภาคผลิตของรัฐ New York Bloomberg ประเมินไว้ที่ -7 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน Bloomberg ประเมินไว้ที่ 77.1 หากรายงานแล้วบ่งชีในทางอ่อนแรงของเศรษฐกิจมองเป็นบวก กับตลาดหุ้นจากการคลายกังวลเงินเฟ้อ
วันนี้ประเมิน SET INDEX เคลื่อนไหวในกรอบ 1380-1400 เชิงกุลยุทธ์การลงทุนยังแนะทยอยสะสมได้จากระดับ Valuation ที่น่าสนใจ เน้นที่หุ้นในกลุ่ม Domestic Play อาทิ ค้าปลีก (BJC CRC CPALL CPAXT HMPRO) ท่องเที่ยว (AOT CENTEL MINT) ศูนย์การค้า (CPN) การเงิน (MTC SAWAD TIDLOR) ธนาคารพาณิชย์ (BBL KBANK KTB SCB) พร้อมแนะเก็งกำไรในกลุ่มน้ำมัน (PTTEP) และโรงกลั่น (BCP SPRC TOP)
หุ้นแนะนำซื้อวันนี้
PTTEP (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 191.00 บาท)
ผลประกอบการทั้งปี 2024 คาด 7.05 หมื่นล้านบาท ( -8%YoY) แต่ยังคงมากกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังที่ 5.15 หมื่นล้านบาท โดยเราคาด ASP ที่ 46.5$/BOE (-3%YoY) เนื่องจากปริมาณการขายจาก G1/61 และ G2/61โดยปริมาณการขายรวมทั้งหมดที่ 505 KBOED (+9%YoY) จากแหล่ง G1/61 (เอราวัณ) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 400 MMscd เป็น 800 MMscid (Downside ต่อราคาเป้าหมาย 3.4 บาท) ฝั่งต้นทุนต่อหน่วยที่ 28.5 (+3%YoY) เนื่องจาก ราคาค่าเช่าเครื่องขุดเจาะที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนผลประกอบการ 1Q24 กำไรปกติใกล้เคียง QoQ เนื่องจากทั้ง ASP และ ปริมาณการขายใกล้เคียงกับ 4Q23
TU (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 18.10 บาท)
ปี 2024 จะเป็นปีที่ดีของ TU ด้วยเหตุผลว่าไม่ต้องรับรู้ขาดทุนจาก Red lobster โดยปีนี้บริษัทตั้งเป้ารายได้ขยายตัว 3-4% เป็นผลเพราะว่าราคาปลาทูน่าที่ปรับลงอาจทำให้บริษัทต้องปรับราคาขายลงตาม ทั้งนี้แม้บริษัทจะตั้งเป้ารายได้ขยายตัวเพียง 3-4% แต่เป็นผลเพราะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ระดับ 33.5 บาท/$ อย่างไรก็ตามปัจจุบันเงินบาท/$ อยู่ที่ระดับ 35.8 จึงอาจมี Upside ต่อประมาณการเล็กน้อย