Daily Focus: Earnings and Selective Play

2024 SET Target : 1470

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ฟื้นตัวได้ตามคาดู ปิดบวก 17.44 จุด ที่ระดับ 1,349.52 จุด ใกล้เคียงแนวรับหลัก 1,350+- จุด ส่วนมูลค่าการซื้อขายบางลงเหลือ 4.3 หมื่นลบ. โดยได้แรงหนุนจากความกังวลสงครามอิสราเอล-อิหร่านที่ผ่อนคลายลง หนุนแรงซื้อกลับหุ้นขนาดใหญ่สถาบันในประเทศซื้อสุทธิในตลาดหุ้นเร่งขึ้นเป็น 2.4 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติพลิกมาซื้อบางๆ 372 ลบ. (และกลับมา Long Index Futures 4.2 หมื่นสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่ง Sideways Up ได้ต่อเนื่อง และมีแนวโน้มกลับมายืนเหนือแนวต้านหลัก 1,350 จุดได้อีกครั้ง จากบรรยากาศการลงทุนที่ผ่อนคลายมากขึ้นและเม็ดเงินไหลกลับเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงระยะสั้น โดยได้แรงหนุนจากสถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอล-อิหร่านปัจจุบันยังไม่ได้บานปลายและมีการตอบโต้รอบใหม่ ขณะที่สัปดาห์นี้ตลาดรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ GDP 1Q24 และเงินเฟ้อ PCE เดือน มี.ค. ในช่วงวันพฤหัสฯและศุกร์ ตามลำดับ รวมถึงตลาดคาดว่าจะโฟกัสที่การประกาศผลประกอบการ 1Q24 ของฝั่ง Real Sector ที่จะเริ่มทยอยออกมาในสัปดาห์นี้ หลังจากกลุ่มธนาคารรายงานครบแล้ว ซึ่งโดยรวมออกมาดีกว่าคาด กลยุทธ์เราจึงเน้นเลือกหุ้นเป็นรายตัวที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว มีแนวโน้มกำไรโดดเด่นกว่าตลาดและกระทบจากความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกจำกัด เรายังมองกลุ่ม Domestic Play ยังน่าสนใจ โดยคาดได้อานิสงส์เชิงบวกจาก ทิศทางเศรษฐกิจที่จะทยอยเร่งตัวใน 2Q24-2H24 ตามการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 67 นโยบายดิจิทัลวอลเลตที่จะเริ่มใช้จ่ายใน 4Q24

กลยุทธ์ : เลือกหุ้นที่แนวโน้มกำไร 1024 โดดเด่น // ส่วนที่สะสมไปแล้วบริเวณ 1,350+- ยังถือลงทุน

หุ้นเด่นเดือน เม.ย.: BA, CPALL, CPN, ITC, TIDLOR

FSSIA Portfolio: AOT, BCH, CPALL, CPN, GPSC, NSL, SHR, SJWD, and TIDLOR

หุ้นเด่นวันนี้ : OSP

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 24.50 บาท
  • แนวโน้มกำไร 1Q24 ดูดีกว่าที่เคยคาด โดยประเมินใหม่ที่ 812 ลบ. +88% q-q, +4% y-y จากรายได้ที่คาดทำนิวไฮรอบ 8 ไตรมาส +12% q-q และ Y-Y จากทั้งในประเทศโตในอัตราสองหลัก ฝั่ง Energy drink ที่ได้ Market share ขึ้นมาเป็น 46.4% จาก 45.9% ใน 4Q23 และพม่าโตแรงกว่า 30% y-y จากทั้งฝั่ง Volume และ Price แม้จะมีความไม่สงบในพม่า แต่รายได้ที่ผลิตในประเทศยังทำได้ดีมาก
  • แนวโน้มอัตรากำไรขั้นตันคาดขยับขึ้นต่อเป็น 35.7% จาก 35.5% ใน 4Q23 และ 33.4% ใน 1Q24 ได้อานิสงส์จากการหยุดธุรกิจที่ไม่ทำกำไรออกไป และต้นทุนก๊าซปรับลง เราเริ่มเห็นประมาณการต่อกำไรปี 2024 จากปัจจุบันที่คาดไว้ 2.62 พันลบ. +21% y-y
  • แนวรับ 20//19.60 บาท แนวต้าน 20.80-21 บาท

Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนยังไหลออกจากภูมิภาคแต่ลดลงจากวันก่อนหน้าเหลือสุทธิ US$1,148 ล้าน นำโดยเกาหลีใต้และไต้หวัน US$598 ล้าน และ US$480 ล้าน ตามลำดับ ส่วนอาเซียนเม็ดเงินไหลออกทุกประเทศยกเว้นไทยที่ไหลเข้าบางๆ US$10 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนมีลุ้นพลิกมาไหลเข้าได้ตามเม็ดเงินที่ไหลกลับเข้าสินทรัพย์เสี่ยงระยะสั้น แต่คาดปริมาณยังจำกัดและรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯปลายสัปดาห์

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) กลุ่มธนาคาร กำไรสุทธิรวม 1Q24 ที่ 5.5 หมื่นลบ. +29% q-q, +10% y-y ดีกว่าเราคาด 9% และ Consensus คาด 5% หลักๆ มาจากกำไรจากเงินลงทุน FVTPL ส่วน PPOP อยู่ที่ 1.14 แสนลบ. +9%q-q, +4% y-y จากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงหลัง seasonal effect ใน 4Q23 และการตั้งสำรอง ECL และ credit cost ลดลง อย่างไรก็ตาม non-NII ที่เพิ่มขึ้นจากกำไรจากเงินลงทุน FVTPL มากกว่าคาด แต่ถูกชดเชยจากการปรับลดลงของ NIM และ NII ต่ำกว่าที่คาด ด้านคุณภาพสินทรัพย์แม้จะอ่อนแอลงแต่ยังสามารถบริหารจัดการได้ NPL เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.62% จาก 3.47% ณ สิ้นปี 2023 โดยรวม TTB และ KTB มีผลประกอบการดีใน 1Q24 เรายังคงให้น้ำหนักลงทุน Underweight เลือก Top pick เป็น TTB (ราคาเป้าหมาย 2.19 บาท) รองลงมาคือ KTB (ราคาเป้าหมาย 19.90 บาท) และ SCB (ราคาเป้าหมาย 120 บาท)

(+) GFPT คาดกำไรสุทธิ 1Q24 อยู่ที่ 418 ลบ. +2% q-q, +40% y-y ดูดีกว่าเดิมที่เคยคาดว่าอาจ อ่อนลง q-q หนุนจากการส่งออกไก่ที่ดี, ราคาไก่ฟื้น และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมแข็งแกร่งต่อเนื่อง แนวโน้มกำไร 2Q24 ยังดูดี และคาดทำจุดสูงสุดของปีใน 3Q24 เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มกำไร 2Q-3Q24 น่าจะเติบโตดี y-y เพราะฐานต่ำปีก่อน และคาดยังโตเล็กน้อย q-q ก่อนจะอ่อนตัวลงใน 4Q24 จากปัจจัยฤดูกาล คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 เติบโต 7% y-y และราคาเป้าหมาย 14.20 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ”

(0) BTG คาด 1Q24 ยังเผชิญผลขาดทุนต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกันราว -128 ลบ. ผิดไปจากที่เคยคาดว่าจะพลิกมีกำไรได้เร็วสุดในกลุ่มหมู มาจากราคาหมูไทยที่ฟื้นตัวช้า แต่เริ่มเห็นราคาหมูเดือน เม.ย. ขยับขึ้น และสูงกว่าต้นทุนการเลี้ยงแล้ว ยังลุ้น 2Q24 พลิกมีกำไรได้อีกครั้ง และเรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตใน 2H24 จะสดใสมากกว่า 1H24 เราจึงยังคงประมาณการผลการดำเนินงาน 2Q24 พลิกมีกำไรราว 2.75 พันลบ. จากที่ขาดทุน -1.4 พันลบ.ใน 2Q23 ราคาเป้าหมาย 25 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ”

(0) KTC กำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 1.8 พันลบ. +2% q-q แต่ -4% y-y ตามที่เราและตลาดคาด โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากรายได้หนี้สูญรับคืนที่สูงขึ้น ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิหดตัว 4% q-q แต่เพิ่มขึ้น 4% y-y โดยถูกกดดันจากสินเชื่อที่หดตัวแรง 6.2% q-q, แต่เติบโต 2% y-y และ cost of funds ที่สูงขึ้นกระทบให้ Interest spread หดตัวลง 47bps q-q ขณะที่ NPL ปรับลงสู่ระดับ 1.98% จาก 2.17% ใน 4Q23 เนื่องจากบริษัทมีการปรับนโยบายตัดหนี้สูญ เราปรับประมาณการกำไรสุทธิ 2024-26 +3.5%/-1.2%/-2.0% ตามลำดับ หลักๆ มาจากการปรับประมาณการสินเชื่อลดลง 2.4-2.5% จากเดิม และ Credit cost ลดลง เพื่อสะท้อนการตัดหนี้สูญที่มากกว่าคาดใน 1Q24 ได้ราคาเป้าหมายใหม่ 46 บาท ยังแนะนำ “ถือ”

(-) SPALI คาดกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 728 ลบ. -64% q-q, -33% y-y ต่ำกว่าที่เราคาดไว้ก่อนหน้านี้และน่าจะเป็นไตรมาสที่ต่ำสุดของปีนี้ ทั้งนี้เป็นผลมาจากยอดโอนและ margin ที่ปรับลง ส่วนยอด Presales 1Q24 อยู่ที่ 6.9 พันลบ. +29% q-q, -23% y-y อย่างไรก็ตามภาพตลาดอสังหาฯ โดยรวมยังไม่สดใส เราปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 ลง 6% เป็น 6.2 พันลบ.+3% y-y ได้ราคาเป้าหมายใหม่ 22.20 บาท และปรับลดคำแนะนำเป็น “ถือ” จาก upside ที่จำกัด

(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 253.58 จุด หรือ +0.67% ปิดที่ 38,239.98 จุด โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนช้อนซื้อหุ้นหลังจากตลาดดิ่งลงอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตารายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่เพื่อประเมินความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ รวมทั้งจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เช่น GDP และดัชนี PCE ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ

(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวก โดยได้แรงหนุนจากสถานการณ์ดึงเครียดที่ผ่อนคลายลงในตะวันออกกลาง และนักลงทุนจับตาการเปิดเผยผลประกอบการจากบรรดาธนาคารในยุโรปและจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของสหรัฐในสัปดาห์นี้

(+) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดบวก ต่อเนื่องจากในวันจันทร์ สอดคล้องกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีโดยนักลงทุนรอประเมินรายงานดัชยีภาคธุรกิจของ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และ อินเดีย

(-) ค่าเงินบาทอ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 37.10 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ +0.64%

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 29 เซนต์ หรือ 0.35% ปิดที่ 81.90 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากนักลงทุนประเมินว่าความเสี่ยงที่สถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางจะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันนั้น มีไม่มากนักในระยะเวลาอันใกล้นี้ ในขณะที่เช้านี้บวกอยู่ที่ระดับ 82.34 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ +0.54%

(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 67.40 ดอลลาร์ หรือ 2.79% ปิดที่ 2,346.40 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางลดน้อยลง ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในขณะที่เช้านี้ทรงอยู่ที่ระดับ 2,346.40 ดอลลาร์/บาร์เรล

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 831.91/ -0.08%

- Advertisement -