KS Daily View 13.05.2024 >>> ตลาดรอดูเงินเฟ้อสหรัฐฯ มอง SET แกว่งตัวในกรอบแคบ คาด SET ซื้อขายในกรอบ 1,365-1,380 จุด แนะนำ CPALL, THANI

Theme การลงทุนในสัปดาห์นี้:

ประเมินสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนในกรอบ 1,360–1,390 จุด หลังดัชนีฟื้นตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายเดือนก่อนตามสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่ไม่ได้เร่งระดับ อีกทั้งปัจจุบันมองตลาดยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ชัดที่จะช่วยหนุนให้ดัชนีตลาดไทยจะปรับตัวทะลุแนวต้านเดิมที่บริเวณ 1,390-1,400 จุดได้ ขณะที่ในสัปดาห์นี้นักลงทุนอาจต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนเรื่องทิศทางเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่มีกำหนดจะประกาศในวันพุธนี้ โดยตลาดคาดว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯจะชะลอตัวลงจาก 3.5% เป็น 3.4% ซึ่งจะเป็นการชะลอตัวครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ทั้งนี้หากเงินเฟ้อสหรัฐฯ ปรับชะลอตัวตามตลาดคาดเชื่อว่าจะเป็นบวกต่อ sentiment ตลาดและช่วยหนุนให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้นต่อได้ แต่อย่างไรก็ดี หากเงินเฟ้อรายงานออกมายังทรงตัวในระดับสูงอาจทำให้มีแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมา ด้วยเทรนด์ภาพแนวโน้มเงินเฟ้อที่ยังไม่ชัด เราแนะนำพอร์ตการลงทุนแบบผสมเพื่อรับกับความไม่แน่นอนเช่นในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (SAPPE, OSP), กลุ่มโรงพยาบาล (BCH), และกลุ่มการเงิน (THANI, AEONTS)

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศวันนี้:

ประเมินดัชนีวันนี้แกว่งตัวในกรอบแคบ โดยเชื่อภาพใหญ่ตลอดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่มีกำหนดจะประกาศในช่วงกลางสัปดาห์นี้ อีกทั้งระยะสั้นราคาน้ำมันปรับตัวลง หุ้นพลังงานอาจยังกดดัชนีตลาด ดังนั้นมองหุ้นในกลุ่มที่รายงานผลประกอบการเติบโตแรง QoQ / YoY หรือดีกว่าคาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ดีเช่น THANI, WHA, CPALL, BTG, VRANDA

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

  1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของอิรักเปิดเผยว่า อิรักประสงค์ที่จะไม่ร่วมขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันในการประชุมกลุ่มโอเปกพลัส (OPEC+) ในเดือนหน้า เนื่องจากได้ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจมามากแล้ว มองว่าข่าวมีแนวโน้มที่จะกระทบราคาน้ำมันให้ปรับตัวลดลงที่กระทบเชิงลบโดยตรงกับ PTTEP แต่เป็นบวกกับกลุ่ม transportation
  1. สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้เปิดเผยว่า ยอดขายอสังหายังคงขึ้นอยู่กับการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินขึ้นที่เป็นปัจจัยสำคัญโดยที่ยอดการปฏิเสธการขอสินเชื่อ (Rejection Rate) สูงกว่าระดับ 50% ขณะที่ special mention loan มีโอกาสไหลเป็นหนี้เอ็นพีแอลมากขึ้น ในส่วนของกลุ่มบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทมี rejection rate เพิ่มจาก 50% เป็น 70%, ส่วนกลุ่มราคาบ้าน 3-5 ล้านบาทเร่งตัวขึ้นเป็น 50% จาก 40% และ กลุ่มราคามากกว่า 5 ล้านบาทเร่งตัวขึ้นเป็น 40% จาก 30% มองเป็นลบกับกลุ่มอสังหา
  1. เครดิตบูโรเผยสถานการณ์หนี้ไตรมาส 1/67 ข้อมูลรายงานหนี้ครัวเรือนของไทยปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 91.3% ของ GDP โดยหนี้เสียมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.09 ล้านล้านบาทหรือ 15% โดยมาจากหนี้รถและบ้านเป็นหลัก ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 32% และ 18% ตามลำดับ
  1. ภาคเอกชนกังวลนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกระทบธุรกิจหลังยอดปิดกิจการเดือน มี.ค. 2567 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าของช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยภาคเอกชนยื่นข้อเรียกร้องไม่เห็นด้วยกับนโยบายการปรับค่าแรงขึ้นเป็น 400 บาทเท่ากันทั้งประเทศ
  1. กลุ่มหุ้นที่รายงานผลประกอบการออกมาแข็งแกร่งเติบโตได้ดีกว่าที่ตลาดคาดในช่วงหลังปิดตลาดวันศุกร์ที่ผ่านมาเช่น WHA, THANI, CPALL, VRANDA, EKH, BTG, PRM ขณะที่กลุ่มหุ้นที่รายงานผลประกอบการออกมาต่ำคาดเช่น ALLY, RBF, BE8

Daily pick

CPALL: ราคาพื้นฐานที่ 78.0 บาท 

บริษัทรายงานกำไรสำหรับไตรมาส 1/67 ที่ 6.3 พันลบ. ปรับตัวเพิ่มขึ้น แรงทั้ง 15% QoQ และ 53% YoY โดยผลประกอบการที่ออกมาดีกว่าที่เราคาด 24% และสูงกว่าที่ตลาดมอง 28% จาก same store sales growth (SSSG) และ gross profit margin (GPM) ที่ดีกว่าคาด มองไปข้างหน้าแนวโน้ม outlook ของ CPALL ดูดีทั้งจากผลประกอบการสำหรับไตรมาส 2/67 น่าจะเติบโตดีต่อเนื่องจาก SSSG ที่ยังขยายตัวได้ดีและฐานต่ำในปีที่แล้ว อีกทั้งหากมองไปครึ่งปีหลังยิ่งน่าสนใจเนื่องจากบริษัทคาดว่าจะได้อานิสงค์บวกจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐ

THANI: ราคาพื้นฐาน 2.50 บาท 

บริษัทรายงานกำไรสำหรับไตรมาส 1/67 ที่ 343 ลบ. ลดลง 24% YoY แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง 113% QoQ โดยผลประกอบการที่ออกมาดีกว่าที่เราคาดและที่ตลาดประเมินถึง 46% จากการตั้งสำรองหนี้เสียที่ลดลง โดยกำไรสำหรับไตรมาส 1/67 คิดเป็นแล้วกว่า 30% ของประมานการทั้งปีของเราทำให้เราเห็นโอกาสด้านบวกที่อาจต้องปรับตัวเลขคาดการณ์เพิ่มขึ้น นอกจากแนวโน้มผลประกอบการที่เร่งตัวดี เรามอง THANI เป็นหุ้นที่อยู่ในกลุ่มการเงิน Finance ที่จะได้อานิสงค์บวกจากภาพ Bond yield โลกที่มีการปรับตัวลดลง

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์: ติดตามการประชุม Eurogroup meeting ซึ่งเป็นการประชุมของผู้นำทางเศรษฐกิจและการเงินของยุโรป ทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางต่างๆจะมาประชุมหารือกัน
  • วันอังคาร: ติดตาม ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน (Core PPI) ของสหรัฐฯ สำหรับเดือน เม.ย. โดยตลาดคาดปรับตัวขึ้น +2.30% YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +2.40% YoY ต่อด้วยติดตามการให้สัมภาษณ์ของทางประธาน Fed Jerome Powell ซึ่งมีกำหนดการพูดที่กรุง Amsterdam ประเทศ Netherlands ในงาน Foreign Bankers Association (FBA) และในส่วนของไทยติดตามทางคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เตรียมเข้ายืนหนังสือต่อกระทรวงแรงงานหารือถึงประเด็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
  • วันพุธ: ติดตาม รายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ของสหรัฐ สำหรับเดือน เม.ย. ตลาดคาดปรับตัวขึ้น +3.40% YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +3.50% YoY และ Core CPI หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เดือน เม.ย. โดยตลาดคาดปรับตัวขึ้น +3.60% YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +3.80% YoY ปิดท้ายด้วยตัวเลขยอดค้าปลีก (Retail sales) ของสหรัฐ สำหรับเดือน เม.ย. โดยตลาดคาดปรับตัวขึ้น +0.40% MoM ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ +0.70% MoM
  • วันพฤหัสฯ: ติดตาม รายงานตัวเลข GDP (Prelim) สำหรับ 1Q24 ของญี่ปุ่น โดยตลาดคาดชะลอตัวลงมาอยู่ที่ -1.4% QoQ annualized เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว +0.4% QoQ annualized ขณะที่ในส่วนของสหรัฐมีกำหนดรายงานตัวเลข building permits เดือน เม.ย. โดยตลาดคาดที่ 1.488 ล้านยูนิต ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.467 ล้านยูนิต ตามด้วย Initial Jobless Claims ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยคาดการณ์ที่ 2.25 แสนตำแหน่งปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่  2.31 แสนตำแหน่ง
  • วันศุกร์: ติดตาม ตัวเลขเศรษฐกิจของจีนอย่าง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม หรือ Industrial Production เดือน เม.ย. โดยตลาดคาดปรับตัวขึ้น +5.40% YoY เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ +4.50% YoY และยอดค้าปลีก (Retail sales) ของจีน ในเดือน เม.ย. โดยตลาดคาดปรับตัวขึ้น +3.80% YoY เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ +3.10% YoY
- Advertisement -